21_1

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาหมอสี

การเลี้ยงปลาหมอสี

ปลาหมอสี เป็น ปลาที่เลี้ยงง่าย มีความอดทนและกินอาหารง่าย ซึ่งเป็นอาหารจำพวก ไรทะเล ไรน้ำนางฟ้า หนอนแดง กุ้งฝอย ปลาขนาดเล็ก ไส้เดือน หรือ อาหารสำเร็จรูป หากต้องให้ปลามีสีสันเด่นชัดก็อาจให้ อาหารประเภทเร่งสี โดยแนะนำว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ที่มีสารเบต้าแคโรทีน สามารถ เร่งสีปลาหมอสี ได้ดีที่สุดในจำนวน อาหารปลาหมอสี ทั้งหมด 
ปลาหมอสีที่เลี้ยงด้วยไรน้ำนางฟ้า การเลี้ยงปลาหมอสี เป็น ปลาที่นิสัยรักหวงถิ่นที่อยู่ และก้าวร้าวจะไล่กัดปลาตัวอื่นๆทันทีที่เข้ามาใกล้ในบริเวณอาณาจักรของตัวเองที่ทำไว้ ดังนั้น การเลี้ยงปลาหมอสี หลายพันธุ์รวมกันในตู้ต้องคำนึงถึงขนาดของปลาด้วย ควรจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ตู้ควรมีขนาดใหญ่ และมีก้อนหินจัดวางไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาตระกูลอื่น เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา(ปลาในตระกูลปอมปาดัวร์) ฯลฯ การย้อมสี หมายถึง การใช้ฮอร์โมนเพศไปเร่งสีปลานั่นเอง โดยส่วนใหญ่ที่ใช้คือฮาโลคริสติก ซึ่งก็คือยาฮอร์โมนเพศชายนั่นเอง โดยมีขายตามร้านขายยาทั่วไป การใช้ก็นำมาคลุกกับอาหารปลาให้ปลา่กินและนี่ก็เป็นวิธี การเร่งสีปลาให้มันเกิดขึ้นเร็วเกินกว่าวัยสมควรจะเป็น ซึ่งการย้อมสีนี้แบ่งได้อีกหลายแบบ ถ้าจะย้อมสีแดงก็ใช้โปรตีนเรด โปรตีนพิ้งค์ นำมาคลุกกับอาหารในอัตราส่วนที่พอเหมาะให้ปลากินและปลาก็จะเปล่งสีสันออกมาพอสมควรเพราะสารโปรตีนพวกนี้จะไม่มีอันตรายและพิษภัยใดๆ แต่ถ้าเป็นพวกฮอร์โมนเพศ ถ้าให้ปลากินตั้งแต่ยังเล็กและเป็นเวลานานๆ จะทำให้ปลาเหล่านี้เปลี่ยนเป็นเพศผู้เพราะฮอร์โมนตัวนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนรังไข่ ทำให้รังไข่ฝ่อและจะทำให้ครีปของปลาตัวเมียยาวเหมือนตัวผู้ ดังนั้นการเร่งสีปลาที่ปลอดภัยที่สุดควรเลี้ยงด้วย ไรน้ำนางฟ้า ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติจึงจะดีที่สุดครับ
การเลี้ยงปลาหมอสี ( ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับ นักเลี้ยงปลา หมอสี มือใหม่ )1.นิสัยของ ปลาหมอสี เมื่อเรารู้นิสัยของ ปลาหมอสี แล้วเราต้องรูด้วยว่า ปลาหมอสี กินอะไรปลาหมอสที่โตแล้วจะ กินหนอนนก หรืออาหาร ปลาหมอสีโ ดยเฉพาะเม็ดใหญ่ ปลาหมอสี ตัวเล็กก็เริ่มจากการ กินหนอนแดง ก่อนแล้วถ้าโตจนสามารถ กินหนอนนก ได้ก็เอาหนอนนกให้มันกินจะเสริมด้วยกุ้งก็ได้ เพราะโปรตีนจากกุ้งแล้วหนอนนก หนอนแดงนั้นจะทำให้ปลาหมอสีโตเร็วและยังเป็นการทำให้ปลาหมอสี มี โหนกใหญ่ 
2.ตู้ปลา สำหรับ เลี้ยงปลา ตู้ที่จะเลี้ยงปลา ที่ไม่ใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป ติดเครื่องอุณหภูมิ ให้ปลาเพื่อปรับอุณหภูมิให้ปลา ติดเครื่องกรองน้ำให้ปลามีให้น้ำขุ่นจนเกินไป ใส่หินให้ปลาเพราะปลาหมอสีจะชอบเล่นออมหิน แล้วการติดไฟให้ปลา การติดไฟให้ปลานั้นจะต้องเป็นไฟสีชมพู เป็นไฟสำหรับ ปลาหมอสี โดยเฉพาะ เพราะถ้าเรานำ ไฟที่ไม่ใช่ไฟใส่ปลามาใส่จะทำให้ ปลาหมอสี ตาบอด ได้ จึงแนะนำ ไฟจัดตู้ปลา ที่ เป็น ไฟเฉพาะ สำหรับ เลี้ยงปลาหมอสี เท่านั้น
การดูแล และ ควรพึงปฏิบัติ กับภาระกิจ เลี้ยงปลาหมอสี อ่านสักนิด ก่อนคิด จะเลี้ยง เจ้าหมอสี (รัก และ เอาใจใส่ หนึ่งชีวิต ใน กำมือ ของคุณ )หลักทั่วไปในการเลี้ยงหมอสีก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ 1. น้ำสำหรับ เลี้ยงปลาหมอสี นั้น น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้2. ใช้ เครื่องกรองน้ำ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้3. ขนาดของ ตู้เลี้ยงปลาหมอสี ควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวก หมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้4. อาหารปลาหมอสี กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มี ลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี5. ก้อนหิน ก้อนกรวด ที่จัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลง ก่อน จัดลงตู้6. ตู้ปลาหมอสี ควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำใน ตู้ปลา ได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะ เปลี่ยนน้ำตู้ปลา บริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ



