21_1

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สายพันธุ์ปลาคาร์พ

สายพันธุ์ปลาคาร์พ



    แฟนซีคาร์พ กำเนิดมาจากการกลายพันธุ์ของ Magoi เมื่อประมาณ 200 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีการผสมและคัดสายพันธุ์จนมีมากกว่า
80 สายพันธุ์

จากการสังเกตจากลักษณะทางกายภาพเป็นเกณฑ์ โดยยึดลักษณะของเกล็ดเป็นเกณฑ์จะเห็นว่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะปลาคาร์พชนิดมีเกล็ดเต็มตัว (Fully-scaled Nishikigoi)ปลาคาร์พชนิดไม่มีเกล็ด (Doitsu-goi)ซึ่งปลาทั้ง 2 ลักษณะนี้ สามารถพบได้ในทุกสายพันธุ์ของปลา โดยชนิดไม่มีเกล็ดนี้การเรียกส่วนใหญ่ จะต้องเติมคำว่า “Doitsu” ไว้ด้านหน้าหรือตามท้ายชื่อสายพันธุ์หลัก คล้ายกับ Prefix และ Subfix ของภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงลักษณะของปลาที่กล่าวถึงสายพันธุ์หลักของปลาแฟนซีคาร์พ หากจำแนกตามประเภทของปลาที่ส่งเข้าประกวดตามมาตรฐาน ZNA แล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 10 สายพันธุ์หลักดังนี้ 


1.โคฮากุ (Kohaku)



โคฮากุ (Kohaku) มีประโยคอมตะของวงการปลาคาร์พกล่าวไว้ว่า “Keeping Nishikigoi begin with kohahu and end with kohaku” ประโยคดังกล่าวสามารถยืนยัน ความงามอันเป็นอมตะของปลาสายพันธุ์นี้ได้ดีที่สุด จึงไม่แปลกที่ปลาสายพันธุ์นี้จะมีชื่อเรียกเฉพาะลักษณะของลวดลายบนตัวปลา (Patterns) ตลอดจนมีหลักเกณฑ์ในการตัดสิน ความสวยงามของปลาแต่ละตัวมากที่สุด นอกไปจากนี้หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังสามารถใช้ขยายผลไปเป็นพื้นฐานในการพิจารณาความสวยงามของปลาสายพันธุ์อื่นได้อีกด้วย
มาตรฐานในการพิจารณาปลาสายพันธุ์นี้ โดยเบื้องต้นมีดังนี้
สีแดงบนตัวปลา (Hi) จะต้องแดงสดหรือแดงเลือดนก แต่บางสายพันธ์เช่นฟาร์ม Sakai อาจจะมีออกโทนส้มเข้มๆ ยังถือว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ของสีแดง สีแดงต้องหนาและแน่น ถ้าสีแดงถึงจะสดแต่ดูบางอาจจะมีปัญหาสีซีดจางภายหลัง ช่วงที่ปลาตัวโตขึ้น
ขอบของสีแดงต้องชัดและคม ไม่ควรมีขอบแดงที่เบลอมากจนเกินไป ทั้งสีขอบเกล็ดตอนหน้า (Sashi)ไม่ควรจางเกิน 2 แถวของเกล็ดตอนหน้า ตลอดจนสีทับตอนหลังและด้านข้างของเกล็ด (Kiwa) ไม่ควรมีขอบที่เบลอมากจนเกินไป ควรต้องคมชัด
ไม่ควรมีสีแดงที่ครีบหน้า (Pectoral fins) และที่หาง (Caudal fin) แต่ในการประกวดปัจจุบัน อาจจะมีการอนุโลมได้บ้าง
สีแดงที่หลังของปลา ต้องมีลวดลายไม่ต่ำลงมาเกินเส้นประสาทกลางลำตัวปลา จะอย่างไรก็ตามมาตรฐานหลักข้อนี้ ปัจจุบันได้รับการอนุโลมไปมากที่สุด
สีแดงบนหัว ของปลาต้องไม่ล้ำเกินส่วนจมูกของปลา ไม่เลยทับดวงตาของปลาแต่หยุดที่ขอบตาได้
ส่วนหัวของปลา (Hachi) ต้องมีสีแดง ขอบสีแดงบนหัวปลาตอนหน้าควรจะเป็นรูปเกือกม้าหรือตัวยู(Kutsubera)
สีขาว ที่เป็นสีพื้นต้องขาวบริสุทธิ์ หรือขาวหิมะ
สีแดงตอนสุดท้ายของปลา (Ojima) จะต้องหยุดห่างจากโคนหางเล็กน้อย เพื่อให้เกิดช่องว่างสีขาวบริเวณโคนหาง ก่อนที่จะถึงส่วนหางของปลาที่เรียกว่า “Odome” หรือที่เรียกกันในวงการปลาบ้านเราว่าท้ายเปิด
สีแดงบนตัวปลาจะต้องมีความสมดุลย์ ไม่ค่อนไปทางด้านใดด้านหนึ่ง (ซ้ายหรือขวา) อย่างที่เรียกว่า “Kata-moyo” หรือ ”Kata-gara”
จะเห็นได้ว่าเป็นการยากที่จะหาปลาที่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาได้ครบถ้วน และถึงแม้หาได้ ปลาที่มีคุณสมบัติดังกล่าวก็ควรจะดูเหมือนกันไปหมด ขาดความน่าสนใจและความมีเสน่ห์ อันเป็นเอกลักษณะของปลาแต่ละตัวไป ดังนั้นจึงมีคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกลักษณะลวดลายที่แตกต่างกันออกไปอีกดังนี้
Komoyo หมายถึง ปลาโคฮากุที่มีลวดลายสีแดงบนตัวเป็นพื้นที่เล็ก มีพื้นที่สีขาวบนพื้นที่หลังรวมแล้วมากกว่า 50% ลวดลายแบบนี้มักจะเป็นที่สะดุดตาของนักเลี้ยงปลามือใหม่ และยังดูดีเมื่อเป็นปลาขนาดเล็ก แต่พอเมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น ปลาลวดลายแบบนี้มักจะดูขาดความน่าสนใจไป
Omoyo หมายถึง ปลาโคฮากุที่มีลวดลายสีแดงบนตัวเป็นพื้นที่ใหญ่ เหลือพื้นที่สีขาวบนหลังรวมแล้วน้อยกว่า 50% นักเลี้ยงปลาที่มีประสบการณ์มักจะเลือกปลาที่มีลักษณะลวดลายเช่นนี้ เพราะเมื่อปลาโตขึ้นจะมีความสวยงามมากขึ้น จากการขยายออกของพื้นที่สีขาวบนหลัง ข้างตัว และส่วนท้องของปลา
Danmoyo,Dangara หมายถึง ปลาที่มีลวดลายบนหลังแบ่งเป็นตอนๆ ในภาษาญี่ปุ่น “Dan” แปลว่า ตอนหรือ “Step” ในภาษาอังกฤษ โดยยังมีการเรียกตามจำนวนตอนบนตัวปลาไปอีกดังนี้
Nidan Kohaku หมายถึง ปลาโคฮากุที่มีตอนสีแดง 2 ตอน (Ni แปลว่า สอง, Dan แปลว่า ตอน)


Sandan Kohaku หมายถึง ปลาโคฮากุที่มีตอนสีแดง 3 ตอน (San แปลว่า สาม) ปลาโคฮากุชนิด 3 ตอนนี้ นิยมว่าเป็นตอนมาตรฐานของปลาโคฮากุ


Yondan Kohaku หมายถึง ปลาโคฮากุที่มีตอนสีแดง 4 ตอน (Yon แปลว่า สี่) ปลาโคฮากุชนิด 4 ตอนจะค่อนข้างหายาก และเป็นที่นิยมของนักเลี้ยงระดับมืออาชีพ ถ้าลวดลายได้แบบมาตรฐาน ซึ่งจะมีราคาค่อนข้างสูง
Godan Kohaku หมายถึง ปลาโคฮากุที่มีตอนสีแดง 5 ตอน (Go แปลว่า สี่) ปลาโคฮากุชนิด 5 ตอนจะหายากมาก ซึ่งลวดลายที่มีช่วงตอนมาก อาจจะทำให้พื้นที่ขาวน้อยเกินไปได้
Bozu หมายถึง ปลาที่ไม่มีสีแดงบนหัวเป็นปลาที่ถือว่า ไม่สวยงามมักจะถูกคัดทิ้งตั้งแต่การคัดลูกปลาครั้งแรก คำว่า “Bozu” ในภาษาญี่ปุ่นความหมายตรงตัวแปลว่า นักบวช” 
Zubon-haki หมายถึง สีแดงที่ไม่จบลงที่โคนหาง แต่กลับเลอะเข้าไปในบริเวณหางด้วย นอกจากนี้ สีแดงดังกล่าวยังปกคลุมบริเวณโคนหางส่วนใหญ่ ลวดลายชนิดนี้ถือว่าไม่สวยงามเนื่องจากขาดความสมดุลย์ ระหว่างตอนหน้ากับตอนหลังของตัวปลา คำว่า "Zubon-haki" ความหมายตรงตัวแปลว่า "กางเกงขายาว"
Bongiri หมายถึงสีแดงในลักษณะตรงข้ามกับ "Zubon-haki" คือ ปลาที่ไม่มีสีแดงในช่วงหางทำให้ ดูคล้ายกับปลาตัวนั้นใส่กางเกงขาสั้น

Ippon Hi หมายถึง ลวดลายบนตัวปลาที่ไม่เป็นแบบ Danmoyo (Step pattern) แต่กลับเป็นตอนเดียว ตั้งแต่หัวไปจรดโคนหาง ลวดลายแบบนี้ถ้าเป็นไปแบบเรียบๆ ตรงๆ มักจะไม่เป็นที่นิยม แต่หากลวดลายตอนเดียว ซิกแซกไปมาจะเรียกว่า Inazuma แปลาว่าสายฟ้าลวดลายประเภทนี้กลับเป็นที่ต้องการและนิยมมากประเภทหนึ่ง 

Maruten หมายถึง ปลาที่มีสีแดงกลมอยู่บนหัว บนตัวมีลวดลายตามปกติของปลาโคฮากุ หากตัวที่มีสีแดงกลมบนหัวแล้วตัวขาวล้วนจะถูกเรียกว่า Tancho Kohaku คำว่า "Maruten" ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "มงกุฎ" ลวดลายแบบ Maruten นี้ เป็นลวดลายที่ได้รับความนิยมประเภทหนึ่ง

Kuchibeni หมายถึง ปลาที่มีสีแดงแต้มที่ปาก สีแดงที่ปากนี้จะมีประโยชน์ ในกรณีที่เกิดขึ้นกับปลาที่มีสีแดงบนส่วนหัวน้อยเกินไปเพราะจะทำให้ลวดลายดูสมดุลย์ขึ้น แต่หากเกิดขึ้นกับปลาที่มีลวดลายบนส่วนหัวสวยงามดีอยู่แล้ว ก็อาจทำให้ปลาตัวนั้นดูด้อยลงก็ได้ คำว่า "Kuchi" แปลว่า "ปาก" ส่วน "Beni" แปลว่า "แดง" ดังนั้นแปลรวมๆ จึงหมายความว่า "ปากแดง" หรือ ที่นักเลี้ยงเรียกกันว่า "ลิปสติก" นั่นเอง

Hanatsuki หมายถึง สีแดงบนส่วนหัวของปลาที่ไม่หยุดลงที่จมูก แต่กลับต่อเนื่องยาวลงมาจนถึงปาก


Menkaburi หมายถึง สีแดงที่ปกคลุมไปทั้งส่วนหัว หรือแถบใดแถบหนึ่งของส่วนหัว คำว่า "Menkaburi" แปลงตรงตัวหมายถึง "หมวกคลุมผมสีแดง (Red hood)" ซึ่งดูเผินๆ แล้ว จะดูเหมือนปลาที่มีลวดลายแบบนี้สวมหมวกคลุมผมสีแดงอยู่จริงๆ
เนื่องจากปลาโคฮากุเป็นปลาสายพันธุ์เริ่มต้นของปลาคาร์พ ดังนั้นจึงได้มีการนำคำศัพท์ที่กล่าวมาบางส่วน นำไปใช้ในการกำหนด ลักษณะ บนปลาสายพันธุ์อื่นอีกด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อๆ ไป
นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมี ปลาโคฮากุ ในชื่อลักษณะของลวดลายบนตัวอีกมากมาย เช่น Goten-Sakura, Doistu Kohaku,Kanoko Kohaku, Napoleon Kohaku, Fuji Kohaku กระทั่ง Aka Hajiro Aka muji และ Shiromuji ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มของปลาขาวแดงคือ ปลาโคฮากุ นั่นเอง

2. ไทโชซันโชกุ (Taisho Sanshoku )


    ไทโชซันโชกุ (Taisho Sanshoku / Taisho Sanke) เป็นชื่อเต็มของปลาสายพันธุ์ที่นักเลี้ยงเมืองไทยนิยมเรียกันติดปากว่า "ซันเก้ (Sanke)" ทั้งหมด แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า สามสี ส่วนคำว่าไทโช (Taisho)
ซึ่งปลาสายพันธ์นี้ได้เริ่มแพร่หลายในยุคสมัยไทโช ดังนั้นชื่อของปลาสายพันธุ์นี้จึงแปลได้ความหมายว่าปลาสามสีแห่งยุคไทโช
การพิจารณาความสวยงามของปลาสายพันธุ์ ไทยซันโชกุ / ซันเก้
ความสวยงามของปลาโคฮากุ เป็นความสวยงามลงตัวของลวดลายสีแดงบนพื้นขาว สำหรับในกรณีของซันเก้นั้น ได้มีโจทย์เพิ่มเข้ามาอีก 1 สี คือ สีดำ (Sumi)
การพิจารณาความสวยงาม และความลงตัวของสีแดงบนพื้นขาวนั้นไม่ต่างจากปลาโคฮากุ จึงมีการใช้คำศัพท์บางคำที่ใช้กับปลาโคฮากุมาใช้กับปลาซันเก้ด้วย เช่น Maruten, Kuchibeni, Hanatsuki, และ Menka buri เป็นต้น
ส่วนการพิจารณาความสวยงามของสีดำบนตัวปลานั้นพิจารณาได้ดังนี้คือ สีดำจะต้องสนิท (ดำถ่าน) มีขอบที่คมชัดและวางตัวอย่างสมดุลย์ ทั้งด้านซ้าย-ขวาของตัวปลา หรือตอนส่วนหัวต้องสมดุลย์กันจรดส่วนหางลักษณะการวางตัวที่ดีสีดำนั้น ควรจะวางตัวลงบนพื้นขาว เรียกว่า Tsubo Sumi การที่สีดำวางตัวลงบนสีแดงนั้น จะทำให้ความโดดเด่นของสีดำดูด้อยลงไป โดยเราเรียกสีดำที่วางตัวลงบนสีแดงว่า “Kasane Sumi” นอกจากนี้แล้วสีดำควรจะปรากฏขึ้นเป็นพื้นใหญ่ๆ ชัดๆ จะดีกว่าปรากฏขึ้นเป็นเม็ดเล็กๆ แบบลักษณะของขี้แมลงวัน
ปลาซันเก้ที่ดีนั้น ในบริเวณส่วนหัวของปลาจะต้องไม่มีสีดำเลย ในขณะเดียวกันครีบหน้าและหางก็ไม่ควรมีสีแดงอยู่เลย แต่ควรจะมีสีดำเป็นเส้นๆ อยู่ไม่เกิน 3 เส้น/ครีบ การมีสีดำจำนวนมากเส้นเกินไป กลับจะไม่เป็นผลดีต่อความสวยงามของปลาตัวนั้นเพราะหากเทียบกันแล้ว ปลาที่มีส่วนครีบหน้าและหางเป็นสีขาวล้วน ไม่มีสีดำเป็นเส้นๆ เลย จะดูสวยงามกว่าปลาที่มีจำนวนเส้นสีดำในบริเวณดังกล่าวมากเกินไปเสียด้วยซ้ำ ความสนุกของการเลือกซื้อปลาสายพันธุ์นี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ความไม่คงที่ของสีดำในตัวปลาที่ยังอายุน้อย ต่ำกว่า 2 ปี (Tosai) จะยังมีสีดำส่วนหนึ่ง ที่ปรากฏขึ้นหลังจากเราเลี้ยงปลาตัวนั้นไปได้สักระยะหนึ่ง แต่จะไม่เกิดขึ้นกับปลาทุกตัว สีดำประเภทนี้เรียกว่า “Ato Sumi” ซึ่ง Ato Sumi นี้ จะมีส่วนทำให้ลูกปลาที่เราเลี้ยงไว้มีความสวยงามมากขึ้น หรือดูด้อยค่าลงไปก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสีดำที่ปรากฏขึ้นมา นักเลี้ยงปลาที่มีประสบการณ์บางท่านได้แนะนำ การเลือกลูกปลาที่มีเส้นสีดำชัดเจนในบริเวณครีบหน้าเข้าไว้ เพราะสิ่งนี้เป็นเครื่องแสดงว่าสีดำบนตัวปลาพัฒนาจนนิ่งแล้ว จุดสนใจอีกที่หนึ่ง ที่นักเลี้ยงหลายท่านใช้เป็นหลักในการเลือกคือ พื้นดำบริเวณไหล่ ถ้ามีวางบริเวณนั้นจะทำให้ปลาตัวนั้นดูสวยขึ้นอีกหลายเท่าเลยทีเดียว
Menkaburi Sanke ตัวนี้มี Sumi แบบ Tsubo Sumi เกือบทั้งตัว


