21_1

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเริ่มต้นเลี้ยงปลาคาร์พ

การเริ่มต้นเลี้ยงปลาคาร์พ



       ปลาคาร์พ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าคนที่มีฐานะถึงจะสามารถเลี้ยงปลาคาร์พได้ เพราะการเลี้ยงปลาคาร์พจะให้ดีและประสบความสำเร็จนั้นต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างที่สำคัญทั้งในเรื่องของเงินทุน ความรู้ในการสร้างบ่อที่ถูกต้องและการเลี้ยงปลาให้โตมีขนาดและสัสันที่ผู้เลี้ยงต้องการประเภทของปลาคาร์พออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ

          1. ปลานำเข้า  ได้แก่ปลาที่มีการนำเข้าจากฟาร์มหรือบริษัทต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95 จะนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นทางตอนเหนือ และตอนใต้ ปลาคาร์พที่นำเข้ามีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของผู้เลี้ยงทั้งคนญี่ปุ่นและต่างชาติ สายพันธุ์ที่นิยมนำเข้ามานั้นหลากหลายมากมาย จะแบ่งเป็นปลาหลัก คือ Kohaku Sanke Showa และปลาในกลุ่ม Utsurimono Kawarimono Doitsu ฯลฯ 

           2. ปลาลูกใน หรือ ปลาไทย ได้แก่ปลาที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงโดยใช้พ่อแม่พันธุ์เป็นปลานอกซึ่งคุณภาพของปลาประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับตัวปลาเป็นหลักพ่อแม่พันธุ์มีความสำคัญเพราะถ้าเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีจะทำให้ได้ลูกปลาคาร์พลูกในนั้นแบ่งออกเป็นหลายประเภท ลูกปลาที่ได้ใน 1 ครอกแบ่งแยกเกรดได้เป็นปลาเกรด A เกรด B ความแตกต่างในด้านคุณภาพเมื่อเทียบกับปลานอก หรือ ปลานำเข้านั้นแทบจะมองไม่ออก คุณภาพผิว สีสัน ลวดลาย(pattern) สามารถสู้ปลานอกได้สบายๆ

การเตรียมความพร้อมในการเลี้ยงปลาคาร์พ

           ปัจจัยในการสร้างบ่อเลี้ยง มีการออกแบบ หรือสร้างแบบต่างๆเอาไว้มากมายแต่ในเรื่องของการกรองหรือการบำบัดน้ำในบ่อเลี้ยงนั้นโดยส่วนใหญ่จะใช้การกรองแบบชีวภาพ (Bio Filter) การกรองแบบชีวภาพจะมีเรื่องของจุลินทรีย์เข้าเกี่ยวข้องซึ่งจุลินทรีย์จะทำหน้าที่ในการบำบัดและขจัดของเสียในระบบของบ่อเลี้ยง

           ปัจจัยเรื่องอาหาร อาหารปลาถือเป็นปัจจัยที่สำคัญรองจากเรื่องของ น้ำ อาหารปลาคาร์พในปัจจุบันมีการพัฒนาด้วยเทคโนโลยี่ต่างๆ เพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณภาพสูงเหมาะกับการเลี้ยง ในประเทศไทยอาหารที่ผู้เลี้ยงนิยมใช้กันนั้นก็จะมีทั้งอาหารที่นำเข้าและอาหารที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ อาหารที่มีคุณภาพสูงทั้งในเรื่องโปรตีน ไขมัน สาหร่ายสไปรูริน่า หรือสารที่เร่งสีต่างๆ ที่อยู่ในส่วนผสมของการผลิตอาหารปลา

           การหมั่นดูแลและตรวจเช็คปลา ปลาคาร์พเป็นสัตว์เลี้ยงที่จะต้องอยู่ในผู้เลี้ยงไม่ได้มีโอกาสสัมผัสหรือติดตามดูโดยตรงด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ต้องหมั่นสังเกตและดูแลปลาเป็นพิเศษเพราะถ้าปลาเกิดมีความผิดปกติขึ้นมาจะได้แก้ปัญหาหรือป้องกันได้

           การเลี้ยงปลาคาร์พให้ได้ดีต้องศึกษาและทำความเข้าใจ กำหนดแนวทางความต้องการ เช่น การสร้างบ่อ ถ้าสร้างผิดแบบหรือระบบการบำบัดน้ำไม่มีประสิทธิภาพในการกรองหรือบำบัด อาจมีการแก้ไข ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้เลี้ยงปลาคาร์พ
         ใครที่ตัดสินใจจะเลี้ยงปลาคารพ์ ควรเริ่มต้นด้วยการขุดบ่อขนาด 80 x 120 ลึก 50 เซนติเมตร มีสะดือที่ก้นบ่อขนาด 1 x 2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6 นิ้ว เพื่อไว้เป็นที่เก็บขี้ปลาและสิ่งสกปรก และติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำเสียเพื่อช่วยให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ตลอดเวลาด้วย สำหรับบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ ควรเป็นบ่อซีเมนต์เพราะสามารถดัดแปลงเป็นบ่อธรรมชาติได้ง่าย มีตะใคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว ซึ่งตะใคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลาและสามารถดูดสิ่งสกปรหและแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำได้อีกด้วย 