การเลี้ยงปลาฟอร์มให้หัวโหนกไว
สายพันธุ์ปลาจะต้องดี คือว่าปลาหมอสีเพศผู้จะต้องมีเชื้อที่สมบูรณ์ และปลาหมอสีเพศเมียจะต้องให้ไข่เยอะ อย่างเช่นสายพันธุ์ bighead เป็นต้น
ถ้าอยากให้ปลาหมอสีหัวโหนกไวจะต้องฟอร์มในตู้ฟอร์มที่น้ำใสสะอาด คือว่าจะต้องเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบ่อยๆ เพื่อให้ปลานั้นโตไวและตู้ฟอร์มก็จะต้องมีขนาดกำลังดี คือว่าไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาอึดอัด และโตช้า
อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญการให้อาหารปลาหมอสีนั้นก็จะต้องให้พอเหมาะสมเพราะว่า ถ้าให้อาหาร มากจนเกินไป อาจจะทำให้น้ำในตู้ฟอร์มนั้น เหม็นเร็วซึ่งถ้าให้น้อยจนเกินไป ก็จะทำให้ปลานั้นไม่ค่อยโต เพราะว่าอาหารไม่ถึงซึ่งวิธีที่ดีที่สุด ก็คือการให้อาหารปลาหมอสี ประมาณขนาดของปลา คือว่าให้ พอปลากินแล้วท้องป่องก็พอ และจะให้วันละ 2 หรือ 3 ครั้งก็ได้แล้วแต่ อาหารนั้นก็ คือไรทะเล เราควรจะใส่เกลือลงไป ในไรทะเลด้วย เพื่อให้ไรทะเลนั้นอยู่ได้ตลอดทั้งวัน เพราะถ้าไม่ใส่เกลือ ไรทะเลก็จะตายเร็ว
อากาศก็เป็นสิ่งสำคัญอีกเช่นกันเพราะว่าถ้าเราให้อ็อกซิเจนน้อยไปก็จะทำให้ปลาหัวโหนกช้า ควรจะเปิดอ็อกซิเจนให้แรงพอสมควร

การเพาะกัมฟาหน้าลาย
จะต้องปลาเท็กซัสแดงเพศผู้และฟาวเวอฮอนล์ลอกเพศเมียเป็นองค์ประกอบหลักในการเพาะ (การเพาะ และการเลี้ยงนั้นค่อนข้างยากพอสมควร)
เมื่อเห็นฟาวเวอฮอนล์ลอกเพศเมียมีลักษณะคือท้องป่อง ลำตัวมีสีดำลาย และท่อของปลา ฟาวเวอฮอนล์ลอกแดง เพศเมียยื่นออกมาซึ่งจะสังเกตได้ง่าย เพราะ ท่ออวัยวะเพศเมียจะใหญ่ และเราก็นำปลาเท็กซัสแดงเพศผู้ มาเทียบเพื่อให้ปลาทั้งสองตัวนั้น ได้คุ้นเคยกันก่อน เพื่อที่จะได้ทำการ ผสมพันธุ์กันในลำดับต่อไปซึ่งช่วงนี้ก็จะต้องคอยสังเกตอยู่ตลอด เพราะว่าถ้าเห็นตัวเมียเริ่มไข่ออกมา ก็ดึงกระจกที่กั้นปลาออก เพื่อให้ปลาเพศผู้นั้นได้เข้าไปฉีดน้ำเชื้อในไข่
จากนั้นอีกประมาณ 3 วันไข่ที่ได้ก็จะกลายเป็นลูกปลาแล้วเราก็ต้องรอจนกว่าลูกปลานั้นจะลอยขึ้นมาเหนือน้ำถึงจะ ทำการให้อาหารลูกปลานั้น ได้ซึ่งอาหารของลูกปลานั้นก็คือ ไรฝุ่น หรือที่เรียนกันว่าไรแดงนั่นเอง ซึ่งการให้นั้นก็ควรจะให้ไรแดงประมาณที่พอเหมาะ ถ้าให้ไรแดง กับลูกปลามากเกินไป ก็จะทำให้น้ำ ปลานั้นขุ่นเร็ว ซึ่งก็จะต้องทำการเปลี่ยนน้ำปลาบ่อยซึ่งการเปลี่ยนน้ำลูกปลานั้น จะต้องทำด้วย ความระมัดระวัง เพราะลูกปลานั้นยังบอบบางอยู่ ซึ่งถ้าเปลี่ยนไม่ดีลูกปลาก็อาจจะตายได้ แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าเมื่อเปลี่ยนน้ำลูกปลาแต่ละครั้งยังไง ลูกปลาก็ตายอยู่ดี แล้วแต่ว่าจะเยอะหรือน้อย
เมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 3-4 เดือนเราก็จะสามารถแยกประเภท ของลูกปลาได้ซึ่งลูกปลานั้นจะมี 3 สายพันธ์ คือ ถ้าตาลูกปลาเป็นสีเหลืองก็จะเป็นเท็กซัสแดง แต่ถ้าลูกปลานั้นตาเป็นสีแดง และที่บริเวณลำตัว ไม่มีมาร์ค ก็แสดงว่าเป็นลูกปลาฟาวเวอฮอนล์ลอก แต่ถ้าตาสีแดงมีมาร์คที่บริเวณลำตัวก็แสดงว่าเป็นกัมฟาหน้าลาย