Maruten Sanke ตัวด้านขวามือ จะมี Sumi ขนาดใหญ่ที่ซ้อนอยู่ใต้ผิว อย่างเห็นได้ชัด



3. โชวา ซันโชกุ /ซันเก้ (Showa Sanshoku / Showa Sanke)

โชวา ซันโชกุ / ซันเก้ (Showa Sanshoku / Showa Sankeปลาคาร์พสายพันธุ์ที่สาม เป็นสายพันธ์สุดท้ายที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Gosanke ซึ่งในกลุ่มนี้จะประกอบด้วยปลาคาร์พสายพันธุ์ โคฮากุ (Kohaku), ซันเก้ (Sanke) และ โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku) ความหมายของ "ซันโชกุ" และ "ซันเก้" นั้นเป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว ตั้งแต่ในหัวข้อของ ไทโช ซันเก้ ส่วนชื่อ "โชวา" ก็เป็นชื่อยุคสมัยการปกครอง ซึ่งปลาสายพันธ์นี้ได้ถูกผสมพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1927 (เพิ่งสิ้นยุคของไทโช เริ่มต้นยุคโชวา) ดังนั้นความหมายของชื่อปลาสายพันธ์นี้ก็คือปลา 3 สีแห่งยุคโชวา
สำหรับนักเลี้ยงบ้านเรานิยมเรียกว่า โชวา (Showa) นักเลี้ยงปลามือใหม่บางท่านอาจสับสนในการจำแนกแยกแยะระหว่าง ซันเก้ กับ โชวา ปลาสองสายพันธ์นี้มีอะไรที่แตกต่างกันพอสมควร หากจับหลักได้ก็จะแยกแยะได้ไม่ยาก คือ
ซันเก้ (Sanke) จะมีครีบหน้าสีขาวล้วน หรือสีดำในลักษณะเป็นเส้นๆ แต่ปลา โชวา จะต้องมีสีดำที่โคนครีบที่เรียกว่าMotoguroเป็นสีดำพื้นใหญ่คลุมโคนครีบหน้า บางครั้งปลา โชวา ตอนเล็กจะมีครีบหนาดำทั้งพื้นแต่ปลา โชวา ส่วนใหญ่พื้นสีดำจะค่อยๆ หดตัวลงไปรวมที่โคนครีบเมื่อโตขึ้น
ลักษณะของสีดำบนปลา ซันเก้ จะมีลักษณะค่อนข้างเป็นทรงกลม และโดยส่วนใหญ่จะพบว่าวางตัวอยู่เหนือเส้นประสาทข้างตัวของปลาขึ้นไป
แต่สำหรับปลา โชวา (Showa) นั้น ลักษณะของสีดำจะปรากฏขึ้นเป็นแถบกว้างและยาว การวางตัวเป็นแถบยาวนี้จะพาดลงถึงเส้นประสาทข้างตัวปลาและเลยลงไปถึงช่วงท้องของปลาเลยทีเดียว
ปลา ซันเก้ ที่ดีจะไม่มีสีดำในช่วงส่วนหัวของปลาเลย แต่ปลา โชวา ที่ดีเช่นกันจะมีสีดำบริเวณส่วนหัวของปลา เป็นสิ่งที่สำคัญมากและมีผลต่อความงามของปลาแต่ละตัวโดยตรง
การพิจารณาความสวยงามของปลา โชวา (Showa)
หลักเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณา สีแดง, สีขาว และสีดำบนตัวปลาก็เช่นเดียวกับปลา 2 สายพันธุ์แรก ถ้าพิจารณาความสวยงามของลวดลายของสีแดง (Hi patterns) ก็ใช้หลักการเดียวกันกับการพิจารณาลวดลายของปลาโคฮากุ (Kohaku) แต่การพิจารณาความสวยงามของลวดลายสีดำบนตัวปลานั้นแตกต่างกับปลา ซันเก้ โดยสิ้นเชิง คือส่วนหัวที่ดีของปลา โชวา จะต้องมีสีดำ โดยรูปแบบการวางตัวมาตรฐานของปลาสายพันธุ์นี้ที่นิยมกันมีอยู่ 3 รูปแบบคือ
1. แบบทะแยงผ่านหน้า (Menware)
2. แบบเป็นรูปตัว Y
3. แบบสุดท้ายรูปตัว V ในกรณีของแบบสุดท้าย (รูปตัว V) ปากของปลาควรจะมีสีดำจะทำให้ดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สีดำ (Sumi) บนตัวปลา โชวา นั้น สีดำจะปรากฏขึ้นแบบแถบกว้างและยาว พาดลงไปจนถึงช่วงท้องของปลา ดูคล้ายลายพรางของชุดทหาร ลวดลายที่จัดว่าสวยจะต้องดำสนิทขอบคมชัด ตลอดจนมีพื้นสีดำเรียบสมดุลย์ทั้งในตัวของสีดำเอง และดูลงตัวสวยงามเมื่อมองดูประกอบกับสีอื่นคือสีแดง และสีขาวบนตัวปลา
สีขาว (Shiroji) บนตัวปลานั้นแน่นอนควรจะเป็นสีขาวบริสุทธิ์ (ขาวหิมะ) โดยการพิจารณาคุณภาพของพื้นสีขาว ควรดูความหนาของพื้นสีขาวถ้ายิ่งหนามากยิ่งดี การสังเกตความหนาของพื้นสีขาว มีจุดสังเกตซึ้งเปรียบเทียบได้จากกระดาษ A4 สีขาว ถ้าเราเอาแผ่นกระดาษ A4 1 แผ่นส่องกับแสงไฟจะเห็นแสงทะลุออกมาได้ง่าย แต่ถ้าเรานำแผ่นกระดาษ A4 มาวางซ้อนเพิ่มอีก 1 แผ่นและทำเช่นเดิม จะเห็นว่าแสงที่ผ่านน้อยลง และเห็นความขาวของกระดาษมากขึ้น การวัดพื้นสีขาวบนตัวปลาที่ดีควรเทียบเท่ากระดาษขาววางซ้อนกัน 2 แผ่นขึ้นไป แต่พื้นที่สีขาวบนตัวปลาจะน้อยกว่าปลา ซันเก้ คือ จะมีอยู่ประมาณ 20-30% ของลำตัว แต่หากปลา โชวา ตัวไหน มีพื้นที่ขาวมากกว่าจำนวนเปอร์เซนต์ดังกล่าว จะเรียกว่า Kindai Showaหรือ Modern Showaซึ่งจะทำให้ดูคล้ายกับปลา ซันเก้ มากขึ้นกว่าปลา โชวา แบบมาตรฐานไปอีก
นอกจาก โชวา ซันโชกุ (Showa sanshoku) และ คินได โชวา (Kindai showa) แล้ว ยังมีปลาที่มีชื่อเรียกต่างออกไปที่ถือว่าอยู่ในกลุ่มโชวาดังนี้

ฮิ โชวา (Hi Showa) หมายถึง ปลาโชวาที่สีแดงยาวตลอดเป็นตอนเดียวตั้งแต่หัวไปจรดหาง ปลาโชวาลวดลายนี้ ไม่สู้เป็นที่นิยมนักในปัจจุบัน
ตันโจ โชวา (Tansho Showa) หมายถึงปลาโชวาที่มีสีแดงเฉพาะที่หัวเท่านั้นในบริเวณลำตัวมีเฉพาะสีขาวกับดำหลายสายพันธุ์นี้ถูกจัดให้เข้าประกวดในสายพันธุ์ตันโจ (Tancho)
นอกจากนี้ยังมี กินริน โชวา (Gin rin showa) ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Kinginrin และ Kage Showa, Kanoko Showa ที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มคาวาริโมโน(Kawarimono) ในการประกวด
เช่นเดียวกับปลา ซันเก้ ปลา โชวา เป็นปลาอีกสายพันธุ์หนึ่งซึ่งมีการพัฒนาของสีดำบนตัวปลาซึ่งก็เป็นเสน่ห์และความสนุกอีกแบบหนึ่งในการเลี้ยงปลาสายพันธุ์นี้
เราลองมาชมตัวอย่าง โชวา สายต่างๆ กันดูครับ

โชวา ลายบนหัวแบบ Menware


กินริน โชวา


โชวา ลายบนหัวแบบตัว V


คินได โชวา 


ตันโจ โชวา


ฮิ โชวา


4. อุจึริโมโนะ (Utsurimono)


คำว่าอุจึริโมโนะ (Utsurimono) มาจากภาษาญี่ปุ่น คำว่า Utsuri แปลความหมายตรงตัวได้ว่า "เคลื่อน" ซึ่งอาจหมายถึงสีดำที่เคลื่อนผ่านเส้นข้างตัวของปลาลงมาถึงช่วงท้องปลา ส่วนคำว่า Mono นั้น แปลว่า "ชนิด" ดังนั้น คำว่า อุจึริโมโนะ จึงหมายถึง ปลาที่มีลักษณะลวดลายของสีดำพาดลงมาเป็นแถบถึงช่วงท้องของปลา


                                จุดเด่นของปลาสายนี้อยู่ ที่สีดำ ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบยาวพาดตัวเลยเส้นประสาทข้างตัวของปลา (Lateral Line) ลงมาถึงช่วงท้องของปลา และลวดลายของสีดำที่พาดผ่านส่วนหัวของปลา ในลักษณะรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมี 3 รูปแบบมาตรฐาน ปลาในกลุ่มอุจึริสามารถมีชื่อเรียกแยกออกไปตามสีพื้นบนตัวปลา


Shiro Utsuri
   คือ ปลาที่มีลวดลายสีดำดังกล่าวบน พื้นสีขาว (คำว่า Shiro แปลว่า สีขาว)  ซึ่งปลาสายพันธุ์นี้ในเมืองไทยมักเรียก 
   กันสั้นๆ ว่าShiro
Hi Utsuri
คือ ปลาที่มีลวดลายสีดำดังกล่าวบนพื้นสีแดงอมส้ม จริงๆ แล้วคำว่า Hi หมายถึงสีแดงดังนั้น หากปลา มีเฉดสีพื้นเป็นสีส้มสดและใกล้เคียงกับสีแดงสดมาก เท่าไหร่ก็ถือว่ายิ่งมีสีพื้นที่ดี

Ki Utsuri
คือ ปลาอุจึริที่มีลวดลายดำบนพื้นสีเหลือง หาดูได้ยากในเมืองไทย

คุณลักษณะที่ดีของ Utsuri เรื่องคุณภาพของสีขาวและสีดำนั้น เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ของ Shiro Utsuri ถึงแม้ว่าปลาจะมีหุ่นหรือรูปร่างที่ดีเพียงใด มีลวดลายที่สวยเพียงใด แต่ถ้ามีผิวไม่ขาวสะอาด และไม่มีแต้มดำที่แน่นเงางาม ก็ไม่ถือว่าเป็นปลาที่ดี
เรื่องของความขาวสังเกตได้ง่าย โดยดูที่หัวปลาเป็นหลักก่อน เพราะปลานั้นส่วนใหญ่ถ้าจะเหลือง ก็เหลืองที่หัวก่อน ถ้าปลาตัวนั้นมีหัวที่ขาวสะอาดแล้วเป็นแน่ใจได้ว่าปลาตัวนั้นเป็นปลาที่ขาวแน่นอน และถ้าจะให้มั่นใจมากกว่านั้น ก็ให้ดูที่ใต้ท้องปลา และเพศปลาประกอบด้วยว่า ท้องขาวหรือไม่ และถ้าเป็นเพศเมียด้วยล่ะก็ยิ่งมีโอกาสที่ปลาตัวนั้นจะมีคุณภาพของสีขาวที่ดีได้ กรณีที่เป็น Hi Utsuri นั้น สีแดงที่เป็นพื้นก็ควรมีความเข้มเท่า ๆ กันทั้งตัว ไม่มีสีอื่นเจือปน
ในส่วนของแต้มสีดำ การเปลี่ยนแปลงของแต้มนั้นมี 3 ลักษณะคือ เพิ่มขึ้น ลดลงหรือไม่เปลี่ยนแปลง การคาดการณ์ว่า แต้มจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ไม่มีใครคาดการณ์ได้ ดังนั้นสิ่งที่พอจะทำได้ก็คือ ดูลักษณะและโอกาสที่เป็นไปได้ เช่น การพิจารณาการก่อเกิดของสีดำ โดยสังเกตจากพื้นดำที่ฝังอยู่ใต้ผิวเกล็ดแล้ว เราก็อนุมานว่า จุดที่มีดำลักษณะนี้อยู่ จุดนั้นแหละที่สีดำจะเกิดขึ้น ( แต่อย่างไรก็ตามสีดำที่ฝังอยู่อาจจะไม่เกิดขึ้น หรือขึ้นไม่เต็มพื้นที่ที่มีดำดังกล่าวฝังตัวอยู่ก็เป็นได้ )
เราจะทราบได้อย่างไรว่า ดำ นั้นจะเป็นดำที่ดีหรือที่เรียกว่า Sumi Power อันดับแรกเราต้องรู้จักสีดำของปลาในสายพันธุ์ Utsuri
  • ลักษณะที่ 1 สีดำที่มองดูแล้วคล้ายตาข่ายเป็นตาราง ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ดี
  • ลักษณะที่ 2 สีดำที่เข้มข้น แน่น หนา ลึก ลักษณะแบบนี้ถือว่าดีมาก กรณีปลาเล็กที่พื้นดำยังไม่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ ปลาจะมีจุดดำฝังอยู่ เราจะต้องเลือกปลาที่มีสีดำ แบบลักษณะดังกล่าวปรากฎให้เห็นบ้างแล้วในบางจุด โดยเฉพาะบริเวณลำตัว ซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยันได้ในระดับหนึ่งว่า ปลาตัวนั้น จะมีโอกาสที่มีสีดำแบบมีคุณภาพสูง