           และบ่อนี้ควรจะตั้งอยู่ในที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ได้ร่มรื่นพอควร อย่าให้อยู่กลางแจ้งเพราะจะทำให้ปลามีสัสันที่จืดจางลง และยังโตช้าลงไปอีกด้วย

           ส่วนน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์พ เป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปา ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้    ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วย

           เมื่อเตรียมบ่อและน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจะหาปลาคาร์ฟมาเลี้ยง ควรหาลูกปลาที่มีอายุ 1-2 ปี มาเลี้ยง ไม่ควรจะนำปลาขนาดใหญ่มาเลี้ยง และปลาชนิดอื่นหากไม่จำเป็นไม่ควรนำมาเลี้ยงรวมกับปลาคาร์ฟ เพราะอาจนำเชื้อโรคมาให้ปลาคาร์ฟได้

อาหารและการเลี้ยงดู 

           ผู้เลี้ยงควรให้อาหารไม่เกินวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น ข้อควรจำในการให้อาหารคือ ต้องให้ตามเวลา เพื่อปลาจะเกิดความเคยชินและเชื่องกับผู้ที่เลี้ยง และอาหารที่ให้ต้องกะให้พอกับจำนวนปลา อย่าให้น้อยหรือมากเกินไป ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตว่า ปลากินอาหารอย่างไร? ถ้าอาหารหมดเร็ว แสดงว่าปลายังต้องการอาหารเพิ่ม ก็เพิ่มลงไปอีเล็กน้อย แต่ถ้าอาหารยังลอบน้ำอยู่ ก็รีบตักออกเพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้น้ำเสียเร็ว

           สำหรับอาหารที่ให้ แนะนำเป็นเนื้อปลาป่น กุ้งสดบด เนื้อหอย เนื้อปู ปลาหมึก ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด แมลง สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ลูกน้ำ หนอนแดง ถั่วเหลือง ขนมปัง และอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด

           ทั้งนี้ เมื่อสังเกตเห็นน้ำในบ่อเริ่มขุ่นและมีสิ่งสกปรกมาก ต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที และขณะที่ถ่ายน้ำ ออก 1 ใน 3 ส่วนของบ่อจะต้องเพิ่มน้ำใหม่แทนในปริมาณเท่าเดิมโดยใช้น้ำประปาที่เก็บไว้ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่คอรีนระเหยแล้ว อย่าใช้น้ำประปาที่รองจากก๊อกใหม่ๆ หรือน้ำประปาที่เก็บไว้นานเพราะจะเกิดอันตรายต่อปลาได้

 โรคและการรักษา

           1.โรคโซโคลกิต้า เกิดจากการถ่ายน้ำในบ่อบ่อยครั้งเกินไป การย้ายปลาบ่อยครั้งเกินไป เชื้อโคลกิต้าที่อยู่ในน้ำจะทำลายปลา ทำให้เกิดเป็นแผลขุ่นที่ผิวหนังและตายไปในที่สุด

           วิธีรักษา : ควรใช้เกลือป่นและด่างทัทิมละลายละลายให้เจือจางลงในน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อโซโคลกิต้า ก่อนจะนำไปใช้เลี้ยงปลา สำหรับในรายที่ปลาเป็นโรคนี้ ให้แช่ปลาในน้ำยานี้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

           2.เหงือกเน่า เกิดจากเชื้อราคอลัม พาริส ทำให้ปลามีอาการซึม และกินอาหารได้น้อยลง ไม่มีแรงว่าย

           วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะ ออริโอมัยซินผสมกับอาหาร ในอัตราส่วน 1 ช้อนต่ออาหารปลา 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกัน 3-4 วัน และจับปลาที่มีอาการมากในน้ำที่ผสมกับฟูราเนสเป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน จนปลามีอาการดีขึ้น

           3.หางและครีบเน่า  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในน้ำซึ่งเนื่องมาจากปลาขี้และเศษอาหาร ที่ตกค้างอยู่ในบ่อทำให้ครีบและปลายหางหลุดหายไป และจะลามไปทั่วตัว

           วิธีรักษา : ต้องรีบถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อโดยเร็วพร้อมกันนั้น ใช้มาลาไคท์กรีนผสมกับน้ำในอัตรา 1 ขีด ต่อน้ำ 1 ลิตร จับปลาแช่ในน้ำดังกล่าวติดต่อกัน 3-4 วัน จนดีขึ้น