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติปลาหมอสี

ประวัติปลาหมอสี


แหล่งกำเนิด (Origin)

          ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ทะเลสาบ หนองบึ่ง คูคลองต่างๆ โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ๆ ในโลก คือ

           กลุ่ม New world  ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกใหม่ ได้แก่ แถบอเมริกากลาง-ใต้ เช่น แท๊กซัสตอนใต้ ลงมาจนถึงอาเจนตินาของอเมริกาใต้, คอสตาริกา, นิการากัว, บราซิล, ลุ่มแม่น้ำอเมซ่อน, เกาะมาดากาสการ์ , เกาะศรีลังกา, ชายฝั่งทะเลตอนใต้ของอินเดีย ฯลฯ

           กลุ่ม Old world  ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกเก่า ได้แก่ แถบแอฟริกาใต้, ในทะเลสาบมาลาวี (Lake Malawi ), ทะเลสาบแทนกานยิกา (Lake Tanganyika ), ทะเลสาบวิคตอเลีย(Lake Victoria), แถบแทนซาเนีย ฯลฯ

           ทะเลสาบมาลาวี ( Lake Malawi )

           ทะเลสาบมาลาวี คือแหล่งน้ำและปลา ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติหลักของชาวมาลาวี มีปลามากมายหลากหลายพันธ์ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบแห่งนี้ ปลาชนิดหลักๆที่มีอยู่ในตลาดปลา คือ Chambo Mlamba Usipa และ Kampango ปลาในทะเลสาบมาลาวีเป็นอาหารหลักประเภทโปรตีนของชาวมาลาวี ที่ใช้รับประทานมากกว่า เนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆถึง 2 เท่า

         ทะเลสาบมาลาวี มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 9 ของทะเลสาบในโลก มีขนาดความกว้าง 560 กม. 80 กม. ความลึกกว่า 700 เมตร และเป็นแนวเขตแดนของประเทศมาลาวีกับโมแซมบิค ทะเลสาบแห่งนี้ยังคงความหลากหลายของสาย พันธุ์ปลาที่มากแห่งหนึ่ง ของโลกมากกว่า 500 ชนิด และปลาตระกูลปลาหมอเป็นพันธ์ปลาที่มีมากที่สุด

          หมู่บ้านของชาวมาลาวี ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งทะเลสาบ โดยมีอาชีพหลักคือการทำประมงจับปลา และอาหารที่ขึ้นชื่อ คือ Chambo และ Nsima

           ทะเลสาบ แทนกานยิกา ( LakeTanganyika )

         ทะเลสาบ แทนกานยิกา เป็นทะเลสาบที่อยู่ส่วนกลางของทวีปแอฟริกา หมู่บ้าน Rift ในแอฟริกาตะวันออก เป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวกว่า 670 กม. ส่วนที่กว้างที่สุด 80 กม. ความลึกกว่า 1,470 ม. มีเขตแดนทางเหนือติด Burund ฝั่งตะวันออกติด Tanzama ทางใต้ติด Zambia และทางตะวันตกติด Zain ประเทศโดยรอบของทะเลสาบจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีกิจกรรมดำน้ำ นั่งเรือตกปลา ฯลฯ ปลาในทะเลสาบ แห่งนี้มีสีสันสวยงาม พันธุ์ปลากว่า 200 ชนิด

           ทะเลสาบวิคตอเรีย ( Lake Victoria หรือ Victoria Nyanza)

          ทะเลสาบวิคตอเรีย เกิดจากแม่น้ำไนล์ ตั้งอยู่ระหว่างประเทศ Tangayika ,ประเทศ Uganda และ ประเทศ Kenya ทะเลสาบ มีพื้นที่กว่า 69,480 ตร.กม เป็นทะเลสาบทีใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากLake Superior ในอเมริกาเหนือ จากเหนือจรดใต้ ทะเลสาบมีความยาวกว่า 337 กม. จากตะวันออกถึงตะวันตก กว้างกว่า 240 กม. และมีความยาวของชายฝั่งรวม 3,220 กม. ชื่อของทะเลสาบแห่งนี้ตั้งโดย นาย John H. Speke ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นคนยุโรปคนแรกที่ได้พบทะเลสาบนี้ และได้ตั้งชื่อให้เป็น เกียรติแก่ควีนวิคตอเรีย แห่ง Great Britain

  ประวัติปลาหมอสีในประเทศไทย

          ประวัติปลาหมอสีโดยคร่าวๆ ไม่ได้มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนว่าผู้นำเข้านั้นเป็นใคร โดยเมื่อราว ๆ ปี พศ. 2505 มีปลาหมอตัวแรกที่นำเข้ามาชื่อ แจ๊คเดมเซย์ ซึ่งถือเป็นตัวแรกที่ได้มีผู้นำเข้ามาเลี้ยง ต่อมาก็คือ ออสการ์ เป็นปลาหมออีกชนิดหนึ่งเช่นกัน และต่อมาได้ถูกไปแยกสายพันธุ์ออกไปเป็นออสการ์โดยเฉพาะที่เราเห็นกันอยู่

          ส่วนประวัติปลาหมอสีที่นำเข้ามานั้น อยู่ในช่วงประมาณ 30 ปีขึ้นไปโดยถิ่นกำเนิดของปลาหมอสี จะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ สองกลุ่มคือ