เรื่องของลวดลายและสัดส่วนของสีที่เหมาะสมShiro Utsuri ที่ดีนั้น พื้นดำต้องขึ้นเป็นปื้นยาว มีลักษณะเป็นแถบลากพาดตั้งแต่หลังลงมาที่ท้อง ไม่ใช่ขึ้นเป็นจุดหรือหย่อม และต้องมีลายสลับขาวดำเป็นสัดส่วนสวยงาม ซึ่งความสวยงามนี้ยังขึ้นกับความชอบส่วนบุคคลของผู้เลือกปลาอีกด้วย แต่ต้องคำนึงถึงมาตรฐานสากลประกอบ เรื่องของสัดส่วนระหว่างสีขาวและสีดำนั้น จากการสังเกตพบว่า ปลาที่ดีนั้น ส่วนมากจะ มีสัดส่วนสีขาวกับดำเป็นไปในทางที่จะมีพื้นขาวมากกว่าพื้นดำ เช่น ขาว 60% ดำ 40% แต่หากเป็นขาว 50% และดำ 50% ก็ไม่ผิดแต่ประการใด
ปลาส่วนใหญ่ที่ได้รับรางวัลจากงานประกวด มักจะเป็นปลาที่เปิดพื้นโชว์ความขาวบริเวณไหล่ค่อนข้างมาก การเลือกซื้อปลา Shiro Utsuri นั้น ควรเลือกปลาเพศเมียไว้ก่อน ด้วยโอกาสหรือความน่าจะเป็นที่เมื่อปลาเติบโตขึ้น จะมีคุณภาพสูงกว่าปลาตัวผู้ โดยเฉพาะเรื่องความขาวของผิว และรูปร่างของปลา
กรณีที่เลือกปลาในสายพันธุ์นี้ที่เป็น Hi Utsuri และ Ki Utsuri ก็สามารถนำหลักการพิจารณาพื้นสีดำและลวดลายไปใช้ได้เช่นกัน รวมถึงสัดส่วน ระหว่างสีดำและสีแดงสำหรับกรณี Hi Utsuri และระหว่างสีเหลืองและสีดำสำหรับกรณี Ki Utsuri โดยจะต้องเลือกปลาที่มีพื้นดำเป็นแถบ ไม่อยู่ในลักษณะขี้แมลงวันหรือเป็นจุดดำเล็กๆ ขึ้นอยู่บนผิว ซึ่งถือว่าไม่มีคุณภาพ
ปลาประเภท Ki Utsuri เป็นปลาแฟนซีคาร์พที่ไม่ค่อยมีผู้เพาะพันธุ์ ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ค่อยได้รับความนิยมเมื่อเปรียบเทียบกับ Shiro Utsuri ทำให้หาได้ค่อนข้างยาก แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเอง

5. อาซากิ (Asagi)


อาซากิ  ( Asagi )  นางฟ้าหุ้มตาข่าย
ก่อนหน้านั้น ผมได้นำเอาปลาคาร์พมาชำเรา เอ๊ย..ชำแหละตีแผ่ให้แฟนๆ ได้เห็นตับไตใส้พุงยันกระพุ้งก้น มาแล้วทั้งหมดก็ 4 ประเภท  อันมี
1.ราชันย์ขาวแดง โคฮากุ
2.เทพบุตรจุดดำ ซันเก้
3.ราชาหน้าสามสี โชว่า
4.จักรพรรดิลายดำ อูจึริโมโน
ทั้งสี่นี้จัดอยู่ในกลุ่ม  สี่ผู้ยิ่งใหญ่แห่งปลาคาร์พ  คราวนี้มาว่ากันต่อในกลุ่ม อาซากิ ซึ่งมี 4 ประเภทเหมือนกัน ประกอบด้วย
1.อาซากิ
2.ซูซุย
3.โกโรโมะ
4.โงชิกิ
เพื่อไม่ให้เป็นการเยิ่นเย้อกระบวนความ  ขอนำผู้อ่านที่เคารพเข้ามาทำความรู้จักกับเจ้าอาซากินางฟ้าหุ้มตาข่าย  หนึ่งในสี่ของกลุ่ม  ด้วยว่าอาซากิเป็นปลาที่สำคัญและมีบทบาทมากในกลุ่ม  เราจึงควรทำ
ความรู้จักกับมันก่อนครับ อันดับแรก  สงสัยไหมครับว่าทำไมถึงเอาชื่อ ” อาซากิ ” มาเป็นชื่อเรียกปลาคาร์พกลุ่มนี้อ่ะ..เป็นคำถามที่ดี  ตำตอบมีอย่างนี้ครับ ปลาคาร์พอื่นๆในกลุ่มนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ซูซุย,โกโร
โมะ,โงชิกิ  โดยต้นกำเนิดเทือกเถาเหล่ากอดั้งเดิมของมัน  ล้วนแต่สืบสายพันธุ์มาจากอาซากิ  เป็นลูกผสมของอาซากิ  เป็นปลาที่ถือกำเนิดมาจากอาซากิ  ถ้าเปรียบเป็นผู้ชายเจ้าอาซากิจัดเป็นจอมเจ้าชู้ตัวฉกาจ  ดู
ท่าทางแล้วมันเป็นพวกลุยดะฉะไม่เลือก  สาวๆ ไม่ควรอยู่ใกล้  ฉะนั้นอย่างที่บอก  ในเมื่อปลาทั้งหมดในกลุ่มล้วนสืบสายพันธุ์มาจากอาซากิ   ก็เลยเรียกปลากลุ่มนี้ว่ากลุ่ม” อาซากิ”  เรื่องของเรื่องมันก็มีที่มาที่ไป
ง่ายๆ ตื้นๆ ไม่ลึกลับซับซ้อนดังฉะนี้แลมีคำพูดว่า ” อาซากิ เป็นปลาคาร์พสายพันธุ์บริสุทธิ์ ” หมายความว่าอย่างไรเอ่ย คงพอได้ยินกันมาบ้างนะครับ  ที่ว่าอาซากิเป็นปลาคาร์พสายพันธุ์บริสุทธิ์   ต่างกับปลาคาร์พประ
เภทอื่น   เพราะว่าปลาคาร์พเกือบทุกประเภท  ที่มีลวดลายวิจิตรพิศดารปานผีวาด  อย่างที่เราเห็นกันอยู่นี้  โดยแท้ที่จริงแล้วที่ไปที่มาของมัน  เกิดจากการผสมข้ามกันไปไขว้กันมา  ระหว่างปลาคาร์พประเภท
ต่างๆ ด้วยกัน  บางประเภทผสมข้ามไปข้ามมาสี่ห้าร้อยตลบ  กว่าจะออกมาเป็นอย่างที่เห็นยกตัวอย่างให้ดูตัวนึง  เจ้าราชันย์ขาวแดง โคฮากุนี่แหละ  กว่าที่จะมาเป็นปลาที่มีฮิแพทเทินส์  มีชิโรจิ  อย่างทุกวันนี้   มันเริ่มต้นจากการผ่าเหล่าผ่ากอของปลาคาร์พสีกระดำกระด่างเหมือนหมา  แล้วก็ถูกนำไปไขว้กับปลาสีแดง,สีขาว,สีดำ,สีดำแก้มแดง,แดงจุดดำ  และอะไรต่อมิอะไรอีกบานเบอะ  เห็นมั้ยล่ะว่ากว่าจะมาเป็นปลาขาวแดง  ที่ไปที่มาของมันสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนกว่าที่คิด  ดีนะที่มันผสมข้ามกันไปไขว้กันมาระหว่างปลาคาร์พด้วยกัน  ถ้าเกิดไปผสมกับหมากับนก  ป่านนี้คงได้เห็นปลาคาร์พเห่าโฮ้งๆหรือไม่ก็คงได้เห็นปลาคาร์พบินได้กันมั่งล่ะครับท่านผู้แต่สำหรับเจ้าอาซากินั้นไม่เหมือนกับที่กล่าวมา  รายนี้เค้ามาแบบแปลกแหวกแนว  แต่เป็นแนวทื่อๆคือโดยดั้งเดิมแล้ว  เค้าเป็นปลาคาร์พโบร่ำโบราณ   ผู้สันทัดกรณีสันณิฐานว่ามันถือกำเนิดผ่าเหล่ามาจากมากอยโดยตรง ( มากอย  เป็นปลาคาร์พยุคแรกที่ผ่าเหล่ามาจากปลาไนสีดำ ) รูปลักษณ์ของอาซากิ  ที่ผ่าเหล่ามาจากมากอยในยุคแรก   กับอาซากิยุคนี้ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไรนัก   ยังรักษารูปแบบเดิมของมันไว้
อย่างคงเส้นคงวา  ฟังเค้าว่ามาอีกทีนะครับ  จริงเท็จประการใดไม่อาจรู้เพราะว่าเกิดไม่ทัน ที่มีแตกต่างไปจากเดิมบ้างก็เป็นความสวยงาม   เพราะว่าได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ดูดีดูจ๊าบอย่างต่อเนื่อง  เหมือนกับปลาคาร์พทุกประเภท  ที่ถูกพัฒนาให้สวยขึ้นอยู่ตลอดเวลาจวบจนทุกวันนี้ถึงตอนนี้คงเข้าใจกับคำกล่าวที่ว่า  อาซากิเป็นปลาคาร์พสายพันธุ์บริสุทธิ์นะครับ  ว่ามันเป็นปลาที่่ไม่ได้เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ไปมา  อย่างปลาคาร์พประเภทอื่น  สายพันธุ์ของมันคือการกำเนิดมากอยและผ่าเหล่าอย่างต่อเนื่องโดยตัวมันเอง  รูปแบบของมันก็คือรูปแบบเริ่มแรกที่ผ่าเหล่ามาจากมากอย  และก็ยังดำรงค์คงอยู่มาอยู่ถึงทุกวันนี้   ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรไปมากนัก
- รูปลักษณ์ของอาซากิ ที่ปรากฏในยุคแรกเริ่มจวบจนมาถึงยุคปัจจุบันจากในบันทึกได้ได้กล่าวไว้ว่า  ได้มีการพบเห็นอาซากิมานานกว่า 160 ปี ปัจจุบันนี้ก็ร่วมสองร้อยปีแล้วมั้ง  เชื่อกันว่าคนแรกที่พบเห็นอาซากิ  ตายไปแล้วเกิดใหม่สองรอบแล้ว แฮ่ะๆ พูดเล่น  อย่าซีเรียส
ดูจากระยะเวลาผมเดาเอาเองว่า น่าจะอยู่ในช่วงที่มีการผ่าเหล่า ( Mutant ) ของปลาคาร์พสีดำที่ให้กำเนิดโคฮากุในชั้นต้นโน่นแน่ะ  อย่างที่บอกไว้แต่แรกว่ามีการเดา เอ๊ย..สันนิษฐานว่า อาซากิเกิดจากการผ่าเหล่าของมากอย  ว่ากันว่ารูปแบบของการผ่าเหล่าในชั้นต้นนั้น  ได้ถือกำเนิดมากอยสีเทาดำที่มีหัวเป็นสีขาว ( หัวไม่มีสี ) ขึ้นมา  และต่อเนื่องมาอีกก็ได้กำเนิดกลายเป็นปลาหัวขาวที่มีโทนสีอ่อนจางลง  มองดูเป็นโทนสีฟ้าอมเทา  และต่อเนื่องมาจนถึงที่สุด  ที่มีความใกล้เคียงความเป็นอาซากิยุคปัจจุบันเข้าไปอีกคือ  ลักษณะสีของเกล็ดจะมีสีเข้มที่กลางเกล็ด  รอบนอกเกล็ดจะมีสีอ่อนกว่า  ด้วยลักษณะของเกล็ดอย่างนี้ทำให้มองดูคล้ายเหมือนมีตาข่ายร่างแหมาห่อคลุมตัวปลาไว้มาถึงตรงนี้ผมเพิ่งนึกได้ถึงฉายาที่ผมตั้งให้กับอาซากิว่า นางฟ้าหุ้มตาข่าย  มันก็มีที่มาจากโทนสีฟ้าเทากับร่างแหตาข่ายที่ตัวปลานี่แหละครับ  อ้อ..อีกเรื่องที่ผมลืมบอก “อาซากิ” ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงสีฟ้าอ่อน ชื่อ อาซากิ คงตั้งมาจากสีฟ้าที่ปรากฏบนตัวปลา ขอขยายความทำความเข้าใจเรื่องสีฟ้าของอาซากิหน่อยครับ  ตามชื่อหมายถึงปลาสีฟ้าอ่อน  แต่ใครจะมองเป็นสีอะไรก็แล้วแต่นะครับ  อย่าไปซีเรียส
เดี๋ยวจะมาแย้งว่า  อะไรไม่เห็นเป็นสีฟ้าเลย  ดูจากรูปประกอบเอาเองครับ จะมองเป็นสีฟ้า,สีเขียว,สีม่วงก็แล้วแต่สายตาท่านเถอะ  แต่ในเบื้องต้นผมขอใช้คำว่า สีฟ้าอมเทา ไปก่อนแล้วกันมาว่ากันต่อเรื่องการผ่าเหล่าของอาซากิครั้งสำคัญ   นั่นคือการถือกำเนิดของอาซากิที่แก้มมีสีแดงลักษณะการผ่าเหล่าที่มีการเกิดสีแดงที่แก้ม  ถ้าจำกันได้เหมือนกันกับโคฮากุนะครับ  ในชั้นแรกโคฮากุก็ถือกำเนิดมาจากปลาคาร์พสีดำ  ที่มีแก้มสีแดงเช่นกัน  อาจจะเป็นไปได้ที่ว่าการเกิดสีแดงที่แก้ม  เป็นพื้นฐานการผ่าเหล่าของปลาคาร์พสีดำ  อันนี้ผมสันนิษฐานเอาเองนะครับ  ในตำราไม่มีบอก  ฉะนั้นอย่าเชื่อผมมาก  ฟังหูไว้หูรูปแบบอาซากิที่พบเห็นทุกวันนี้  จะว่าไปก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก  จะมีก็ในส่วนของสีแดงจากเริ่มแรกสีแดงจะพบเห็นได้มากตรงบริเวณแก้ม  จากสาวน้อยแก้มแดงในวันนั้น ปัจจุบันนี้อาซากิจะมี
