21_1

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงปลาหมอสี

การเลี้ยงปลาหมอสี

ปลาหมอสี เป็น ปลาที่เลี้ยงง่าย มีความอดทนและกินอาหารง่าย ซึ่งเป็นอาหารจำพวก ไรทะเล ไรน้ำนางฟ้า หนอนแดง กุ้งฝอย ปลาขนาดเล็ก ไส้เดือน หรือ อาหารสำเร็จรูป หากต้องให้ปลามีสีสันเด่นชัดก็อาจให้ อาหารประเภทเร่งสี โดยแนะนำว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ที่มีสารเบต้าแคโรทีน สามารถ เร่งสีปลาหมอสี ได้ดีที่สุดในจำนวน อาหารปลาหมอสี ทั้งหมด 
ปลาหมอสีที่เลี้ยงด้วยไรน้ำนางฟ้า การเลี้ยงปลาหมอสี เป็น ปลาที่นิสัยรักหวงถิ่นที่อยู่ และก้าวร้าวจะไล่กัดปลาตัวอื่นๆทันทีที่เข้ามาใกล้ในบริเวณอาณาจักรของตัวเองที่ทำไว้ ดังนั้น การเลี้ยงปลาหมอสี หลายพันธุ์รวมกันในตู้ต้องคำนึงถึงขนาดของปลาด้วย ควรจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ตู้ควรมีขนาดใหญ่ และมีก้อนหินจัดวางไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาตระกูลอื่น เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา(ปลาในตระกูลปอมปาดัวร์) ฯลฯ การย้อมสี หมายถึง การใช้ฮอร์โมนเพศไปเร่งสีปลานั่นเอง โดยส่วนใหญ่ที่ใช้คือฮาโลคริสติก ซึ่งก็คือยาฮอร์โมนเพศชายนั่นเอง โดยมีขายตามร้านขายยาทั่วไป การใช้ก็นำมาคลุกกับอาหารปลาให้ปลา่กินและนี่ก็เป็นวิธี การเร่งสีปลาให้มันเกิดขึ้นเร็วเกินกว่าวัยสมควรจะเป็น ซึ่งการย้อมสีนี้แบ่งได้อีกหลายแบบ ถ้าจะย้อมสีแดงก็ใช้โปรตีนเรด โปรตีนพิ้งค์ นำมาคลุกกับอาหารในอัตราส่วนที่พอเหมาะให้ปลากินและปลาก็จะเปล่งสีสันออกมาพอสมควรเพราะสารโปรตีนพวกนี้จะไม่มีอันตรายและพิษภัยใดๆ แต่ถ้าเป็นพวกฮอร์โมนเพศ ถ้าให้ปลากินตั้งแต่ยังเล็กและเป็นเวลานานๆ จะทำให้ปลาเหล่านี้เปลี่ยนเป็นเพศผู้เพราะฮอร์โมนตัวนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนรังไข่ ทำให้รังไข่ฝ่อและจะทำให้ครีปของปลาตัวเมียยาวเหมือนตัวผู้ ดังนั้นการเร่งสีปลาที่ปลอดภัยที่สุดควรเลี้ยงด้วย ไรน้ำนางฟ้า ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติจึงจะดีที่สุดครับ
การเลี้ยงปลาหมอสี ( ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับ นักเลี้ยงปลา หมอสี มือใหม่ )1.นิสัยของ ปลาหมอสี เมื่อเรารู้นิสัยของ ปลาหมอสี แล้วเราต้องรูด้วยว่า ปลาหมอสี กินอะไรปลาหมอสที่โตแล้วจะ กินหนอนนก หรืออาหาร ปลาหมอสีโ ดยเฉพาะเม็ดใหญ่ ปลาหมอสี ตัวเล็กก็เริ่มจากการ กินหนอนแดง ก่อนแล้วถ้าโตจนสามารถ กินหนอนนก ได้ก็เอาหนอนนกให้มันกินจะเสริมด้วยกุ้งก็ได้ เพราะโปรตีนจากกุ้งแล้วหนอนนก หนอนแดงนั้นจะทำให้ปลาหมอสีโตเร็วและยังเป็นการทำให้ปลาหมอสี มี โหนกใหญ่ 
2.ตู้ปลา สำหรับ เลี้ยงปลา ตู้ที่จะเลี้ยงปลา ที่ไม่ใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป ติดเครื่องอุณหภูมิ ให้ปลาเพื่อปรับอุณหภูมิให้ปลา ติดเครื่องกรองน้ำให้ปลามีให้น้ำขุ่นจนเกินไป ใส่หินให้ปลาเพราะปลาหมอสีจะชอบเล่นออมหิน แล้วการติดไฟให้ปลา การติดไฟให้ปลานั้นจะต้องเป็นไฟสีชมพู เป็นไฟสำหรับ ปลาหมอสี โดยเฉพาะ เพราะถ้าเรานำ ไฟที่ไม่ใช่ไฟใส่ปลามาใส่จะทำให้ ปลาหมอสี ตาบอด ได้ จึงแนะนำ ไฟจัดตู้ปลา ที่ เป็น ไฟเฉพาะ สำหรับ เลี้ยงปลาหมอสี เท่านั้น
การดูแล และ ควรพึงปฏิบัติ กับภาระกิจ เลี้ยงปลาหมอสี อ่านสักนิด ก่อนคิด จะเลี้ยง เจ้าหมอสี (รัก และ เอาใจใส่ หนึ่งชีวิต ใน กำมือ ของคุณ )หลักทั่วไปในการเลี้ยงหมอสีก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ 1. น้ำสำหรับ เลี้ยงปลาหมอสี นั้น น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้2. ใช้ เครื่องกรองน้ำ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้3. ขนาดของ ตู้เลี้ยงปลาหมอสี ควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวก หมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้4. อาหารปลาหมอสี กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มี ลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี5. ก้อนหิน ก้อนกรวด ที่จัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลง ก่อน จัดลงตู้6. ตู้ปลาหมอสี ควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำใน ตู้ปลา ได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะ เปลี่ยนน้ำตู้ปลา บริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ



การเลี้ยงปลาฟอร์มให้หัวโหนกไว
สายพันธุ์ปลาจะต้องดี คือว่าปลาหมอสีเพศผู้จะต้องมีเชื้อที่สมบูรณ์ และปลาหมอสีเพศเมียจะต้องให้ไข่เยอะ อย่างเช่นสายพันธุ์ bighead เป็นต้น
ถ้าอยากให้ปลาหมอสีหัวโหนกไวจะต้องฟอร์มในตู้ฟอร์มที่น้ำใสสะอาด คือว่าจะต้องเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบ่อยๆ เพื่อให้ปลานั้นโตไวและตู้ฟอร์มก็จะต้องมีขนาดกำลังดี คือว่าไม่เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้ปลาอึดอัด และโตช้า
อาหารเป็นสิ่งที่สำคัญการให้อาหารปลาหมอสีนั้นก็จะต้องให้พอเหมาะสมเพราะว่า ถ้าให้อาหาร มากจนเกินไป อาจจะทำให้น้ำในตู้ฟอร์มนั้น เหม็นเร็วซึ่งถ้าให้น้อยจนเกินไป ก็จะทำให้ปลานั้นไม่ค่อยโต เพราะว่าอาหารไม่ถึงซึ่งวิธีที่ดีที่สุด ก็คือการให้อาหารปลาหมอสี ประมาณขนาดของปลา คือว่าให้ พอปลากินแล้วท้องป่องก็พอ และจะให้วันละ 2 หรือ 3 ครั้งก็ได้แล้วแต่ อาหารนั้นก็ คือไรทะเล เราควรจะใส่เกลือลงไป ในไรทะเลด้วย เพื่อให้ไรทะเลนั้นอยู่ได้ตลอดทั้งวัน เพราะถ้าไม่ใส่เกลือ ไรทะเลก็จะตายเร็ว
อากาศก็เป็นสิ่งสำคัญอีกเช่นกันเพราะว่าถ้าเราให้อ็อกซิเจนน้อยไปก็จะทำให้ปลาหัวโหนกช้า ควรจะเปิดอ็อกซิเจนให้แรงพอสมควร

การเพาะกัมฟาหน้าลาย
จะต้องปลาเท็กซัสแดงเพศผู้และฟาวเวอฮอนล์ลอกเพศเมียเป็นองค์ประกอบหลักในการเพาะ (การเพาะ และการเลี้ยงนั้นค่อนข้างยากพอสมควร)
เมื่อเห็นฟาวเวอฮอนล์ลอกเพศเมียมีลักษณะคือท้องป่อง ลำตัวมีสีดำลาย และท่อของปลา ฟาวเวอฮอนล์ลอกแดง เพศเมียยื่นออกมาซึ่งจะสังเกตได้ง่าย เพราะ ท่ออวัยวะเพศเมียจะใหญ่ และเราก็นำปลาเท็กซัสแดงเพศผู้ มาเทียบเพื่อให้ปลาทั้งสองตัวนั้น ได้คุ้นเคยกันก่อน เพื่อที่จะได้ทำการ ผสมพันธุ์กันในลำดับต่อไปซึ่งช่วงนี้ก็จะต้องคอยสังเกตอยู่ตลอด เพราะว่าถ้าเห็นตัวเมียเริ่มไข่ออกมา ก็ดึงกระจกที่กั้นปลาออก เพื่อให้ปลาเพศผู้นั้นได้เข้าไปฉีดน้ำเชื้อในไข่
จากนั้นอีกประมาณ 3 วันไข่ที่ได้ก็จะกลายเป็นลูกปลาแล้วเราก็ต้องรอจนกว่าลูกปลานั้นจะลอยขึ้นมาเหนือน้ำถึงจะ ทำการให้อาหารลูกปลานั้น ได้ซึ่งอาหารของลูกปลานั้นก็คือ ไรฝุ่น หรือที่เรียนกันว่าไรแดงนั่นเอง ซึ่งการให้นั้นก็ควรจะให้ไรแดงประมาณที่พอเหมาะ ถ้าให้ไรแดง กับลูกปลามากเกินไป ก็จะทำให้น้ำ ปลานั้นขุ่นเร็ว ซึ่งก็จะต้องทำการเปลี่ยนน้ำปลาบ่อยซึ่งการเปลี่ยนน้ำลูกปลานั้น จะต้องทำด้วย ความระมัดระวัง เพราะลูกปลานั้นยังบอบบางอยู่ ซึ่งถ้าเปลี่ยนไม่ดีลูกปลาก็อาจจะตายได้ แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าเมื่อเปลี่ยนน้ำลูกปลาแต่ละครั้งยังไง ลูกปลาก็ตายอยู่ดี แล้วแต่ว่าจะเยอะหรือน้อย
เมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 3-4 เดือนเราก็จะสามารถแยกประเภท ของลูกปลาได้ซึ่งลูกปลานั้นจะมี 3 สายพันธ์ คือ ถ้าตาลูกปลาเป็นสีเหลืองก็จะเป็นเท็กซัสแดง แต่ถ้าลูกปลานั้นตาเป็นสีแดง และที่บริเวณลำตัว ไม่มีมาร์ค ก็แสดงว่าเป็นลูกปลาฟาวเวอฮอนล์ลอก แต่ถ้าตาสีแดงมีมาร์คที่บริเวณลำตัวก็แสดงว่าเป็นกัมฟาหน้าลาย