           กลุ่มที่วางไข่กับพื้น หรือซิคคลาโซน่า (CICLASONA) มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาก็คือ แถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ บราซิลและลุ่มแม่น้ำอะเมซอนเป็นหลักใหญ่ ซึ่งได้แก่ ปลาเซวาลุ่มทอง ที่กำลังนิยมอยู่ตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีพวกซิลสไปลุ่ม และปลาหมอมาคูลิคัวด้าอีกด้วย

           กลุ่มที่อมไข่ไว้ในปาก มาจากทะเลสาบทางด้านอัฟริกาหรืออัฟริกาใต้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ปลาที่นิยมเลี้ยงก็จะมาจากทะเลสาปมาลาวี แถว ๆ แถบแทนซาเนีย และก็มีพวก แซ พวกซาอี เป็นพวกนิยมจับปลาหมอและก็พวกนี้อีกเช่นกันที่เอาปลาหมอออกขายสู่ตลาดโลก

         ส่วนในประเทศไทยนั้น เริ่มมีคนรู้จักและเป็นที่แพร่หลายเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มมีการที่นิยมเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากขึ้น และเริ่มมีการประกวดแข่งขันกันเกิดขึ้นอีกด้วย จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งจัดได้ว่าปลาหมออยู่ในช่วงที่ค่อนข้างบูมมาก และเริ่มเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักเลี้ยงปลาพอสมควร

  การเลี้ยงดู

         การเลี้ยงดูปลาหมอจัดได้ว่าเป็นปลาที่มีความอดทนค่อนข้างสูง กินอาหารง่าย จำพวกอาหารสด ลูกกุ้ง ไรทะเล ไส้เดือน หนอนแดง หรืออาหารสำเร็จรูปและการถ่ายน้ำเต็มที่ 1 เดือนให้ถ่ายน้ำได้ 1 ครั้ง หรืออาทิตย์หนึ่งให้ถ่ายน้ำ ออก10% เพื่อเปลี่ยนสภาพของน้ำให้มันดีขึ้น

 ลักษณะนิสัย

           ลักษณะนิสัยของปลาหมอสีเป็นปลาที่จัดได้ว่าค่อนข้างรักถิ่น หวงที่อยู่ ดังนั้นจึงมีความก้าวร้าวอยู่พอสมควร และถ้าหากมีปลาตัวอื่นหลงเข้าไปในถิ่น หรือที่ที่ปลาหมอสีได้สร้างอาณาจักรเอาไว้ก็จะโดนไล่กัดทันที และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับผู้เลี้ยงมือใหม่อยู่ไม่น้อย

  การเพาะเลี้ยง

            การเพาะเลี้ยงถ้าเป็นในลักษณะของรูปฟาร์มก็ควรจะมีพื้นที่มีเงินลงทุน แต่ถ้าจะเพาะเลี้ยงตามบ้านสำหรับผู้เลี้ยงมือใหม่นั้น สมควรที่จะมีตู้ปลาขนาด 24 นิ้ว หรือ 36 นิ้ว และควรเริ่มเพาะจากพันธุ์ที่ง่าย ๆ ก่อนคือ พวกตระกูลอมไข่ หาตัวเมียที่ไม่ค่อยแพงนักประมาณ 7 ตัว และหาตัวผู้ 1-2 ตัว ซึ่งวิธีนี้ปล่อยตัวเมียลงในตู้ประมาณ 5-7 ตัวโดย ใช้ตัวผู้แค่ 1 ตัวและปล่อยเอาไว้เช่นนี้ ถ้าตัวเมียพร้อมจะไข่เมื่อไหร่หรือได้ไข่ไปแล้วนั้น จะสังเกตดูได้ว่าปลาจะหลบมุมซ่อนอยู่ตัวเดียวบริเวณใต้คางจะอูมย้อยลงมา และนั่นก็แสดงว่าได้ไข่แล้วแต่อมเอาไว้ หลังจากนั้น ทิ้งไว้เช่นนั้น 24 ชม.จึงช้อนเอาตัวเมียตัวนั้นออกมาเลี้ยงในตู้ใหม่เพียงตัวเดียว และปล่อยเอาไว้14 วัน มันจะคายออกมาเองนี่คือวิธีเพาะแบบง่ายๆ

           อีกวิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีแบบสมัยใหม่ โดยเป็นระบบที่พัฒนาแล้ว เป็นวิธีที่ใช้ปากเทียมเข้ามาช่วยโดยจะมีวิธีแกะไข่ ออกจากปากแม่แล้วปล่อยไว้อีก 24 ชม. เช่นกัน จึงนำมาเป่าในปากเทียม ซึ่งวิธีนี้จะทำให้พ่อแม่ปลาสมบูรณ์เต็มที่และพร้อมที่จะไข่ในครั้งต่อๆ ไป และด้วยการบังคับเอาไข่ออกจากปากนี้ถ้าผู้ที่ไม่มีความชำนาญแล้ว จะทำไม่ได้เพราะจะต้องบังคับให้ปลาอ้าปาก โดยใช้วิธีขยับที่โคนเหงือก ถ้าผู้ที่ไม่มีความรู้ในการทำจะทำให้ไข่ปลาเสียหายเพราะปลาหมอจะมีฟันซี่เล็กๆ และละเอียด ถ้าพ่นไข่ออกจากปากโดยรีบร้อนจะทำให้ไข่ปลาเสียหมด และเมื่อนำไข่ที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาฟักในปากเทียมแล้วพออายุครบ 15 วัน ก็สามารถเลี้ยงด้วยไรแดง หรืออาหารสำเร็จรูปปั้นเป็นก้อนก็ได้ และเมื่อผ่านไป 60 วันก็จะได้ปลาในขนาดไซซ์ 1 นิ้วโดยประมาณ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ปลาหมอเป็นพันธุ์ที่ดีได้นั้นจะต้องมาจากตัวเมียถึง 70% เพราะตัวเมียจะถ่ายทอดกรรมพันธุ์เป็นส่วนมาก แต่ตัวผู้จะถ่ายทอดแค่สีเท่านั้น เพราะฉะนั้นตัวผู้จึงไม่จำเป็นต้องสวยหรือสมบูรณ์แค่ไหน เพราะมันจะสำคัญอยู่ที่สายพันธุ์ของตัวเมียมากกว่า ซึ่งจะต้องคัดสายพันธุ์ที่ดีและจะต้องนิ่ง เพราะมันจะถ่ายทอดยีนส์ได้ดี แต่ถ้าเป็นพวกปอมปาดัวร์ต้องยอมรับว่าตัวผู้นั้นสำคัญและมีผลมาก