สีแดง ตั้งแต่แก้ม ครีบอก บริเวณใต้ท้องด้านข้างลำตัวยาวลอดไปจนถึงโคนหาง  และบางตัวยังมีสีแดงที่ครีบหลังด้วย   สีแดงที่กล่าวนี้เป็นอะไรที่สร้างความสวยงามให้กับอาซากิเป็นอย่างมาก   และก็เป็นอะไรที่สร้างปัญหาให้กับนักเลี้ยงเป็นอย่างมากเช่นกัน  ส่วนที่ว่าสร้างปัญหาอะไรนั้น  เอาไว้ว่ากันในหัวข้อการเลือก  ตอนนี้รู้ไว้แต่เพียงว่าสีแดงที่ว่านี้เป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาซากิ ลักษณะเด่นของอาซากิในยุคปัจจุบันอีกอย่างนึง  เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก  ถึงขั้น ต้องซีเรียสแบบสุดๆ ก็คือ ฟูกูริน  คำนี้ท่องให้ขึ้นใจเลยนะครับมันมีบทบาทมากๆ สำหรับอาซากิ  ฟูกูรินในความหมายของปลาคาร์พ  คือเนื้อเยื่อที่คลุมระหว่างเกล็ด  ถ้าแปลกันตรงๆ ฟูกูริน  ก็คือเกล็ดตาข่ายหรือเกล็ดร่างแห  นักเลี้ยงบ้านเราเรียกว่า”ตาข่าย” แต่บางท่านก็เรียกทับศัพท์ไปเลยว่าฟูกูริน  สาเหตุที่เรียกว่าเกล็ดตาข่าย  ก็ด้วยว่ารูปลักษณ์ของเจ้าเนื้อเยื่อที่ขึ้นครอบเกล็ด  แต่ละเกล็ดอย่างต่อเนื่องกัน  ประกอบมันมีสีที่อ่อนกว่าสีของเกล็ด  มันก็เลยมองเหมือนมีตาข่ายมาห่อหุ้มตัวปลา  ฟูกูรินเป็นลักษณะที่สืบทอดมาจากปลาคาร์พมากอยดั้งเดิม  ถ้าอ่านเรื่องซันเก้มาก่อนหน้า  คงจำได้ว่าผมเคยกล่าวถึงซันเก้ของ
ของฟาร์มมัตซึโนสุเกะ  ซันเก้ของฟาร์มนี้จะมีฟูกูรินเหมือนกัน  ก็เพราะว่าเขาเอาไปบรีดร่วมกับมากอยนี่แหละครับอาซากิที่พบเห็นในยุคก่อนฟูกูรินจะยังไม่โดดเด่นมองเห็นชัดเจน  เท่ากับอาซากิยุคปัจจุบันนี้ หรืออาจกล่าวได้ว่าไม่มีเลยก็ได้   เกล็ดจะดูเหมือนกับเกล็ดปลาคาร์พทั่วไป   ที่พอจะมองดูเป็นเหมือนร่างแหนั้นเกิดจากความต่างของขอบเกล็ดที่สีอ่อนกว่าสีภายในเกล็ด  ฟูกูรินถือเป็นจุดขายของอาซากิ  เป็นเรื่องสำคัญเป็นเรื่องซีเรียส  ฟาร์มที่ทำการผลิตอาซากิต่างก็พยายามพัฒนาเรื่องฟูกูรินให้ดีที่สุด  ถ้าเพาะออกมาแล้วไม่มีฟูกูริน  บอกได้คำเดียวว่า เซ็งมะก้องด้อง..
ชนิดย่อยของอาซากิ
โดยดั้งเดิมไม่มีการแบ่งแยกชนิดของอาซากิ  อาซากิจะเป็นชื่อเรียกปลาที่มีโทนสีฟ้าอมเทา ดำหรือ น้ำเงิน ตามมุมมองของแต่ละคน  มีเกล็ดเนื้อเยื่อฟูกูริน  มีสีแดงที่ข้างแก้มข้างลำตัวตลอดไปจนถึงหาง ที่ครีบอก  สีแดงที่ครีบอก มีชื่อเรียกว่าหลายชื่อ เช่น โมโตอะกา,โมโตฮิ,ซูซุยเบเระ,ซูซุยฮิเระ ผมขอเรียกว่า โมโตอะกา นะครับมันดูคล้องกันดีกับ โมโตกูโร่ สีดำที่ครีบอกของปลาอูจึริโม   อาซากิบางตัวก็มีสีแดงที่ครีบหลังด้วย  แต่ในยุคที่มีการพัฒนาสายพันธุ์อาซากิอย่างมากนั้น  ก็มีส่วนแตกต่างของอาซากิบางอย่างให้เห็น  เช่นบางตัวก็มีสีอ่อน สีเข้ม บางตัวมีฟูกูรินเล็ก บางตัวฟูกูรินใหญ่ หรือบางตัวมีฟูกูริน บางตัวไม่มีสันนิษฐานโดยเบื้องต้นว่า  เกิดจากอาซากิที่ถือกำเนิดมาจากมากอยต่างชนิดกัน  ซึ่งแม้แต่มากอยยุคแรก ที่ผ่าเหล่ามาจากปลาไนสีดำเอง  ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องของสีสันและรูปแบบ  มากอยที่รู้จักกันในยุค แรกนั้นแบ่งหลักๆ ออกเป็นสามชนิด คือ เทสึมากอย,โดโระมากอย,อาซากิมากอย อาซากิที่สืบสายพันธุ์ต่อเนื่องมาจากมากอยต่างชนิด  จึงมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย  เท่าที่มีการพูดถึงกันก็มีอยู่เพียงไม่กี่ชนิด คือ คอนโจอาซากิ บางท่านเรียกคอนโจ้  เป็นชื่อเรียกอาซากิที่มีฟูกูรินขนาดเล็ก ผมหมายถึงเส้นตาข่ายรอบเกล็ดจะเส้นเล็ก  หรือจะพูดอีกแง่มุมนึงก็คือ  คอนโจอาซากิเป็นปลาที่มีสีดำภายในเกล็ดใหญ่เกือบเต็ม เกล็ด  ทำให้ฟูกูรินดูมีขนาดเล็ก  ด้วยลักษณะสีดำเกือบเต็มเกล็ด  ฟูกูรินขนาดเล็กจึงทำให้อาซากิชนิดนี้มีสีเข้มจัดกว่าอาซากิชนิดอื่นๆ บางท่านให้คำนิยามคอนโจอาซากิว่าเป็นอาซากิที่มีสีน้ำเงินเข้ม  เรื่องสีแล้ว แต่มุมมองของแต่ละคนนะครับบางอย่าไปซีเรียส  มีการกล่าวถึงต้นกำเนิดของคอนโจ้ว่า  เป็นอาซากิที่สืบ สายมาทาง เทสึมากอย  จะจริงเท็จอย่างไรก็ไม่ทราบได้จำขี้ปากเขามาพูดครับ นารูมิอาซากิ ชื่อนี้มีที่มาจากคำว่า นารูมิ ชิโบริ  เป็นผ้าชนิดหนึ่งผลิตกันมากในเมืองนารูมิ จังหวัด หวัดไอชิ  คือเขาเปรียบเทียบว่า โทนสี และลวดลายตาข่ายอาซากิที่กำลังกล่าวถึง  มองดูเหมือนกับผ้าชนิด นี้  ก็เรียกชื่อตามนั้น  ข้อแตกต่างระหว่างนารูมิกับคอนโจ จะเป็นอะไรที่ตรงข้ามกัน  คอนโจฟูกูรินเล็กนา รูมิฟูกูรินจะใหญ่กว่า คอนโจ้สีเข้มส่วนนารูมิสีจะอ่อนกว่า  สาเหตุที่ที่นารูมิมีสีอ่อนก็เพราะว่าสีดำที่เกล็ด มีขนาดเล็กนั่นเองครับ  ทำให้ดูรวมๆ แล้วสีจะดูอ่อน และขณะเดียวกันก็จะทำให้ฟูกูรินดูใหญ่ตามไปด้วย มิโซอาซากิ บางท่านเรียก มิซู,มิสุ อย่างเดียวกันแต่ต่างกันที่สำเนียง  นอกจากจะเรียกว่ามิโซแล้วยัง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า อาเกบิ  นักเลี้ยงบ้านเราเรียกติดปากว่า อากาบิ   เจ้าอากาบิหรือมิโซ  หมายถึงอาซากิที่มี โทนสีอ่อนมาก  อ่อนกว่าคอนโจ้และนารูมิอีก  เรียกว่าอ่อนจืดจาง  อ่อนจืดชืดจืด  แบบแกงจืดไม่ใส่น้ำปลาทำนองนั้น  มิโซอาซากิจะมีทั้งแบบที่มีฟูกูรินใหญ่เหมือนนารูมิ  และแบบฟูกูรินเล็กแบบคอนโจ  แต่ที่พบเห็นได้บ่อยมากพอๆ กับปลาช่อนในตลาดสด  จะเป็นแบบที่มีฟูกูรินใหญ่สไตล์นารูมิ  ถ้าพูดย้อนกลับไป  ก็ต้องบอกว่าเพราะว่าฟูกูรินมันใหญ่  มันจึงทำให้ปลามีโทนสีจางอ่อน  แต่จะว่าไปอีกทีถึงแม้ว่าจะเป็นมิโซ ที่มีฟูกูรินเล็กสไตล์คอนโจ   แต่ถ้าสีดำหรือสีฟ้าในเกล็ดมีน้อยหรือสีอ่อนมาก  มันก็ทำให้กลายเป็นปลาที่มี
สีอ่อนจางก็เรียกมิโซอาซากิเหมือนกัน  สรุปรวบยอดแล้วมิโซอาซากิเค้าดูจากโทนสีโดยรวม ไม่ใช่ดูจากฟู
กูรินครับ เรื่องสำคัญที่ผมอยากจะกราบแทบเท้าเรียนให้ทราบคือ  นักเลี้ยงในบ้านเรามักจะเข้าใจไขว้เขว เป๋ ไม่ตรงทาง  จะเนื่องด้วยเจตนา  หรือว่ามึนส์โดยธรรมชาติก็อยากที่จะเดาได้  คือชอบแกล้งเข้าใจว่ามิโซอาซากิ  คืออาซากิที่มีสีขาวล้วน  ไม่มีสีแดงปรากฏให้เห็น  อาซากิที่ไม่มีสีแดงเลยไม่ว่าจะที่แก้ม ที่ครีบที่ใต้ท้องข้างลำตัว ที่ครีบหลัง  ถือว่าเป็นการผิดลักษณะของอาซากิที่ดี  อาซากิขาวล้วนๆ อย่างที่ว่าถือเป็นปลาด้อย  การเพาะอาซากิแต่ละครั้งในครอกๆ นึงจะมีปลาอย่างนี้เยอะครับ  จะเป็นปลาที่ถูกคัดทิ้งเสียตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ  มันไม่ใช่ปลาวิเศษวิโสอย่างที่คิด  อาจจะเคยมีอาซากิที่ไม่มีสีแดงเลย ประกวดแล้วได้รางวัลได้รางวัล  นั่นเป็นบางตัวหนึ่งในล้านเท่านั้น  จะเอามาเป็นบรรทัดฐานอะไรไม่ได้  อาจจะด้วยว่าเจ้าตัวนั้น  มีตาข่ายสวยงามเป็นพิเศษ  หรืออาเป็นเพราะว่าในงานนั้นมีมันเข้าร่วมชิงชัยอยู่ตัวเดียวก็ไม่รู้ แฮ่ะๆ เน้นย้ำอีกครั้ง  อาซากิที่ไม่มีแพทเทินส์สีแดงถือว่าผิดกฏกติกามารยาทของอาซากิที่ดีครับ ทาคิอาซากิ อันนี้อธิบายไม่ยาก  หมายถึงอาซากิที่มีแถบสีขาว  คั่นกลางระหว่างสันหลังกับใต้ท้อง ที่จริงถ้าบอกว่าคั่นกลางระหว่างตาข่ายฟูกูรินกับสีแดง  น่าจะนึกภาพออกได้ง่ายกว่านะครับ  แต่ถ้านึกไม่ออกก็ไม่เป็นไร   ดูจากภาพวาดที่ผมนำมาประกอบ   เห็นมั้ยครับจากสันหลังลงมาถึงกลางตัวจะมีเหมือน แถบสีขาวมันคั่นกลาง  ก่อนที่จะไปถึงสีแดงข้างลำตัวและใต้ท้อง  ขอแจงสี่เบี้ยเรื่องเจ้าแถบสีขาวนี้อีกนิด ที่จริงแล้วมันไม่ใช่แถบสีขาวสีเขียวอะไรมาจากไหนกรอกครับ  มันก็ไอ้แค่ตรงส่วนที่มีฟูกูรินและสีเทาฟ้า น้อยกว่าตรงสันหลังเท่านั้นเองรูปแบบของทาคิอาซากิก็คือ   อาซากิที่มีเกล็ดตาข่ายฟูกูรินตั้งแต่ส่วนบนสันหลังชัดเจน   จนมาถึง กลางลำตัวก็จะจางลงไป  เช่นเดียวกับโทนสีฟ้าเทาส่วนบนสันหลังจะเข้ม  และจะอ่อนลงที่กลางตัวก่อนที่จะถึงแถบสีแดง  มันจึงทำให้เหมือนมีสีขาวมาคั่นอย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้น  ย้อนยุคกลับไปอาซากิในยุคแรก ที่พบเห็นที่เกิดจากการผ่าหล่าโดยธรรมชาติ  จะมีเกล็ดสม่ำเสมอตั้งแต่สันหลังจนถึงใต้ท้อง  ฟูกูรินไม่ได้ชัดเจนอย่างกับอาซากิในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นอาซากิที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ดูสวยงามมากกว่าแต่ก่อนอาซากิในยุคนี้ก็คืออาซากิที่คงรูปแบบของทาคิอาซากิ  โทนสีเข้มด้านบน กลางตัวสีอ่อน  มีสีแดงที่ข้างลำตัวและใต้ท้อง เป็นแนวยาวตั้งแต่แก้มถึงโคนหาง  ครีบอกมีสีแดง  บางตัวก็มีสีแดงที่ครีบหลังด้วยเท่าที่ทราบมาในประเทศญี่ปุ่นฟาร์มที่ทำการเพาะอาซากิ  ก็ไม่ได้คำนึงถึงว่าต้องเป็นอาซากิสายโน้นสายนี้ทั้งหมดทั้งสิ้นจะมาในแนวทางเดียวคือ  ทำอย่างไรที่จะให้ตาข่ายฟูกูรินโดดเด่นคมชัด  ตัดกับสีฟ้าเทาให้มากที่สุด  และก็ให้สีแดงมีในส่วนที่ควรมีไม่ขึ้นเลอะเปรอะเปื้อนไปหมด  
 