           4.เนื้อแหว่ง  เกิดจากปลาได้รับบาดเจ็บเพราะถูกหินหรือต้นไม้ในบ่อ จนเป็นแผลแล้วเชื้อโรคจากน้ำที่สกปรกเกาะตามผิวหนัง ทำให้เกล็ดหลุดแล้วมีจุดขาวๆ ตามลำตัวเกาะติดตามผิวหนัง ทำให้เกิดอาการอักเสบบวมเป็นรอยช้ำเลือด จนตายไปในที่สุด

           วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน ผสมกับอาหารในอัตรา 1 ช้อนชา ต่ออาการ 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกันจนหายขาด

           5.เชื้อราบนผิวหนัง  เกิดจากเชื้อราแพร่กระจายบนผิวหนังปลา ทำให้เนื้อปลาเน่าเปื่อย ถ้าไม่รีบเร่งรักษาปลาจะตายเร็ววัน

           วิธีรักษา : นำปลามาแช่ในน้ำที่เจือด้วยเกลือป่นจางเอาสำลีชุบน้ำยาฟูราเนสทำความสะอาด ที่บาดแผลแล้วจับปลาแช่ในน้ำผสมยา ฟูราเนสติดต่อกัน 5-7 วัน จนกว่าปลาจะหายขาด

           6.ผิวหนังขุ่น เกล็ดพอง เกิดจากการที่ให้อาหารที่มีโปรตีนและไขมันมากเกินไป ปลาปรับตัวไม่ทัน จะทำให้ระบบย่อยอาหารของปลาไม่ทำงาน ตามผิวหนังจะเห็นรอยเส้นเลือดขอดขึ้น ผิวหนังเริ่มบวมและอักเสบ

           วิธีรักษา : ต้องแช่ปลาในน้ำเกลือจางๆ และให้กินอาหารผสมด้วยยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน และให้กินอาหารประเภทผักเสริมมากกว่าเดิม

           7.ลำใส้อักเสบ  เกิดจากการที่ปลากินอาหารหมดอายุ มีเชื้อราปนอยู่ในอาหาร อาการเช่นนี้จทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร มีมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งจะถ่ายออกมาเป็นน้ำขุ่นๆ

           วิธีรักษา :  ต้องรีบทิ้งอาหารเก่าทั้งหมด เอาปาขึ้นมาแช่น้ำเกลือที่เจือจาง แล้วให้อาหารอ่อนๆ เช่น ลูกไรแดงหรือเนื้อปลาบดอ่อน แล้วค่อยให้อาหารสำเร็จรูปตามปกติ

           8.เห็บ  เกิดจากตัวที่ติดมากับอาหารประเภทผัก ซึ่งขาดการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง และติดตัวมากับปลาตัวใหม่ ตัวเห็บนี้มักจะเกาะอยู่ใต้เกล็ดปลา ดูดเลือดปลาเป็นอาหาร ทำให้ปลาว่ายน้ำติดขัดไม่สะดวก ปลาจะเอาตัวถูตามผนังบ่อหรือเศษหินภายในบ่อ จนเกิดบาดแผลในเวลาต่อมา

           วิธีรักษา : ใช้น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อเพื่อป้องกัน ทำลายตัวเห็บติดต่อกันราว 2-3 อาทิตย์ แล้วค่อยหยุดใช้ยา

           9.หนอนสมอ ศัตรูร้ายอีกชนิดหนึ่งของปลาคือ หนอนรูปร่างคล้ายสมอ ยาวเหมือนเส้นด้าย มันจะเจาะผนังตัวปลาทำให้ติดเชื้อได้ และตามผิวหนังปลาจะมีรอยสีแดงเป็นจ้ำๆ ครีบและเหงือกจะอักเสบ ปลามีอาการซึมเบื่ออาหาร

           วิธีรักษา : เช่นเดียวกับการรักษาเห็บ กล่าวคือ นำน้ำยามาโซเต็นผสมกับน้ำ จับปลาแช่น้ำยาทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น และในบ่อเลี้ยงก็ควรหยดน้ำยานี้ลงฆ่าทำลายไข่ตัวหนอนสมอด้วย

           10.พยาธิเส้นด้าย  ติดมาจากอาหาร ลูกน้ำหนอนแดง ที่ปลากินเข้าไป จะเจาะเข้าไปเจริญเติบโตในตัวปลา และออกมาสร้างรังตามผิวหนังใต้เกล็ดปลา ทำให้ผิวหนังปลาแดงช้ำๆ

           วิธีรักษา : ให้นำปลาไปแช่ในน้ำเกลือที่เจือจางประมาณ 1-2 วัน พยาธิก็จะตายและปลามีอาการดีขึ้นและควรใส่น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อ เพื่อฆ่าใข่ของมันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น