           ลักษณะปลาอมไข่ ปลาตัวเมียจะอมไข่ไว้ในปากประมาณ 7-8 วัน แล้วจะวางไข่ที่จาน หรือภาชนะ ที่เตรียมไว้และตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมแล้วตัวเมียจะเวียนมาอมไข่จนหมด หลังจากนั้นต้องนำปลาตัวเมียมาแคะลูกปลาออกมาเลี้ยงในตู้ต่างหาก โดยสังเกตที่ใต้คางตัวเมียจะมีลักษณะสีดำ ปลาจะโตอยู่ภายในปาก การอมไข่ ของตัวเมีย จะอมไว้ 2 ข้าง ภายใน 1 อาทิตย์จะอมได้ถึง 2 ครั้ง ทำให้ได้ลูกปลา ออกมา 2 คอก

           ลักษณะปลาวางไข่ ต้องนำภาชนะที่ให้ปลาตัวเมียวางไข่ไว้ในตู้เพาะ เช่น เปลือกหอย ก้อนหิน กระถาง การวางไข่ของตัวเมีย ตัวผู้จะเฝ้าไข่และไล่ตัวเมียออกไปประมาณ 2-3 วัน

  โรคของปลา (Disease)

           1. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก อาทิเช่น โรคที่เกิดจากเห็บระฆัง ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการแสดงความรำคาญ โดยการถูตัวกับตู้ปลาหรือหิน จะมีเม็ดกลมแบนเกาะติดอยู่ทั่วไป บริเวณที่เห็บเกาะจะแดงช้ำ โรคเห็บหนอนสมอ โรคเมือกตามตัวและเหงือกอักเสบ โรคที่เกิดจากปลิงใส ทำให้ปลาหายใจลำบาก หายใจถี่ สังเกตบริเวณกระพุ้งแก้มเปิด โรคจุดขาว โดยตามลำตัวและครีบของปลามีจุดขาวเกาะอยู่ เกิดจากอุณหภูมิของน้ำเย็น

            การรักษา แช่น้ำยาฟอร์มาลีนในอัตรา 2.5 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือใช้เมทีลีนบลูในอัตรา 0.4-0.8 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้ 24 ชม. หรือแช่น้ำที่มีเกลือแกงเข้มข้น 1 % แช่นาน 12-24 ชม. ส่วนโรคจุดขาว ควรเพิ่มอุณหภูมิน้ำชั่วโมงละ 1 องศาเซลเซียส และคงที่ที่ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 วัน

            การป้องกัน ก่อนที่จะนำปลาใหม่เข้าตู้ ควรนำปลากักโรคก่อนโดยใช้ยาข้างต้น แช่รวมทั้งอาหารสดที่จะนำมาให้ปลากิน

            2. โรคที่เกิดจากเชื้อรา ทำให้ปลามีขุยบางๆ คล้ายสำลีหรือเส้นใยตามบริเวณขอบแผล หรือตามตัวรวมทั้งครีบ มีอาการกร่อนและมีสีขาว ตามปลายครีบและหาง

            การรักษา ใช้พาลาไดร์ทกรีน ที่ความเข้มข้น .01 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 24 ชม.

            การป้องกัน ต้องดูแลสภาพภายในตู้ไม่ให้สกปรก หรือหมักหมมของเสีย และเปลี่ยนน้ำ ถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ

           3. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ปลามีอาการไม่ค่อยกินอาหาร การเซื่องซึม สีผิดปกติ ว่ายน้ำเชื่องช้า ว่ายอยู่ตามมุมตู้ หายใจลำบาก มีเลือดออกตามตัว ครีบกร่อน มีแผลตามตัว ท้องบวมเนื่องจากกระเพาะลำไส้อักเสบ(ปลากินอาหารที่มีแบคทีเรีย)

            การรักษา ใช้ยาฟารากรีนผสมในน้ำ ปิดไฟตู้ (ยามีปฏิกริยากับแสงสว่าง) ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชม. หรือนำปลาไปพบสัตว์แพทย์ตรวจ ก่อนการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะมีหลายชนิดและป้องกันเชื้อดื้อยา การให้ยาปฏิชีวนะทำได้โดยผสมกับอาหารให้ปลากินหรือใส่ลงไปในน้ำ

            การป้องกัน รักษาอุณหภูมิให้คงที่ (เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิสูง) ความเป็นกรดด่างของน้ำ (ควรมีค่า PH ต่ำ) การให้อาหารโดยไม่มีอาหารเหลือ ไม่ควรมีปริมาณปลาในตู้มากเกินไป เพราะจะทำให้ปลากัดกันและทำให้เกิดบาดแผล

เนื่องจากปลาหมอสีมีมากมายหลายชนิดมากจึงนำเอามาให้ได้บางส่วน ดังนี้

    1. มาลาวีน้ำเงิน
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulonacana Stuartqranti
          * แหล่งที่พบ ระหว่างเกาะ nagara และ kande
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ หินหรือทราย
          * อาหาร กุ้ง ปู ตัวอ่อนของแมลงที่อาศัยอยู่ในทราย