6. ซูซุย (Shusui)




 ปลาในกลุ่มอาซากิประเภทต่อไปที่นำมาเสนอนี้  มีนามกรตามท้องเรื่องว่า ซูซุยหรือบางท่านเรียกว่า ชูซุยก็ไม่ว่ากัน  เอากันตามถนัดปากครับเจ้าชูหรือซูซุยจัดเป็นฝาแฝด  พี่น้องท้องเดียวกันกับเจ้าอาซากิ  ทำไมถึงถึงพูดอย่างนั้นล่ะ?  สาเหตุเพราะว่ามันทั้งสอง  มีรูปแบบลักษณะหลายๆ อย่าง  ละม้ายคล้ายคลึงใกล้เคียงกันมากๆ สิ่งที่แตกต่างเพียงอย่างเดียวระหว่างอาซากิกับซูซุย  ที่มองเห็นจากภายนอกคืออาซากิที่มีเกล็ดทั้งตัว  ส่วนซูซุยมีเกล็ดบางส่วน  ตรงบริเวณสันหลังกับบริเวณข้างลำตัว  พี่ไทยเรียกทับศัพท์กันว่า ด๊อยส์ ( Doitsu )ก่อนที่จะกล่าวซูซุยในเรื่องต่างๆ ผมขอพาท่านผู้อ่านเข้ามาทำความรู้จักประวัติความเป็นมาเสียก่อน- ที่ไปที่มา ต้นกำเนิดของ ซูซุยตามบันทึกปลาคาร์พที่ผมไปเสาะหามานี้  ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นไปเป็นมามาของเจ้านี่ไว้ว่า ซูซุยตัวแรกที่ถือกำเนิดลืมตามมาดูโลกบูดๆ เบี้ยวๆ ใบนี้  เกิดมาจากฝีมือการเพาะพันธุ์ของท่าน  ศาสตราจารย์คิชิโกโร่อากิยาม่า  แห่งสถาบันประมงแห่งชาติญี่ปุ่นท่านศาสตราจารย์คิชิโกโร่ผู้นี้  เป็นผู้ที่ให้กำเนิดซูซุยด้วยตัวของท่านเอง แฮ่ะๆ พูดเล่นครับ  ขืนเป็นอย่างนั้นจริงอุบาทว์ตายชัก   ท่านได้ทำการเพาะพันธุ์มันขึ้นมาด้วยหนึ่งสมองกับสองมือ   บวกความเฮงอีกนิดหน่อยวิธีการนั้นไม่ได้พิสดารพันลึกเกินนึกเกินจินตนาการ  ท่านเพียงแค่นำเอาปลาคาร์พต่างประเภท  ระหว่างอาซากิข้ามห้วยมาผสมกับปลาคาร์พสายพันธุ์เยอรมัน  ที่นักเลี้ยงบ้านเราเรียกว่า ด๊อยส์”  ญี่ปุ่นออกเสียงกว่า  ด๊อยสุหรือ ด๊อยสึ ประมาณนี้ผลของการโรมรันพันตู  ระหว่างลูกหลานฮิตเลอร์กับลูกพระอาทิตย์ในครั้งนั้น ได้ถือกำเนิดปลาคาร์พสายพันธุ์ใหม่เอี่ยมอ่อง  ถอดแบบลอกเลียนจากปลาที่ให้กำเนิดมันทั้งสองมาอย่างละครึ่ง   ส่วนนึงนั้นคงไว้ซึ่งความเป็นปลาด๊อยส์  คือมีเกล็ดเฉพาะที่สันหลังกับบริเวณข้างลำตัวเท่านั้น   ส่วนสีฟ้าอมเทาและลวดลายสีแดง  ถอดแบบมาจากอาซากิเป๊ะเด๊ะเลยละครับ  ท่านผู้อ่านที่เคารพ- รูปแบบลักษณะทั่วไป ของเจ้าซูซุยรูปแบบลักษณะเด่นๆ ที่มองปุ๊บเป็นอันรู้ปั๊บว่านี่คือเจ้าซูซุย   สิ่งแรกที่ต้องกล่าวถึงคือ   ซูซุยเป็นปลาอาภัพเกล็ด   ไม่ได้มีเกล็ดห่อ หุ้มเต็มตัวเหมือนดังปลาคาร์พทั่วไป   เกล็ดที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นช่างหรอมแหรมจิ๊บจ๊อยน้อยเสียเหลือเกิน   เปรียบประดุจดั่งยาจกผู้อาภัพอับโชคยากไร้อาภรณ์ห่อเรือนกาย   หรือไม่ก็บุรุษหัวล้านล้านกระบาลใสไร้เกศาปกคลุม    อีกทั้งเกล็ดที่มีอยู่อย่างกระจ้อยร่อย   ดันยังผ่าเหล่าผ่ากอแปลกประหลาดพิลึกกึกกือ  ไม่เหมือนกับชาวบ้านชาวช่องเค้า อีก  อา..ช่างอาภัพซ้ำซากซ้ำซ้อนอะไรเช่นนี้เกล็ดอันประหลาดพิศดารนี้   เป็นมรดกตกทอดที่มันได้รับมาจากจากปลาด๊อยส์อย่างที่กล่าวมา  อ่ะ..เกือบลืมพูดถึงลักษณะเกล็ดของปลาด๊อยส์  โดยหลักๆ แล้วมีอยู่ 2 รูปแบบ  1.มีเฉพาะที่สันหลังกับข้างลำตัว 2.ไม่มีเลยหรือมีก็น้อยมากถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็น  เหมือนกับปลาดุกปลาไหลประมาณนั้นซูซุยเป็นปลาด๊อยส์ที่มีเกล็ดเฉพาะที่สันหลังกับที่ข้างลำตัว  เกล็ดที่สันหลังเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ เป็นสิ่งที่ทำให้ซูซุยโดดเด่น  แปลกแหวกแนวกิ๊บเก๋ไฉไลพราวเสน่ห์แปลกตากว่าปลาคาร์พอื่นๆ ฉะนั้นจึงต้องให้ความคัญกับเกล็ดสันหลังนี้เป็นพิเศษ   โดยทั่วไปเกล็ดที่สันหลังจะมีสองแถวซ้ายขวา  เรียงชิดติดกันเป็นคู่ๆ โดยเริ่มต้นตั้งแต่โคนหัวไปจนถึงโคนหางลักษณะเกล็ดสันหลังที่ดีของซูซุย  เกล็ดทั้งซ้าย ขวาต้องเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสม่ำเสมอ  ครบถ้วนบริบูรณ์ไม่ขาดแหว่งเว้าไม่เท่ากัน   ต้องคมเข้มดำจัดชัดเจน โดดเด่นสะดุดตา  ขนาดของเกล็ดที่สันหลังจะมีความแตกต่างกับเกล็ดปลาอื่นในเรื่องขนาด   เกล็ดสันหลังซูซุยจะไซส์ XL  ไม่เหมือนกับโคฮากุ,ซันเก้ นะครับกรุณาดูจากรูปประกอบ  ซูซุยที่มีเกล็ดสันหลังขนาดใหญ่คมเข้มชัดเจน   เรียงตัวเป็นระเบียบเป็นปลาที่มีคุณค่าตรง กันข้ามกับเกล็ดข้างลำตัว  ซึ่งดูไม่ค่อยมีบทบาทไม่ได้รับความสนใจจากนักเลี้ยงเท่าใดนัก   เกล็ดข้างลำตัวจะเป็นเกล็ดอ่อน ไม่แข็งเท่าเกล็ดสันหลัง  เรียงตัวเป็นแถวยาวตามแนวลำตัว  เกล็ดตรงนี้ถ้ายิ่งเล็กหรือมีน้อยจนมองแทบไม่เห็น  จะเป็นเรื่องดีเลิศประเสริฐศรีอย่างยิ่ง  ตรงกันข้ามกับเกล็ดสันหลังถ้าไม่มีถึงกับเจ๊งกะบ๊งเชียวนะครับใครที่เคยเลี้ยงซูซุยจะรู้ว่าถ้าเกล็ดข้างลำตัวมีขนาดใหญ่และเยอะเกิน  เป็นเรื่องไม่ดี  รายละเอียดตรงนี้เอาไว้ว่ากันในเรื่องการเลือกปลาอีกทีลักษณะพื้นฐานอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของซูซุยอีกอย่างคือ  สีแดงหรือฮิแพทเทินส์   ในฉบับก่อนโน้นผมได้พูดถึงสีแดงของฮิอูจึริ   ว่าไม่เหมือนกับสีแดงของโคฮากุ   ของซูซุยเองก็เหมือนกันมีลักษณะเฉพาะตัวไม่ซ้ำแบบใคร  ไม่แดงแป๊ดแสบทรวงแบบโคฮากุ,โชว่า,ซันเก้  สีแดงของซูซุยจะออกไปทางแดงอมส้มนวลๆ ดูรูปประกอบแดงแบบนั้นแหละ  ผมไม่รู้จะบรรยายยังไงดี   ดูแล้วมันไม่เหมือนกับสีแดงโคฮากุใช่มั้ยครับ  หรือท่านผู้อ่านมองแล้วเหมือน  เอ..ถ้าอย่างนั้นผมก็ตาถั่วอยู่คนเดียวสิครับเนี่ยซูซุยที่ดีควรมีสีแดงแบบนี้  เป็นสีแท้ๆ ของซูซุย   ถ้าไม่ใช่แดงแบบนี้ถือเป็นของเทียมทำเลียนแบบ  สีแดงโทนนี้แหละที่นักเพาะพันธุ์พยายยามคงลักษณะไว้  มันทำให้ซูซุยมีความโดดเด่นเมื่อว่ายรวมกับปลาอื่นๆในบ่อถ้ามันมีสีแดงเหมือนโคฮากุ  ผมว่ามันจะดูเป็นอะไรที่ซ้ำซ้อน  คงขาดเสน่ห์ลงไปถนัดตาเลยทีเดียวเชียวจากลักษณะที่ผมสาธยายมา  ดูจากรูประกอบครับ   เจ้าคาร์พประเภทใหม่นี้เป็นอะไรที่โดนใจนักเลี้ยงปลาคาร์พอย่างจัง  วัยรุ่นเค้าบอกว่าโดนอย่างแรง  คือมันเป็นอะไรที่งามหยดย้อยหยาดเยิ้ม  เป็นที่กล่าวขวัญของผู้ที่ได้พบประสพเจอ  ส่งผลให้ปลาคาร์พที่ท่านศาสตราจารย์คิชิโกโร่ลงทุนผสมพันธุ์เอง  เอ๊ย..เพาะขึ้นมา  โด่งดังเปรี้ยงปร้าง  อย่างกับจุดพลุส่งตูดขึ้นสวรรค์เชียวเลยน่ะครับด้วยอานิสงฆ์ผลบุญในครั้งนั้นส่งผลให้ชื่อเสียงของท่านศาสตราจารย์   ดังกระฉ่อนพุ่งกระฉูดระบือลือไกลไปเจ็ดย่านน้ำกับอีกสามลำแคว   อย่างคำที่ว่าไว้  คนจะดังต่อให้เอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่   และตามธรรมเนียมที่พึงปฏิบัติมาช้านาน  นักเลี้ยงชาวญี่ปุ่นจึงได้เรียกชื่อเจ้าปลาคาร์พชนิดใหม่นี้ว่า ซูซุย”  หรือที่บางท่านเรียกชูซุย”  เพื่อเป็นเกียรติประวัติให้กับท่านศาสตราจารย์คิชิโกโร่  อากิยาม่า  โดยนำเอาคำว่าชู (Shu) ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำว่า อะกิ”  ย่อมาจากคำว่า  อากิยาม่า  นามสกุลของท่านศาสตราจารย์  รวมกับคำว่า ซุย (Sui) ซึ่งมีความหมายว่าสีฟ้าน้ำเงินของอาซากิ  ซึ่งเป็นสีเดียวกับซูซุยนั่นเอง   เรื่องของเรื่องมันก็มีที่มาที่ไป  ดังฉะนี้แลสาธุชน..- ทำไมถึงชอบพูดว่า  อาซากิกับซูซุยเป็นฝาแฝดหรือพี่น้องคลานตามกันมานักนะ..อ่ะ..คำถามนี้มีคำตอบ  มาว่ากันเรื่องฮิแพทเทินส์สีแดงก่อน  เจ้าอาซากินี่ผมพูดเน้นย้ำแล้วย้ำอีกว่า อาซากิที่ดีจะต้องมีรูปแบบฮิแพทเทินส์   ตั้งแต่แก้มวิ่งผ่านยาวข้างลำตัวและใต้ท้องตลอดไปถึงโคนหาง  ครีบอกต้องมีสีแดงที่เรียกว่าโมโตอะกาด้วยแล้วไอ้ที่พูดมาทั้งหมดนี่ตรงไหนที่ซูซุยไม่มีล่ะครับ  ซูซุยก็มีสีแดงที่ข้างแก้มข้างลำตัวไปจนถึงโคนหางเหมือนกัน  ต่างกันก็เพียงแต่รูปแบบ  อาซากิจะนิยมสีแดงที่ข้างลำตัวใต้ท้องไม่สูงขึ้นมาด้านบนมากนัก  ตรงนี้ซูซุยเปิดกว้างกว่าอาจจะมีสีแดงขึ้นมาถึงสันหลังเลยก็ได้  มีหลายรูปแบบครับ  โมโตอะกาเจ้าซูซุยก็มีเหมือนกันอาซากิกิบางตัวมีสีแดงที่ครีบหลังซูซุยบางตัวก็มี   อาซากิมีสีพื้นเป็นสีฟ้าซูซุยก็ใช่ว่ามีสีพื้นเป็นสีม่วงซะที่ไหนเล่า  สีฟ้าเหมือนกันเด๊ะ  มีอะไรอีกล่ะที่อาซากิมีแล้วซูซุยไม่มีวานบอก  เห็นมั้ยล่ะ..