    2. มาลาวีเผือก
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulonacana Stuartqranti
          * แหล่งที่พบ -
          * ขนาด 16 cm.
          * ที่อยู่ ทรายและก้อนหิน กระจายอยู่ในทะเลสาบ
          * อาหาร สิ่งมีชีวิตเล็กๆ กุ้ง ตัวอ่อนของแมลง

    3. มาลาวีเหลือง
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulonacana Baenschi
          * แหล่งที่พบ Nehomo Ruf
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินที่กระจายอยู่ใต้ทะเลสาบ
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อยู่ในทราย ตัวผู้จะอยู่ตามถ้ำ ตัวเมียจะอยู่เป็นกลุ่ม

    4. กล้วยหอม
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labidochromis caeruleus yellow
          * แหล่งที่พบ Cape Kaises and Lunbouslo
          * ขนาด 10 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินบริเวณความลึก 25 เมตร
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง กุ้ง ตัวอ่อนของแมลง

    5. ลิฟวิ่งสโตน
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Nimbochromis livingstonii
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ malawi
          * ขนาด 25 cm.
          * ที่อยู่ อ่าวที่มีหินและทราย
          * อาหาร ปลาเล็กๆ

    6. ไอธ์บูล          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus greshakei
          * แหล่งที่พบ เกาะ Boad Zulu
          * ขนาด 13 cm.
          * ที่อยู่ หินตามแนวปะการัง
          * อาหาร แพลงตอน

    7. ชิปูเกะ
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Melanochromis chipokae
          * แหล่งที่พบ เกาะ Chidunga Chidunaga
          * ขนาด 14 cm.
          * ที่อยู่ พื้นทรายระหว่างก้อนหิน
          * อาหาร ปลาเล็กๆ

    8. อิเล็กทริล บูล
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciaenchromis ahli
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 16 cm.
          * ที่อยู่ หิน
          * อาหาร ปลาเล็กๆ

    9. อาปาเช่
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulonacara maylandi
          * แหล่งที่พบ Eceles Ruf
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ ตามทรายรอบๆปะการังความลึก 15 เมตร
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อยู่ในทราย

   10. ปากยาว
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Dimidiochromis compressiceps
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 23 cm.
          * ที่อยู่ น้ำลึกๆ
          * อาหาร ปลาเล็กๆ

   11. บลูดอร์ฟินล์
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyrtora moorii
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 20 cm.
          * ที่อยู่ ทราย-ที่น้ำตื้นๆ
          * อาหาร สิ่งไม่มีชีวิตในกระแสน้ำ

   12. ซูลู
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Protomelas taeniolatus
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 20 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินที่ไม่ลึกเกิน 10 เมตร
          * อาหาร สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อยู่ตามก้อนหิน 

   13. ฮอนจิ
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labidochromis hongi
          * แหล่งที่พบ เกาะ Lundo and Liuli
          * ขนาด 9 cm.
          * ที่อยู่ หิน
          * อาหาร พืช 

   14. เพอร์มัต
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labidochromis Permutt
          * แหล่งที่พบ Higga reef Mlomba bay
          * ขนาด 9 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินที่ลึกๆ ประมาณ 30-45 เมตร
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก 

   15. หางขาว
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus Acei
          * แหล่งที่พบ อ่าว Nana และ Sengon
          * ขนาด 18 cm.
          * ที่อยู่ พื้นทราย , ตามกิ่งไม้
          * อาหาร ตะกอนบนพื้นทราย 

   16. คากตาริ
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus Daktari
          * แหล่งที่พบ ชายฝั่ง
          * ขนาด 9 cm.
          * ที่อยู่ ที่ความลึก 5-10 เมตร
          * อาหาร แพลงตอน 

   17. มูริไอ
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Tropheus moorii
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 14 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหินที่อยู่ลึกๆ
          * อาหาร สาหร่าย 

   18. เวนทราลิส
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Neolamprologus Ventralis
          * แหล่งที่พบ แม่น้ำ malagasasi
          * ขนาด 15 cm.
          * ที่อยู่ หินที่น้ำตื้นๆ
          * อาหาร สาหร่ายเป็นเส้นๆ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ 

   19. ชีวีรี่
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus elongates chewere
          * แหล่งที่พบ ปะการังชีวีรี่
          * ขนาด 9 cm.
          * ที่อยู่ หินและทราย
          * อาหาร แพลงตอน 

   20. เตรโต
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Neolamprologus tetrocephalus
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 14 cm.
          * ที่อยู่ ทรายและก้อนหิน ความลึก 5-15 เมตร
          * อาหาร สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก หอย 

   21. มิดไนท์,ไวท์ท๊อป
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Copadichromis mloto
          * แหล่งที่พบ เกาะ Likoma
          * ขนาด 16 cm.
          * ที่อยู่ ทรายและก้อนหิน
          * อาหาร แพลงตอน 

   22. ฟอนโทซ่า
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyphotilapia frontosa
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 30-40 cm.
          * ที่อยู่ ก้อนหิน ความลึก 10-100 เมตร
          * อาหาร ปลาเล็กๆและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ 

   23. แซงแซว
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Neolamprologus brichardi
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 10 cm.
          * ที่อยู่ หิน
          * อาหาร แพลงตอน 

   24. แตงไทย
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Melanochromis auratus
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ malawi
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ ทรายและก้อนหิน
          * อาหาร สาหร่าย 

   25. วีนัส
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Nimbochromis Venustus
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 23 cm.
          * ที่อยู่ ทราย
          * อาหาร ปลาเล็กๆ 

   26. ซีบรา
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudotropheus Zebra
          * แหล่งที่พบ ปะการังในทะเลสาบmalawi
          * ขนาด 11 cm.
          * ที่อยู่ หิน
          * อาหาร สาหร่ายและแพลงตอน 

   27. ปากโลมาตัวผอม
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labeotropheus trevawasae
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 15 cm.
          * ที่อยู่ ผิวน้ำ ตวามลึกไม่เกิน 40 เมตร
          * อาหาร สาหร่าย 

   28. ปากโลมาตัวอ้วน
          * ชื่อวิทยาศาสตร์ Labeotropheus Fuelleboni
          * แหล่งที่พบ ทะเลสาบ
          * ขนาด 18 cm.
          * ที่อยู่ น้ำที่มีคลื่น
          * อาหาร สาหร่าย 

 


บ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟ

บ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟ

         ปลาคาร์ฟเป็นปลาที่สวยงามโดยเฉพาะตรงหลังของปลา จึงไม่นิยมเลี้ยงในตู้กระจก บ่อปลาไม่มีกำหนดว่าจะต้องใหญ่ หรือเล็ก เอาอ่างอะไรก็ได้ที่ มีเนื้อที่ให้ปลาได้ว่ายหน่อย เพราะปลาคาร์พสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดีมาก แต่มีข้อคิดคือปลาคาร์พเป็นปลาที่ไม่อยู่นิ่ง ( active ) ดังนั้นบ่อใหญ่ย่อมดีกว่าบ่อเล็ก บ่อลึกย่อมดีกว่าบ่อตื้น เมื่อปลาอยู่ในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ ปลาจะว่ายอย่างมีความสุข บ่อเลี้ยงควรมีบ่อกรองเพื่อไม่ทำให้เรายุ่งยากในการเปลี่ยนน้ำการสร้างบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟไม่มีขนาดและรูปทรงที่แน่นอน แต่มีข้อแม้ว่าบ่อกรองควรมีขนาดหนึ่งในสามของบ่อเลี้ยง เพื่อประสิทธิภาพในการกรองที่ดี ความลึกของน้ำที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พคือ 80-150 ซม.(ขึ้นอยู่กับขนาดของ ปลาที่จะเลี้ยง) และขอบบ่อควรสูงกว่าระดับน้ำในบ่อ 20-30 ซม. ถ้าเป็นบ่อแบบขุดลงดินขอบบ่อก็ควรสูงกว่าพื้นดินไม่น้อยกว่า 30 ซม. เพื่อป้องกันน้ำท่วมบ่อ ก้นบ่อควรเทพื้นให้ลาดเอียง 20-30 องศา จากริมก้นบ่อโดยรอบเข้าหาใจกลางบ่อที่เป็นเป็นตัว U และสะดือบ่อที่อยู่ใจกลางบ่อก็ควรมีขนาดที่ไม่เล็กจนเกินไป และอาจมีได้หลายสะดือ ถ้าบ่อมีขนาดใหญ่มากๆ หรือมีส่วนที่เว้าเยอะ วัสดุในบ่อกรองให้ใช้หินกรองสามขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ ปั๊มน้ำก็ควรใช้ที่เงียบ และแรงเหมาะสมกับขนาดบ่อ บ่อทรงกลมจะช่วยให้ไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำขนาดใหญ เพื่อให้น้ำในบ่อหมุน เพราะถ้าน้ำหมุนก็จะทำให้ขี้ปลาไปรวมที่ก้นบ่อเร็ว และจะลงไปในสะดือไปที่บ่อกรองได้ง่าย ที่ตั้งของบ่อก็ควรให้มีแดดส่องถึง อย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง หรือให้แสงส่องลงบ่อประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ 


1. บ่อเลี้ยงแบบบ่อกรองและบ่อเลี้ยงอยู่บนดิน 
บ่อแบบนี้จะสะดวกต่อการจัดการ เพราะน้ำที่มาจาก สะดือบ่อเลี้ยง จะมาที่บ่อกรอง โดยตรง ไม่ต้องใช้การปั๊มจากบ่อพัก มาบ่อกรอง และการล้างบ่อกรองก็ง่ายเพราะบ่อกรองอยู่บนดิน เพียงแค่เปิดวาล์วที่ทำไว้กันบ่อกรองต่อกับสะดือบ่อกรองทุกห้อง โดยใช้วิธี ล้างกลับ (Reverse Flow) โดยการให้น้ำไหลจากด้านบนกลับไปที่ด้านล่างจนกว่าน้ำจะใส ประมาณปีละ2-3 ครั้งขึ้นอยู่กลับปริมาณปลาและการให้อาหาร ข้อสำคัญก้นบ่อกรองจะต้องเทลาดเอียงทุกห้อง และมีสะดือบ่อเหมือนบ่อเลี้ยง ให้ตะกอนมารวมกันเพื่อง่ายต่อการกำจัด 

2. บ่อเลี้ยงแบบบ่อกรองและบ่อเลี้ยงอยู่ในดิน
วิธีสร้างบ่อกรองแบบนี้ไม่สามารถทำวาล์วไว้ที่ก้นบ่อ ได้เหมือนสองวิธีแรกได้ เพราะระดับน้ำของก้นบ่อกรอง อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินปกติ ดังนั้นจึงต้องทำก้นบ่อกรองให้ลาดเอียงไปทางด้านช่องของน้ำล้น เข้า ที่ไม่ได้ใส่วัสดุกรองของแต่ละช่อง และช่องว่างของช่องน้ำล้นเข้าต้องกว้างพอที่จะใส่ปั๊มน้ำลงไปได้ เพราะเมื่อต้องการล้างบ่อกรอง โดยใช้ วิธีการล้างกลับ (Reverse Flow) โดยการให้น้ำไหลจากด้านบนกลับไปที่ด้านล่างจนกว่าน้ำจะใสนั้น จะต้องใช้ปั๊มน้ำเป็นตัวดึงน้ำออกแทนการเปิดวาล์วแบบสองวิธีแรก