ว่าที่กล่าวมาทั้งหมด  ซูซุยมีเหมือนกับอาซากิหมด  อย่างกับคู่แฝดท็อป-ไทด์, ฝันโด่-ฝันเด่  เอ๊ย.. ฝันดี-ฝันเด่นแน่ะข้อแตกต่างระหว่างซูซุยกับอาซากิอย่างเดียวที่เห็นคือ  อาซากิมีเกล็ดแบบฟูกูริน  ส่วนเจ้าซูซุยมีเกล็ดแบบด๊อยส์แค่นั้นเอง  ในยุคก่อนยังมีนักเลี้ยงเรียกซูซุยว่าอาซากิด๊อยส์เสียด้วยซ้ำไป  สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ประเด็นสำคัญคือ  อยากจะสื่อให้ทราบว่าสาเหตุที่ซูซุยกับอาซากิมีความคล้ายคลึงกันเพราะว่า   ซูซุยมีต้นกำเนิดมาจากอาซากิ   ไม่ได้ให้มาเชื่อว่าปลาทั้งสองเป็นฝาแฝดกันจริงๆ นะครับ  บางสิ่งบางอย่างของอาซากิก็สามารถนำไปอ้างอิงกับซูซุยได้เหมือนกัน   อย่างการเลือกซื้อและเทคนิคการเลี้ยง  เป็นต้น- ชนิดย่อยของซูซุยที่คุ้นเคยพานพบประสบเจอได้บ่อยๆ หาซื้อได้ทั่วไป   แม้แต่ในร้านก๋วยเตี๋ยวใกล้บ้านท่าน  เห็นจะมีเพียงแค่ 3 ชนิดเท่านั้น   นอกเหนือจากนี้เป็นอะไรที่หาทำยาได้ยากอย่าไปสนใจดีกว่าครับ   3 ชนิดที่ว่านี้  มีรูปแบบลวดลายความสวยงาม   กิ๊บเก๋ไปคนละแบบคนละแนวคนละสไตล์  พูดให้เข้าใจง่ายก็คือสวยถูกใจโก๋ทั้ง 3 แบบแหละก่อนจะกล่าวถึงในรายละเอียดขอบอกมือใหม่หัดขับได้รับรู้  ในความเป็นจริงซูซุยไม่ใช่ปลาหายากหาเย็นแอบเช็คข้อมูลจากกองตรวจคนเข้าเมืองมาแล้วว่า  มีซูซุยจากญี่ปุ่นข้ามน้ำข้ามทะเลมาเมืองไทย   มากมายมหามหาศาลบานตะเถือกเกินกว่าจะคะเนนับ   และก็ยังซูซุยลูกหม้อสายเลือดกะเหรี่ยงเกิดในเมืองไทยอีกอักโขมโหฬารบานตะเกียงเช่นกัน  จนเดี๋ยวนี้กลายเป็นปลาโหลกิโลละบาทไปซะแล้ว   แต่ประทานโทษขอบอกซูซุยที่สวยงามตามตำรา   หายากยังกับงมเข็มในโอ่งมังกรมากด้วยปริมาณคุณภาพไม่ค่อยจะมี  ฉะนั้นแล้วไซร้ถ้าไปพานพบประสบเจอซูซุยงามๆ โครงสร้างแจ่มๆ  สีสันเจ็บปวดเร้าใจ   เกล็ดเรียงตัวเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างกับผ้าพับไว้  ขอให้รีบกระโดดใส่ทันที  อย่ามัวรีรอลีลาภิรมย์ใจ  ชักช้าเป็นโดนสุนัขคาบไปรับทานแน่มาเข้าเรื่องเข้าประเด็นกันดีกว่า ชนิดแรกที่จะแนะนำก็คงเป็นเจ้านี่ครับฟูไรซูซุย ฟังชื่อแล้วดูแปลกๆ ไม่คุ้นหูเลยใช่ไหมครับ  ใช่แล้วเพราะชื่อนี้เป็นชื่อที่ถูกลืมเป็นชื่อที่ไม่มีคนนิเรียก  ผมจำขี้ปากเพื่อนนักเลี้ยงชาวญี่ปุ่นมาอีกที  โดยทั่วไปนักเลี้ยงจะเรียกซูซุยชนิดนี้ว่า ซูซุย สั้นๆ เฉยๆ หรือจะบอกว่าเป็นซูซุยธรรมดาก็ได้  ลวดลายรูปแบบของเจ้าซูซุยชนิดนี้เบสิคมากๆ  คือจะมีฮิแพทเทิร์นใกล้เคียงกับอาซากิปลาต้นกำเนิดของมัน  มีโมโตอะกาที่ครีบอก  มีสีแดงที่แก้มเหมือนกัน  ส่วนสีแดงที่ลำตัวก็จะมีตั้งแต่ใต้ท้อง   แต่จะไม่ลามสูงขึ้นมาถึงสันหลัง   เริ่มต้นจากบริเวณหลังครีบอกไปถึงโคนหาง   และสีแดงที่โคนหางจะพาดข้ามเข้าถึงกัน   ว่ากันว่าแพททิร์นแบบนี้เป็นแพทเทิร์นของซูซุยที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่เริ่มแรก   ดูจากชื่อเต็มของมัน ฟูไรหมายถึงเก่าโบราณประมาณนี้  จากแพทเทิร์นที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าซูซุยชนิดนี้มีพื้นสีฟ้าในปริมาณมาก  จุดเด่นจุดขายของมันก็อยู่ตรงพื้นสีฟ้าที่สันหลังกลางตัวนี่แหละ  จึงมีคำพูดว่าฟูไรซูซุยเป็นปลาโชว์หลังฮานะซูซุย บางท่านเรียก ฮานาไ เรียก ฮาน่าก็มี   เอาเป็นว่าถ้าขึ้นต้นด้วยฮาให้เข้าใจว่าเป็นอย่างเดียวกัน   แต่ถ้าขึ้นต้นแล้วไม่ฮาอันนี้เรียกว่ามุขฝืดกร่อยสนิท  มีผลอย่างมากกับนักตลกบริโภค เจอปล่อยมุขแล้วแป้กงานนั้นอาจท้องกิ่ว  อับอายขายขี้หน้าประชาชีอีกต่างหาก   ฮานะในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงดอกไม้ ถ้าลองญี่ปุ่นตั้งสมญานามให้อย่างนี้รับรองว่าตัวจริงต้องสวยเช้งกะเด๊ะฮานะซูซุย คือซูซุยที่มีฮิแพทเทินส์คั่นกลางระหว่างสันหลังกับใต้ท้องอย่างชัดเจน  อันนี้เป็นคำนิยามของมัน   แต่ขอบอกว่าหายากมั่กๆ ที่พบเจอล้วนแต่เป็นฮานะที่ดูคลุมเคลือเคลือบแคลง  ฮิแพทเทินส์ไม่คั่นกลางชัดเจนอย่างนิยามว่า   จุดเด่นของฮานะไม่ได้อยู่ที่พื้นสีฟ้าบนสันหลังกลางตัว   ความสวยงามของมันคือความคมกริบของสีแดงที่คั่นกลางระหว่างตัว  ฮานะซูซุยจึงเป็นปลาที่โชว์ลายสีแดงต่างกับฟูไรซึ่งโชว์พื้นสีฟ้าลายสีแดงข้างตัวยิ่งคมกริบเป็นแนวสวยเหมือนกันทั้งซ้ายขวาเท่าใด  ก็ยิ่งเพิ่มเสน่ห์เพิ่มคุณค่าให้ได้มากเท่านั้น   แต่อย่างว่าของสวยหาไม่ง่ายเหมือนของขี้เหร่หรอกครับจะบอกให้  เหมือนผู้หญิงน่ะแหละ อุ๊บ..ปากเสีย  เอาแค่ว่าแถบสีแดงพอดูแล้วเป็นแนวนิดหน่อยเราก็เรียกว่าฮานะซูซุยแล้ว  ฮานะซูซุยบางตัวที่ประกวดได้รางวัล   แถบแนวสีแดงขาดตอนไม่ต่อเนื่อง   แถมลายทั้งสองข้างยังไม่เหมือนกันด้วยซ้ำไปปัจจุบันปลาอย่างที่ว่านี้ออกมาสู่ท้องตลาดเยอะมาก   นักเลี้ยงกับบอกว่าดูดีมีลูกเล่นมองแล้วไม่เบื่ออีกแน่ะผมเคยได้ยินคำกล่าวเกี่ยวกับฮานะซูซุย   เป็นคำเปรียบเทียบความงามของมันว่า  แถบสีแดงที่ข้างลำตัวเปรียบเสมือนแปลงดอกไม้  เกล็ดบนสันหลังเปรียบดังภูเขา  ส่วนสีฟ้านั้นเล่าก็งามดั่งทะเลสาบ  ภูเขาดอกไม้ล้อมรอบด้วยทะเลสาบสีฟ้า  อา..ฟังแล้วคลิ้มตาปริบๆ  ถ้าได้อยู่เคียงข้างสาวงาม  ณ.ที่นั้นจะเกิดอะไรขึ้นเนี่ย!  กึ๋ยส์..ฮิซูซุย บรรยายสรรพคุณปลาที่มีชื่อฮินำหน้ามาตั้งหลายครั้งหลายครา  ทั้งหมดในปลาคาร์พทุกประเภทที่นำเสนอไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโคฮากุ,ซันเก้,โชว่า,อูจึริ,อาซากิ  แพทเทิร์นประจำตัวของมันคือปลาที่มีสีแดงทั่วทั้งตัว   เป็นลักษณะที่ไม่ค่อยโสภาสถาพรนักเมื่อเปรียบกับแพทเทินส์อื่นๆ เปรียบเหมือนเดั่งลูกเมียน้อย  มักจะด้อยค่าราคากว่าเค้าแต่ช้าก่อนโยม  กับซูซุยแล้วไม่ใช่ต้องเว้นไว้สักหนึ่ง  ด้วยความนิยมที่นักเลี้ยงมีต่อฮิซูซุยไม่ได้ด้อยไปกว่าซูซุยอื่นๆ เลยสักนิด   มีศักดิ์มีศรีมีชาติสกุลเท่าเทียมเชิดหน้าชูตาได้ไม่อายใคร  ไม่เป็นลูกเมียน้อยอย่างกับปลาฮิอื่นๆ  เป็นปลาที่มากอบกู้เอกราชศักดิ์ศรีแห่งความเป็นปลาฮิโดยแท้คงไม่ต้องบอกกล่าวเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนนะครับว่า  ฮิซูซุยมีรูปแบบแพทเทินส์อย่างไร  ถ้าบอกว่าติดตามอ่านงานเขียนมาตลอด  แต่จินตนาการภาพฮิซูซุยไม่ออกล่ะก็งานนี้มีเรื่อง  ไม่ท่านผู้อ่านก็ผมคงต้องเอาหัวไปโขกต้นมะพร้าวตายกันไปข้างนึงล่ะ  ฮิซูซุยคือซูซุยที่มีสีแดงทั่วทั้งตัว  มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เหลือแต่ลูกกะตาดำยิ่งดี   ยิ่งแดงมากแดงมิดชิดเท่าไหร่คุณค่าราคาค่าตัวยิ่งสูงประเด็นหนึ่งที่อยากกล่าวถึง  คือฮิซูซุยบางตัวที่ก่อนหน้าคือซูซุยปรกติ  แต่เลี้ยงไปเลี้ยงมาวันดีคืนดีเจ้าสีแดงมันดันขึ้นเละเทะ เลอะเทอะ เปรอะเปื้อน ขี้เรื้อนสังคัง เจออย่างนี้วัยรุ่นเซ็ง!  อย่ากะนั้นเลย  ไหนๆ ก็ไหนๆแล้วเร่งสีให้แดงเถือกไปทั้งตัวกลายเป็นฮิซูซุยไปเลยดีกว่า  นี่พูดจริงๆ นะไม่ใช่พูดเล่นๆ มือใหม่หัดขับที่ยังไม่เคยเลี้ยงซูซุย  ยังไม่รู้ซึ้งถึงฤิทธิ์เดชปาฏิหารของเจ้านี่  ว่ามันสะแด่วแห้วแสบสันต์สะเด่าทรวงแค่ไหน ไอ้ตรงที่ไม่อยากให้แดงขึ้น  มันล่ะขึ้นจริงขึ้นจัง  แต่ไอ้ตรงไหนอยากให้ขึ้น  รอไปสิบปีสี่ชาติไม่โผล่มาให้เห็นสักแอะก่อนจบขอพูดถึงซูซุยอื่นๆ ที่ไม่ได้นำมาเสนอ   เหตุที่ไม่มาเสนอเพราะว่ามันไม่เป็นที่นิยม  อย่างซูซุยที่ไม่มีสีแดงเลยสักนิด  เลี้ยงไว้ดูเกล็ดที่สันหลังอย่างเดียว  ถึงจะมีคนเลี้ยงแต่เป็นกลุ่มน้อยเท่านั้น  กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ชอบอะไรที่มันวิปริตพิสดาร   เป็นกลุ่มคนประหลาดอย่าไปพูดถึงเขาดีกว่า  บางอย่างก็ดูสวยดีอย่าง คิซูซุยซึ่งเป็นซูซุยที่มีสีเหลืองสวยงามมาก  










7. โกโระโมะ (Koromo)

โคโรโมะ  ( Koromo )
รูปแบบ  พื้นฐานโคโรโมะ
หน้าตามันเป็นยังไง   แล้วมือใหม่หัดขับจะนึกภาพ
ออกไหมเนี่ย!  เอาอย่างนี้ถ้ายังไม่รู้จัก  ไม่เคยเห็นเจ้านี่  ลองนึกภาพตามผมบอก  เอาโคฮากุมาตัวนึง  หยิบภู่กัน
จุ่มหมึกดำ  แล้วค่อยๆ บรรจงแต้มไปที่ขอบเกล็ดสีแดง ทีละเกล็ดๆ พยายามแต้มอย่าให้เต็มเกล็ด  เน้นๆขอบๆ
เกล็ดเข้าไว้   และถ้าเป็นไปได้แต้มให้เหมือนกับโค้งเสี้ยวพระจันทร์จะยิ่งดีใหญ่  ทำให้ครบถ้วนทุกเกล็ดสีแดง
ที่ชิโรจิไม่ต้อง  นั่นแหละใช่เลย..  อย่างนี้นี่แหละครับท่านที่เขาเรียกว่า “โกโรโมะ”
มองดูเผินๆ ดูคล้ายกับว่าเอาโคฮากุมาสวมเสื้อคลุมมั้ยเอ่ย?  พูดชี้นำอย่างนี้ก็จะบอกว่า “โคโรโมะ” ในภา
ษายุ่น  หมายถึงเสื้อคลุม  ถ้าใครเป็นแฟนละครยุ่นโดยเฉพาะละครแนวพีเรียด  จะคุ้นตากับเสื้อคลุมที่คนเมือง
นี้นิยมใส่  เป็นคำๆ เดียวกับโกโรโมะนี่แหละครับ
จะว่าไปรูปแบบพื้นฐานของโกโรโมะมันก็โคฮากุดีๆ นี่เอง  มีชิโรจิเป็นพื้น  ยิ่งขาวยิ่งดี   ฮิแพทเทินส์เป็น
ลวดลาย  ยิ่งแดงยิ่งแจ๋ว  เหมือนกับโคฮากุด้วยประการทั้งปวง  มีเพียงแต่สีดำที่ขอบเกล็ดเพิ่มขึ้นมาเท่านั้นเอง
อ้อ..ลืมบอกไป  สังเกตดูให้ดีผมจะใช้คำว่า   สีดำที่ขอบเกล็ดนะครับ  ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะเน้นว่าโคโรโมะที่ดีนั้น
ควรจะสีดำควรมีที่ขอบเกล็ดไม่ใช่ดำทั้งเกล็ด  ดำเฉพาะที่ขอบเกล็ดสร้างความคมชัด ให้มุมมองที่โดดเด่นสะ
ดุดตา   สวยในสไตล์ของโกโรโมะแท้ๆ  ยิ่งโค้งเป็นเสี้ยวพระจันทร์ตามรูปขอบเกล็ดได้ยิ่งแจ๋ว  เป็นที่ถูกอกถูก
ใจพระเดชพระคุณท่าน
จากที่กล่าวมาจึงเป็นที่รู้กันโดยถ้วนทั่วว่า  องค์ประกอบทุกสิ่งอย่างของโกโรโมะไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมใด
ก็ตาม  ทั้งในเรื่องกลเม็ดเคล็ดลับในการพิจารณาเลือกซื้อ   เราสามารถเอาโคฮากุเป็นบรรทัดฐานได้เลย  เพราะ
ยังไงๆ เสีย   โกโรโมะมันก็มีพื้นฐานความเป็นมาในสายเลือดของมัน   ครึ่งหนึ่งคือโคฮากุอยู่แล้ว   ส่วนอีกครึ่ง
ที่ทำให้มันมีสีดำที่เกล็ดนั้น  ได้มาจากสายเลือดของมากอยที่ถ่ายทอดผ่านอาซากิมาอีกทอดนึง
รู้จักแต่เพียงเพียงคร่าวๆ ในเรื่องรูปแบบพื้นฐานของมันแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ   แล้วค่อยมาว่ากันแบบ
เจาะลึกอีกครั้งในเรื่องหัวข้อการเลือก  ถึงตอนนั้นมาดูกันว่า  โกโรโมะที่ดีมีคุณค่านั้นดูกันอย่างไร  ปลาที่มีสีดำ
ขอเพียงสักแต่ว่ามี   อย่างนี้เรียกว่าโกโรโมะได้หรือไม่   แล้วที่ดีควรมีดำมากน้อยเท่าไหน  เอามาว่ากันอีกที
- ชนิดย่อย  ของโกโรโมะ
บอกกล่าวออกตัวตั้งแต่เมื่อกี้ว่า ทุกๆ อย่างของโคโรโมะอ้างอิงกับโคฮากุได้ไม่ขัดเขิน  ซึ่งรวมถึงชื่อเรียก
ชนิดย่อยของโคโรโมะด้วยเช่นกัน  โคฮากุมี นิดัง,ซันดัง,ยนดัง,โงดัง,อินาซึมะ ฯลฯ  โคโรโมะก็มี เพราะว่าทั้ง
สองเป็นปลาที่มีฮิแพทเทินส์เหมือนๆ กัน  ไม่ผิดกฏกติกามารยาทนะครับถ้าจะเรียก นิดังโกโรโมะ,ซันดังโกโร
โมะ  ไม่มีใครว่า  ซึ่งเขาเรียกกันจริงๆ นั่นแหละ  แต่มันจะผิดกฏกติกามารยาทมั่กๆ กับจำนวนโควต้าหน้ากระ
ดาษที่ผมได้รับมา   ดังนั้นผมคงไม่ดันทะลึ่งเอาเอาโกโรโมะดังกล่าวมาแนะนำอีก   ขืนนำมาแนะนำซ้ำซ้อนซ้ำ
ซาก  คงไม่ต้องทำมาหากินอย่างอื่นกันพอดี  เอาแบบชนิดหลักๆ สำคัญๆ แบบหาดูได้ทั่วไปดีกว่า  มีอยู่ไม่มาก
แต่ละชนิดมีความโดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน  มองปุ๊บรู้ปั๊บว่าอย่างนี้มีชื่อเรียกอย่างนี้  อย่างนั้น
มีชื่อว่าอย่างนั้น  ที่สำคัญๆ มีดังนี้ครับ
ซูมิโกโรโมะ  (Sumi Koromo)  อันนี้ต้องเอ่ยถึงเค้าก่อนเลย   จากแรกที่กล่าวถึงที่มาของโกโรโมะยุค
แรกเริ่ม  ว่ายุคน้องๆโคฮากุ พบเจอแถบนิกาตะ  ตามบันทึกว่าไว้ว่าในกาลครั้งนั้นมันเป็นแค่เพียงโคฮากุ  ที่มีสี
ดำเลอะเทอะ  กะจัดกะจายไร้รูปแบบ   เหมือนเอาเขม่าสีดำไปโรยไว้บนฮิแพทเทินส์   ไม่สะดุดตาสะดุดใจดัง
เช่นทุกวันนี้  มันคงดูขมุกขมัว มอมแมม เหมือนลูกหมาตกน้ำเสียมากกว่าที่จะดูสวย  นั่นแหละครับท่านผู้อ่าน
ที่เคารพ  โกโรโมะเห่ยๆ ที่กล่าวนี้  มีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับซูมิโกโรโมะยุคปัจจุบันมากที่สุด
อ่ะ..ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่าซูมิโคโรโมะ  เป็นปลาเห่ย! ห่วย! อย่างนั้นหรือ?  เปล่า..ใจเย็นโยม  ไม่ใช่
อย่างนั้น   ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป  อะไรๆ มันก็เปลี่ยนแปลง  ซูมิโกโรโมะยุคใหม่ทันสมัยสไตล์เด็กแนว  ย่อมดูดี
จ๊าบ  เท่ห์ กว่าก่อนเก่าแน่นอน  ของเก่ามันเป็นเหตุบังเอิญ  ที่โคฮากุไปจ๊ะเอ๋กับมากอยแบบไม่ตั้งใจ  ในเมื่อของ
มันเกิดจากความไม่ตั้งใจ  จะให้มันออกมาดูดี  สวยสะเด็ดสะเด่าทรวงคงเป็นไปได้ยาก
แต่โคโรโมะยุคพัฒนาแล้ว  มันเป็นปลาที่สายพันธุ์นิ่ง  พ่อแม่มันโกโรโมะทั้งคู่  ความเคลียของสีดำบนฮิ
แพทเทินส์นั้นดูเนียนตาน่ามอง  ดูแล้วสบายตากว่ากันเยอะเลย  ชื่อเรียก “ซูมิโกโรโมะ” แปลตามศัพท์ก็คือ  โก
โรโมะที่มีลายเกล็ดสีดำ   เป็นชื่อเรียกที่เกิดขึ้นในภายหลัง   ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์เข้าสู่โคโรโมะยุคใหม่แล้ว
เขาคงตั้งชื่อเรียกมันเพื่อให้รู้ว่า   มันไม่ใช่โกโรโมะยุคเก่าอย่างนั้นละมั้ง   เพราะว่าแต่ก่อนนั้นจะเรียกแต่เพียง
สั้นๆ ว่าโคโรโมะ
แต่ถึงแม้โกโรโมะยุคใหม่จะมีสีดำดูดีคมชัดขึ้น  มันก็ไม่คมชัดเท่ากับซันเก้   มันมีความแตกต่างกันอย่าง
ชัดเจนคือ  ส่วนใหญ่สีดำของซูมิโกโรโมะจะไม่เต็มทั้งเกล็ด   ถ้ามันขึ้นเต็มทั้งเกล็ดจะดูเป็นปื้นเป็นแถบ  อย่าง
นั้นมองลำบาก   ว่าเป็นซันเก้หรือโคโรโมะ  อ้อ..มีเรื่องสำคัญควรรู้อีกอย่าง  คืออาจจะมีนักเลี้ยงบางท่านเข้าใจ
ผิดคิดว่า  รูปแบบของซูมิโกโรโมะคือโคโรโมะที่มีสีดำบริเวณหัว   ถ้ามีสีดำที่หัวนั่นคือซูมิโคโรโมะ  จากที่ได้
สอบถามผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาคาร์พชาวยุ่น   ที่สันทัดกรณีเรื่องโกโรโมะเป็นพิเศษ  ยุ่นกล่าวอย่างขึงขังจริงว่า
ไม่ใช่  ไม่จำเป็นเข้าใจผิด  ซูมิโกโรโมะเป็นปลาที่มีสีดำขมุกขมัว ( อันนี้ผมพูดเอง  ไม่รู้จะอธิบายว่ายังไง ) ไม่
คมชัดเป็นเสี้ยวโค้งวงพระจันทร์  อย่างโกโรโมะทั่วไปเท่านั้นเอง  ไม่จำเป็นเลยทีเดียวว่าต้องมีสีดำที่หัว
แต่ที่พบเห็นว่าซูมิโคโรโมะบางตัวมีสีดำที่บริเวณหัว  นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าอาจจะยังมีสายเลือดของโก
โรโมะยุคเก่าปนเปอยู่   เพราะจากรูปแบบแล้วมันเป็นอะไรที่คล้ายกัน   อย่างที่บอกไว้แต่แรกว่าโกโรโมะยุคเก่า
ที่พบเห็นที่นิกาตะ  ส่วนใหญ่นั้นจะมีสีดำปรากฏที่ส่วนหัวด้วย  สรุปเลยแล้วกันว่ารูปแบบซูมิโกโระโมะ  เขาดู
ที่สีดำที่ฮิแพทเทินส์เป็นหลัก   ไม่ใช่ดูจากสีดำที่หัวครับ
ไอโคโรโมะ (Ai koromo) คำว่า”ไอ” ในความหมายของปลาคาร์พหมายถึงสีน้ำเงินคราม  คนละความ
หมายกับ  ไอค็อกๆ แค๊กๆ ระคายคอ   ไออย่างนั้นแนะนำให้ไปซื้อยาชวนป๋วยปี่แป่กอตราลูกกตัญญูมากินซะ  รู้
แล้วว่า “ไอ”  หมายถึงอะไร   คงไม่ต้องบรรยายให้เยิ่นเย้อนะครับว่า ไอโกโรโมะเป็นปลาโคโรโมะที่มีสีน้ำเงิน
คราม  ไม่ใช่สีดำเหมือนกับซูมิโกโรโมะ  ทั้งสองอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของสี   แต่ในความแตกต่าง
ทั้งสองกับมีความเหมือน   ต่างเป็นโกโรโมะที่ไม่มีความคมชัดของสีดำที่เกล็ด  นอกจากไม่คมชัดแล้วยังฟุ้งกะ
จายไร้ความคมกริบเหมือนกัน  จะว่าเป็นพี่น้องคลานตามกันมาก็ว่าได้  แต่ถามว่าสวยมั้ย..  สวยครับสวย  สวย
ตามแบบฉบับของมัน  ถ้าไม่สวยเขาจะเอามากล่าวถึงทำไมล่ะ
จุดต่างระหว่างซูมิกับไอ  พูดให้ง่าย  อธิบายให้ชัดในสไตล์ผม  ก็ต้องบอกว่า ซูมิโคโรโมะ สวยแบบดำๆ
ขมุกขมัว  มอมแมม  เปรอะเปื้อนไม่มีรูปแบบ  ไอโคโรโมะสวยในสไตล์น้ำเงินครามเรื่อๆ ลางๆ บางเบา  เร้าอา
รมณ์
แต่ก่อนที่จะสาธยายเกี่ยวกับไอโคโรโมะไปมากกว่านี้  มาคุยกันให้รู้เรื่องเกี่ยวกับสีที่แท้จริงของเจ้าไอโค
โรโมะก่อนว่า   แท้ที่จริงมันเป็นสีดำหรือสีน้ำเงินครามกันแน่  ขอตอบอย่างนี้ครับ  จากประสบการณ์การเลี้ยง
ปลาคาร์พมายี่สิบกว่าปี   ผมเคยเห็นไอโคโรโมะที่มีสีน้ำเงินครามจริง   และในตำราปลาคาร์พเกือบทุกเล่มก็มี
การยืนยันว่ามันเป็นสีนำเงินครามจริง   มีรูปถ่ายมายืนยันให้เห็นเป็นหลักฐาน   แต่คงเป็นส่วนน้อยเท่านั้นต้อง
ถือว่ามันเป็นกรณีพิเศษ  ในปัจจุบันอาจจะไม่มีหลงเหลือให้เห็นแล้วก็ได้  ยอมรับกันมั้ยล่ะครับ.. ว่าร้อยทั้งร้อย
ที่เราเรียกไอโคโรโมะกันทุกวันนี้  เป็นปลาที่มีสีดำบางๆ บนฮิแพทเทินส์  ไม่ใช่สีน้ำเงินครามจริงๆ ตามนิยาม
ไอ้สีดำบางๆ จางๆ นี่แหละถ้ามองเผินมันก็ดูหลอกตาคล้ายสีน้ำเงินครามได้เหมือนกัน  คงขึ้นอยู่กับสายตาของ
แต่ละบุคคลด้วย   แต่ละคนมองไม่เหมือนกัน  อย่างผมมองผมว่ามันเป็นสีดำเรื่อๆ บางๆ มากกว่า  แต่บางท่าน
มองเป็นสีน้ำเงินคราม  เหมือนกับสีอาซากิ  บางท่านว่าเป็นสีฟ้า  บางท่านก็ว่าสีเทาดำ  สรุปว่าอย่าไปซีเรียสกับ
มันดีกว่า  เรียกๆ ตามเขาไปก็สิ้นเรื่องง่ายดี
จากอดีตจนถึงปัจจุบันเท่าที่มีการเพาะโคโรโมะออกมา  จะมีไอโคโรโมะอยู่หลักๆ สามสาย คือ หนึ่งสาย
ที่เป็นไอโกโรโมะแท้ๆ สายนี้ตั้งแต่เล็กจนโต  เคยเป็นสีดำจางเบาบาง  ที่หลายๆ คนมองว่าเป็นสีครามอย่างที่
บอก   เคยเป็นอย่างไรตั้งแต่เล็กจนกระทั่งโตก็ไม่เปลี่ยนแปลง   ยังคงดำเจือจางอยู่อย่างนั้น  แต่ที่ได้ฟังฟังยุ่น
บอกมา เจ้าไอโคโรโมะสายนี้นับวันจะยิ่งน้อยลงๆ ทุกที  ที่ญี่ปุ่นเองมีเพียงไม่กี่ฟาร์มเท่านั้นที่ยังเพาะสายนี้อยู่
คาดการณ์ว่าคงสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้    ด้วยว่าความนิยมต่อโคโรโมะที่มีขอบเกล็ดสีดำคมกริบดังเสี้ยว
เสี้ยวพระจันทร์   มาแรงเหลือหลายแซงทิ้งห่างไอโคโรโมะกระจุยไม่เห็นฝุ่น  อย่าว่าแต่ที่แดนปลาดิบเลยกระ
กระเหรี่ยงไทยอย่างเราๆ ท่านๆ   เวลาเลือกซื้อโกโรโมะทีไร   เห็นร่ำร้องจะเอาแต่ชัดๆ คมๆ กันทั้งนั้น  จริง
ไหมมั้ยล่ะครับท่านผู้ชม
อีกสายนึง สายนี้ต้องบอกว่าเป็นสายผีเข้าผีออก  คือมันจะคงลักษณะความเป็นไอไว้ที่ขณะยังเป็นปลาเล็ก
พอโตเป็นผู้ใหญ่เริ่มใจแตก  จากไอน้อยๆ เบาๆ ก็เริ่มไอแค๊กๆ ไอกะด๊อกกะแด๊ก  ไอโขลกๆ   แล้วก็เป็นวัณโรค
ตายชักไปเลย  แฮ่ะๆ ล้อเล่น  จากไอโคโรโมะในวัยเด็กก็จะกลายพันธุ์เป็นซูมิโกโรโมะไปในที่สุด   ส่วนใหญ่ที่
พบเห็นมักจะเป็นอย่างนี้เสียด้วยสิ   อย่างรูปที่ผมสรรหานำมาประกอบ   มีบางตัวที่เล็กๆ เจ้าของยืนยัน  นอน
ยืน  ตะแคงยัน  ว่าเล็กๆ  มันเป็นไอโคโรโมะสีน้ำเงินครามตามนิยาม  ท้ายสุดไม่วายกลายเป็นโกโรโมะสีดำไป
จนได้  ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่  แต่ลงท้ายเป็นบ้องกัญชา  ตาละลา..
สายที่สาม  อันนี้เป็นพวกขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่   แต่ลงท้ายเป็นโกโรโมะธรรมดา เชิ๊บ..เชิ๊บ  โคโรโมะธรรม
ดาก็คือโกโรโมะที่มีขอบเกล็ดสีดำ  คมชัด  คมกริบเป็นเสี้ยวพระจันทร์  ส่วนจะข้างขึ้นข้างแรมก็ว่ากันไปตาม
สภาพ   โกโรโมะสายนี้เป็นสายยอดนิยมที่นักเพาะพันธ์ปลาชาวยุ่นผลิตออกมาป้อนตลาด   ด้วยเป็นที่ต้องการ
ของนักเลี้ยงเหลือหลาย  ว่ากันว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของโกโรโมะแจ่มๆ จ๊าบๆ ขอบเกล็ดโค้งเสี้ยวพระจันทร์
ถือกำเนิดมาจากไอโกโรโมะในตอนเล็กทั้งนั้น  โกโรโมะสายพันธุ์นิ่งสายนี้ถูกเพาะขึ้นในราวๆ ปี 1950
บูโดโคโรโมะ ( Budo Koromo )  อีกหนึ่งโกโรโมะที่บรรดานักเลี้ยงลงคะแนนเสียง  ว่ามีความงาม
ต้องตาต้องใจในระดับหัวแถว   ถ้าเปรียบความนิยมเป็นกับการแข่งขันวิ่งร้อยเมตร  บูโดโกโรโมะอาจจะซอย
เท้าแซงเข้าเส้นชัย  นำหน้าคู่แข่งอยู่ประมาณครึ่งขนหน้าแข้ง  ชั่วโมงนี้ต้องยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าแรง
สปีดเขาแรงเหลือล้น  ใครๆ ล้วนอยากมีไว้เตะตาในบ่อสักตัว  สมมุติว่าถ้าในบ่อสามารถเลี้ยงโกโรโมะได้มาก
กว่าหนึ่งตัว  หนึ่งในนั้นต้องเป็นบูโดโคโรโมะชัวร์ป้าด  รับรองได้