3. บ่อเลี้ยงแบบบ่อกรองอยู่บนดินและบ่อเลี้ยงขุดลงในดิน
วิธีสร้างบ่อกรองใช้เหมือนวิธีแรกแต่บ่อพักต้องสร้างลึก ลงไป ให้ เท่ากับก้นบ่อเลี้ยง แล้วใช้ปั้มน้ำปั้มน้ำจากบ่อพัก มาบ่อกรอง ขนาดของบ่อพัก ไม่จำกัดจะใหญ่หรือเล็กก็ได้ การล้างบ่อกรองก็เหมือนวิธีแรก

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภาพปลาคาร์พแก้ฮวงจุ้ย

ภาพปลาคาร์พแก้ฮวงจุ้ย

เรามาดูกันว่าความหมายของปลาคาร์พเป็นอย่างไรกันบ้าง เริ่มจาก 

ปลา เป็นสัตว์มงคล เพราะคำว่า หยูที่หมายถึงปลา พ้องเสียงกับคำว่า หยู ที่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ปลาจึงเป็นสัญลัษณ์ของความมั่งคั่ง


เด็กกับปลา จะหมายถึง “ขอให้จงมีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์จากลูกชายที่ได้รับตำแหน่งสูงขึ้น”


 ปลาคาร์ฟ มาจากคำว่า “หลี่” หมายถึง ผลกำไรหรือประโยชน์ ปลาคาร์ฟ จึงเป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาจะได้ผลกำไรหรือประโยชน์จากการทำธุรกิจ
ดอกบัว หมายถึง “ขอจงมีบางสิ่งอยู่ทุกปี” 


ส่วนหนวดปลานั้นเป็นเครื่องหมายของพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ 




เสริมดวงกับปลาคาร์ฟ

เสริมดวงกับปลาคาร์ฟ

   ปลาคาร์พ เป็นสัตว์สวยงามที่เลี้ยงกันไว้ดูเล่นเพื่อความบันเทิง สร้างสรรค์เส้นทางสู่ธุรกิจระดับโลกบอกถึงฐานะหรือศักดิ์ศรีของผู้เลี้ยง และยังเป็นสัตว์มงคลช่วยเสริมฮวงจุ้ยให้ผู้อยู่อาศัยทำมาหากิน เจริญรุ่งเรือง มีโชค มีลาภ และไม่เจ็บป่วยบ่อย ๆ ด้วย

การสร้างบ่อนำเสริมฮวงจุ้ยที่ทำกันยังขาดปลาที่มีมงคล จึงยังเป็นฮวงจุ้ยที่ไม่สมบูรณ์ ในน้ำต้องมีปลา ในนาต้องมีข้าวฉันใดในบ่อน้ำเสริมฮวงจุ้ยก็ควรที่จะมีปลามงคลอาศัยอยู่ด้วยฉันนั้น 

ปลาที่คนจีนและคนญี่ป่นยอมรับนับถือว่าเลี้ยงแล้วดีมีมงคล ก็คือปลาคาร์พ โดยยึดเอาสีสันมาเป็นข้อกำหนดความเป็นสิริมงคล



ปลาโคฮาก-ตันโจ
มีสีแดงและสีขาวเป็นสีประจำตัว สีแดง หมายถึง อำนาจและโชคลาภ สีขาวหมายถึง สิ่งที่ดีมีมงคล ปลาชนิดนี้ผู้ใดนำไปเลี้ยงไว้ในบ้านจะช่วยให้เจริญรุ่งเรือง มีโชคลาภตลอดทั้งมีอำนาจวาสนาได้เป็นผู้นำไม่ตกต่ำและพบเจอแต่สิ่งที่ดีมีมงคลต่าง ๆ


ปลาโชวา - ซันเก้ จะมีสีแดง สีดำ สีขาว เป็นสีประจำตัว สีแดง หมายถึงอำนาจและโชคลาภ สีดำหมายถึง พลังอำนาจลึกลับหรืออาถรรพณ์ต่าง ๆ สีขาวหมายถึงสิ่งที่ดีมีมงคล  ปลาชนิดนี้นำไปเลี้ยงไว้ในบ้านจะช่วยทำให้ผู้อยู่อาศัยทำมาหากินเจริญรุ่งเรือง มีโชคมีลาภตลอดทั้งมีอำนาจวาสนาได้เป็นผู้นำและพบเจอแต่สิ่งที่ดีมีมงคลอีกทั้งยังป้องกันอาถรรพณ์ร้ายทั้งหลายไม่ให้เข้ามาทำอันตรายใด ๆ อีกด้วย


ปลาชิโร่ – เบคโกะ
จะมีมีดำและขาวเป็นสีประจำตัวสีดำหมายถึง พลังอำนาจลึกลับหรืออาถรรพณ์ต่าง ๆสีขาวหมายถึง สิ่งที่ดีมีมงคล เมื่อสีดำและสีขาวอยู่รวมกันก็เป็นเครื่องหมายของหยินและหยาง ที่เชื่อกันว่าจะช่วยขจัดอาถรรพณ์และวิญญาณร้าย ไม่ให้เข้ามาทำอันตรายใด ๆ แก่ผู้เลี้ยงปลาชนิดนี้