โทนสีความสวยงามของเจ้านี่แปลกแหวกแนว  มีสไตล์เฉพาะตัว  เอาไปหย่อนลงบ่ออีกตัวก็ไม่ไปซ้ำซาก
ซ้ำซ้อนกับโคโรโมะอื่น  จ้าวแห่งบ่ออย่างโคฮากุ,โชว่า ,ซันเก้  ที่ว่าแน่  แบบว่าจะขาดเสียไม่ได้ในบ่อ   ถ้าเลี้ยง
เยอะมีหมดทั้ง  นิดัง,ซันดัง,ยนดัง,โงดัง  อาจจะเกิดความซ้ำซากซ้ำซ้อนรำคาญลูกตา  กับโคโรโมะสักสองตัว
ตัวนึงบางเบาเร้าอารมณ์อย่างไอ   กับแดงเข้มอมม่วงกระชากใจอย่างบูโด  อยู่ในบ่อเดียวกันดูแล้วไม่น่าเกลียด
แต่ประการใด  รับรอง..
อ้าว..พระเดชพระคุณท่าน  โม้มาซะหนึ่งย่อหน้าเต็ม  ดันทะลึ่งลืมบอกลักษณะของบูโดไปเสียฉิบ   แล้ว
มันจะสื่อสารกันรู้เรื่องมั้ยเนี่ย.. ถ้าถามว่าอะไรคือบูโด  บูโดคืออะไร  ตอบไม่ยากไม่ลำบากเกินกำลังจินตนาการ
ลองนึกถึงพวงองุ่นแดงที่ใช้ทำไวน์  เปรี้ยวปากหน้าตึงขึ้นมาทันทีเลยใช่มั้ยล่ะ  ฮ่ะๆ เปล่า..เปล่าชวนมากินไวน์
จะให้นึกถึงสีผลองุ่น  สีแดงอมม่วงอย่างนี้แหละ  คือนิยามสีของบูโดโกโรโมะดั้งเดิมออริจินอล   ยุ่นเรียกโกโร
โมะที่มีสีแดงอมม่วงว่า บูโดโคโรโมะ  เพราะว่า”บูโด” หมายถึงสีแดงองุ่น  เน้นย้ำว่าต้องเป็นองุ่นแดงแบบไม่
มีเมล็ดกิโลละเป็นร้อยด้วยนะ  องุ่นเขียวกิโลละสิบอย่างนั้นไม่ใช่   และถ้าจะให้ออริจินอลแบบสุดๆ ไปเลย   ยุ่น
บอกว่าบูโดโกโรโมะ  ถ้าจะให้เจ๋งให้แจ๋วจริง  ต้องมีลวดลายฮิแพทเทินส์คล้ายพวงองุ่น  เหมือนแค่เม็ดเดียวก็
ไม่ได้  ต้องเป็นพวง  แบบว่าถ้าเข้ามาใกล้หยิบเข้าปากเคี้ยวได้เลย
แต่ปัจจุบันนั้นไซร้  บูโดโกโรโมะแท้ๆ แดงอมม่วงเหมือนพวงองุ่นนั้นคงจะหาทำยายาก  ร้อยวันพันปีจะ
แพลมมาให้เห็นหน้าสักตัว  ที่เห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน  หาง่ายพอๆ  กับปลาช่อนในตลาดสด  จะออกมาในแนว
สีแดงเข้มอมดำอมน้ำตาล   อะไรที่ออกในแนวแดงเข้มๆ รวมเรียกว่าบูโดโกโรโมะหมด   ผมสังเกตเอาจากใน
นิตยสาร   และปลาที่เหิรข้ามฟ้าข้ามทะเลไปนำเข้ามาจากแดนปลาดิบ  โดยเฉพาะปลาแถบๆ นิกาตะ  ปัจจุบัน
ออกมาในโทนสีนี้หมดเลย  ไม่เห็นมีโทนแดงอมม่วงเหมือนพวงองุ่นให้เห็น  สอบถามยุ่นผู้สันทัดกรณีคนเดิม
ได้ความรู้เพิ่มเติมว่า   ปัจจุบันบูโดโคโรโมะที่มีสีโทนสีแดงอมดำ   เป็นปลาที่มีความนิ่งของสายพันธุ์มากกว่า
โทนสีแดงออมม่วงแบบดั้งเดิมเสียอีก  ไอ้ที่แดงอมม่วงเหมือนพวงองุ่น  ถูกจับไปทำไวน์แดงหมดแล้วครับ
โคโรโมะซันโชกุ ( Koromo Sanshoku ) ภาษาอังกฤษสะกดว่าซันโชกุ  แต่ผมอนุญาตเรียกซันเก้นะ
ครับ  ถนัดหูถนัดปากมากกว่า  ที่จริงว่าจะไม่เอ่ยถึงมัน  แต่ก็อดไม่ได้   ประมาณว่าถ้าไม่ได้โม้ไม่ได้ฝอยให้ฟัง
เก็บไว้คนเดียวมันรู้สึกอืดเฟ้อ  เรอเหม็นเปรี้ยวชอบกล
โกโรโมะเป็นลูกผสมของอาซากิ   รูปแบบทั่วไปเป็นปลาที่มีขอบเกล็ดสีดำที่ฮิแพทเทินส์   แต่ถ้ามีซูมิเป็น
กลุ่มเป็นก้อนอยู่บนชิโรจิด้วย  อย่างนี้ก็ต้องเรียกว่าโกโรโมะซันเก้ตามระเบียบ  ไม่ต้องบรรยายให้มากกว่านี้นะ
ครับ  เชื่อว่ามือใหม่หัดขับมองปุ๊บต้องรู้ปั๊บว่าเป็นโกโรโมะซันเก้  ถ้าบอกว่าไม่รู้จักเรียกชื่อไม่ถูกก็ไม่รู้จะว่ายัง
ไงแล้ว  มองยังไงๆ มันก็เข้าตำราวัดครึ่งนึง  กรมการครึ่งนึง โกโรโมะครึ่งนึง  ซันเก้ครึ่งนึง ชัดๆ ชัวร์ๆ  ฝืน
ไปเรียกอย่างอื่นเดี๋ยวแม่ตบตายชัก!
โกโรโมะซันเก้บางตัวอาจมีซูมิทั้งบนฮิแพทเทินส์ละบนชิโรจิ   ไม่ใช่เรื่องแปลก   เหมือนๆ กับฟุดซือซัน
ซันเก้   อาจจะนึกสงสัยว่าทำไมไม่ค่อยมีใครพูดถึงโกโรโมะชนิดนี้เลย  ไม่รู้จะตอบยังไงเหมือนกัน   ลองถาม
ตัวเองดูก็แล้วกัน  ว่าชอบซันเก้ที่เป็นซันเก้แท้ๆ ชอบโกโรโมะที่เป็นโกโรโมะจริงๆ หรือเปล่า  ถ้าชอบแบบจะๆ
แจ่มๆ ชัดๆไปเลย   ก้ำกึ่งคาบลูกคาบดอกอย่างนี้คงไม่สะใจโก๋นัก  แต่ถ้าเป็นสาวลูกครึ่งอันนี้ค่อยมาว่ากันอีกที
แฮ่ะๆ  โกโรโมะครึ่งลูก  เอ๊ย! ลูกครึ่งอย่างนี้  ผมว่ามันจะเหมาะเจาะมากกับท่านที่มีบ่อเล็กๆ  แต่อยากเลี้ยงให้
ให้ครบทุกประเภท  เล่นแบบทูอินวันอย่างนี้  ทุ่นพื้นที่บ่อไปได้อักโขเชียวล่ะพ่อคุณ..
โคโรโมะโชว่า ( Koromo Showa ) ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว  พูดถึงโคโรโมะซันเก้แล้วจะไม่พูดถึงโคโร
โมะโชว่าได้อย่างไร   เดี๋ยวก็จะหาว่าลำเอียงไม่มีความยุติธรรมในใจ   เอาสักนิดพอหอมปากหอมคอ  รูปแบบ
ที่มาของมันไม่ต้องพูดถึง   มีสีดำแถบอูจึริชัวร์ป้าด..  เป็นลูกผสมของโชว่าชัวร์ป้าดอีกเหมือนกัน   ถ้าผสมกับ
ปลาอื่นเค้าคงไม่เรียกโกโรโมะโชว่าหรอกจริงมั้ย
ประเด็นสำคัญที่อยากให้คำนึงถึงเกี่ยวกับเจ้าโกโรโมะชนิดนี้  ฟังจากชื่อนะครับ  เขาเน้นๆ ชัดๆ เน้นแบบ
ทิ้งน้ำหนักเลยว่า “โคโรโมะโชว่า”  ฉะนั้นโกโรโมะโชว่าก็คือโคโรโมะโชว่า   ต้องไม่ใช่โชว่าที่ลายคล้ายโกโร
โมะ  เราต้องให้ความสำคัญของโกโรโมะมากกว่าโชว่า  ชื่อมันฟ้องอยู่โทนโท่ชัดเจนอยู่แล้วว่าอะไรนำหน้าอะ
ไรตามหลัง   ต้องรู้ว่าอะไรเป็นหลักอะไรเป็นรอง  เปรียบเสมือนขับรถต้องรู้ว่าถนนไหนสายเอกสายโท  ตะบึง
บึงห้อฝ่าอย่างเดียว  ระวังจะเดี้ยงเอาง่ายๆ  แล้วจะหาว่าไม่เตือน
อา..ขึ้นไตเติ้ลซะยาว  แทบหาทางกลับไม่เจอ  คืออย่างนี้ครับ  มันมีโชว่าบางตัวที่สีดำขึ้นไปเลอะเทอะอยู่
บนฮิแพทเทินส์   ยิ่งถ้าเป็นดำลางๆ ไม่ชัดอย่างโบเก้โชว่าด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่   กลัวว่ามือใหม่หัดขับที่ยังไม่
ชำนาญทาง  ผ่านสมรภูมิมาน้อยจะหลงทางผิดคิดว่าเป็นโคโรโมะโชว่า  โปรดใช้สะดือตรองด้วยความระมัด
ระวัง  นี่คือคำเตือน!  ท่องไว้ในใจโกโรโมะโชว่าคือ  โกโรโมะที่มีแถบดำอูจึริ  แต่กระนั้นมันต้องคงเอกลักษณ์
ของโกโรโมะไว้อย่างเหนียวแน่น   ต้องมีขอบเกล็ดสีดำบนฮิแพทเทินส์เป็นประการสำคัญ   แถบดำอูจึริให้เป็น
เรื่องรอง  มีแค่พอให้เรียกว่าโกโรโมะโชว่าเท่านั้นพอ   อย่าไปซีเรียสกับมันมาก  ถ้าอยากเน้นแถบดำอูจึริมากๆ
ประมาณว่าจะลงแดงตายเสียให้ได้ถ้าไม่มีเธอ  แนะนำว่าให้เลี้ยงโชว่าซะเลย  ให้รู้แล้วรู้แร่ด!!
เอาล่ะ..ว่ากันมานานอักโข   ต้องได้ฤกษ์โบกมือลากันเสียที   หวังว่าอย่างน้อยที่สุดที่พล่ามจนน้ำลายหนืด
คงรู้นะครับว่าโกโรโมะหน้าตามันเป็นยังไง   มีชนิดไหนบ้างที่ได้รับการตอบรับจากบรรดามิตรรักแฟนเพลง
ส่วนชนิดอื่นๆ ที่บรรดาแม่ยกบอกว่าหายากไม่ค่อยฮ็อตฮิต   ก็ไม่ขอนำมากล่าวให้เปลืองหน้ากระดาษ ฝากปิด
ท้ายแบบเน้นย้ำก่อนจากอีกครั้ง  ถึงเรื่องขอบเกล็ดสีดำ  ที่ผมพูดบ่อยๆ ขอบอกว่ามันเป็นลักษณะของโกโรโมะ
ที่ดี   แต่ในความจริงจะหาได้ตามนี้หรือเปล่านั้นอีกเรื่องนึง   ขอกระซิบบอกไว้เลยว่า   หาให้ตายหาจนหนวด
หงอกนั่นแหละ  กว่าจะเจอสักตัว  เอาแค่พอประมาณก็พอแล้วมั้ง มัวแต่ไปเน้นหาแจ๋วๆ ตามนิยาม  คงไม่ต้อง
เลี้ยงกันพอดี   เอาไว้พบกันใหม่ฉบับหน้ากับ “โงชิกิ” ปลาคาร์พประเภทสุดท้ายในกลุ่มอาซากิครับ
ตีพิมพ์ในนิตยสาร Aquaโคโรโมะ  ( Koromo )ไม่รู้ว่าทุกครั้งที่โผล่หน้ามาทักทายใน Aqua ดันเผลอบ่นพ่นพล่าม  เรื่องอากาศร้อนวิปริตผิดอาเพศ  ไปเข้าถึงหูเทวดาท่านหรือเปล่า ท่ามกลางอากาศร้อนสยองสุดๆ ท่านเลยมีเมตราโปรยพิรุณมาคลายร้อนอยู่เนืองๆพอช่วยบรรเทาความฮ็อตไปได้นิดๆ หน่อยๆ ขอบคุณหลายเด้อ..อากาศฮ็อตๆ อย่างนี้  วงการปลาคาร์พบ้านเรา  มีเรื่องฮ็อตๆ ออกมาเนืองๆ เหมือนกัน   ฮ็อตแรกข่าวใหญ่กะเหรี่ยงไทยข้ามน้ำข้ามทะเล   บุกไปคว้าถ้วยรางวัลใบใหญ่ในงาน All Japan  เย้ยยุ่นเจ้าถิ่นถึงแดนปลาดิบโดนกระเหรี่ยงไทยบุกไปหักซามูไรถึงถิ่นอย่างนี้  เล่นเอายุ่นค้อนตาขวับๆฮ็อตต่อมาเป็นเรื่องต่อเนื่อง   เพื่อเป็นการประกาศศักดาให้ชาวบ้านได้รับรู้   ว่าถ้วยรางวัลที่ได้มานั้น  เป็นของแท้ไม่ใช่ถ้วยน้ำพริก   เลยมีการจัดงานเลี้ยงฉลองกันเอกเกริก   เชิญยุ่นระดับแนวหน้าของวงการมาร่วมรับรู้ฤิทธิเดชกระเหรี่ยงไทย  งานนี้ใช้ชื่อว่า Koi Summit in Paknumpo จัดขึ้นที่นครสวรรค์ บ้านคุณโฟล์คคนดังของวงการปลาคาร์พเมืองไทย  เมื่อวันที่ 2-3 เมษายน 2548  ที่ผ่านมา  กระผมก็ได้รับเกียรติและมีส่วนร่วมในการประชุมจัดงานคราวนี้ด้วย  งานนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เคยจัดขึ้นในเมืองไทย  และถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดก็จะจัดต่อไปทุกๆ ปีเป็นประเพณี   ถ้าหากว่ายังไปคว้ารางวัลมาได้นะปิดท้ายด้วยเรื่องฮ็อตๆ จากกรมประมง  เพื่อเป็นการสกัดดาวรุ่งพุ่งแรง KHV. ไม่ให้พุ่งกระฉูดกระฉอกเลอะเปรอะเปื้อน   สร้างความเสียหายให้กับวงการปลาคาร์พไปกว่านี้   ก็เลยมีการออกตรวจตราหาเชื้อละเอียดยิบ  ลุยดะฉะไม่เลือกทุกฟาร์ม  ประกาศเคอร์ฟิวสั่งห้ามเคลื่อนย้ายปลาออกนอกฟาร์มเป็นการชั่วคราว   จนกว่าจะได้รับอนุญาต  ฮ็อตนี้เล่นเอาเจ้าของฟาร์มร้องฮือๆ เลยเจ้าค่ะ..จบจากเรื่องของเขา  มาว่าเรื่องประเภทปลาคาร์พของเราต่อ  คราวก่อนหน้าโน้นว่ากันถึงเรื่องซูซุย  หนึ่งในสี่ของกลุ่มอาซากิ  ฉบับนี้มาว่ากันต่อกับอีกหนึ่ง “โคโรโมะ”  บางท่านก็เรียก “โกโรโมะ” ว่ากันตามถนัดปากแต่ในที่นี้ผมขอเรียก “โกโรโมะ”  ก็แล้วกันครับ
- ที่ไปที่มา  กว่าจะเป็นโคโรโมะต้นสายปลายทางที่มาของเจ้าคาร์พประเภทนี้   ยุ่นผู้สันทัดกรณีได้สาธยายไว้   ผมจำขี้ปากมาฝอยให้ฟังอีกที  ได้ใจความว่าโดยแท้ที่จริงนั้น   มีการพบเห็นเจ้าโคโรโมะมานมนานกาเลแล้ว  ไม่ใช่ปลารุ่นหลังเพิ่งเกิดอย่างที่เข้าใจกัน  สถานที่พบเจออยู่แถบๆ นิกาตะ  แหล่งกำเนิดปลาคาร์พเจ้าเก่าขาประจำ   แต่ช้าก่อนโยม.. โกโรโมะที่พบเห็นในยุคนั้น  มันคนละเรื่องกับโกโรโมะยุคนี้  โกโรโมะที่เห็นหน้าค่าตากันในปัจจุบัน  เป็นปลารุ่นใหม่ที่พัฒนาสายพันธุ์จนดูสวย  ดูจ๊าบแล้วแต่กับโกโรโมะยุคแรกเริ่มมันไม่ใช่  มันยังเป็นอะไรที่ไม่ถูกใจโก๋มองดูแล้วไม่เข้าตากรรมการ  คือเป็นแต่เพียงโคฮากุที่มีสีดำกระจัดกระจายแบบสั่วๆ เบลอๆ อยู่บนฮิแพทเทินส์  และบริเวณหัว  สมัยนั้นไม่มีใครสนใจเห็นแล้วส่ายหัว  พูดแบบเดียวกันเด๊ะว่า  นี่มันโคฮากุที่มีตำหนิ  ปลาโหลยโท่ยนี่หว่า!!น่าน..เป็นซะยังงั้นไป  แต่มันคงเป็นอย่างที่เขาว่า  ลองคิดดูสิ  ปลาที่มีสีดำเป็นจุดฝุ่น  ฟุ้งกระจัดกระจายเหลื่อมๆ ไม่คมชัด  มองดูแล้วไม่น่าจะมีแววมยุราเป็นปลาสวยกับเค้าได้  บางท่านอาจแย้ง  ฟังๆ ดูแล้วถ้ามันมีสีดำอย่างที่ว่า  มันก็น่าจะจัดอยู่ในประเภทซันเก้ได้นี่นา?  ไม่ใช่ครับ  ไม่ใช่!  เอามามั่วนิ่มด้วยไม่ได้ขอบอก  สีดำหรือซูมิของซันเก้นั้น  เป็นสีดำที่เป็นจุดเป็นแต้ม  เป็นดวงเป็นดอก  คมชัดสวยงามดูดีมีชาติตระกูลครับท่านแต่ที่กล่าวมามันจะออกไปในแนวโคฮากุขึ้นขี้กลาก,ขี้เกลื้อน,เรื้อน,สังคัง  ดำแบบไม่เต็มใจดำซะมากกว่าโกโรโมะที่พบเห็นในยุคแรกนั้น  สันนิษฐานว่าเกิดจากปลาคาร์พสีแดงที่ผสมกับมากอย ( มากอยเป็นปลาคาร์พยุคแรก  ที่ผ่าเหล่ามาจากปลาไนสีดำ )  ผสมกันเองแบบธรรมชาติ  ส่วนโกโรโมะแท้ๆ หมายถึงโกโรโมะยุคใหม่ที่แจ้งเกิดในวงการแล้ว  แม่สื่อเค้าจับคู่ให้ระหว่างปลาคาร์พที่มีฮิแพทเทินส์บนลำตัว  อย่างโคฮากุ,ซันเก้,โชว่า กับอาซากิ  อย่างที่ผมกล่าวไว้ตั้งแต่แรกแต่ถ้าว่ากันตามความจริงแบบลงลึก   อาซากิก็เป็นปลาที่ถือกำเนิดมาจากมากอย   เป็นปลาที่มีสายเลือดชิดกับมากอยมากๆ ชิดแบบญาติชั้นต้นๆ เสียด้วยซ้ำ  ถ้าเป็นอย่างนั้นโกโรโมะทั้งยุคใหม่ยุคเก่า  ต่างเป็นปลาที่สืบสายพันธุ์มาจากมากอยส่วนหนึ่งเหมือนกัน  แต่ไหงผลลัพธ์ที่ได้ถึงออกมาแตกต่างกันอย่างฟ้ากับดินอย่างนั้นล่ะโยม!  โกโรโมะยุคเก่าเค้าว่าออกจะเห่ย  โกโรโมะปัจจุบันกับว่าสวยโดนใจ  อา..โลกช่างไร้ความยุติธรรมอะไรเช่นนี้!- รูปแบบ  พื้นฐานโคโรโมะฝอยเรื่องที่มาซะยาวเป็นกิโล   แต่ลืมบอกไปซะฉิบว่าหน้าตามันเป็นยังไง   แล้วมือใหม่หัดขับจะนึกภาพออกไหมเนี่ย!  เอาอย่างนี้ถ้ายังไม่รู้จัก  ไม่เคยเห็นเจ้านี่  ลองนึกภาพตามผมบอก  เอาโคฮากุมาตัวนึง  หยิบภู่กันจุ่มหมึกดำ  แล้วค่อยๆ บรรจงแต้มไปที่ขอบเกล็ดสีแดง ทีละเกล็ดๆ พยายามแต้มอย่าให้เต็มเกล็ด  เน้นๆขอบๆเกล็ดเข้าไว้   และถ้าเป็นไปได้แต้มให้เหมือนกับโค้งเสี้ยวพระจันทร์จะยิ่งดีใหญ่  ทำให้ครบถ้วนทุกเกล็ดสีแดงที่ชิโรจิไม่ต้อง  นั่นแหละใช่เลย..  อย่างนี้นี่แหละครับท่านที่เขาเรียกว่า “โกโรโมะ”มองดูเผินๆ ดูคล้ายกับว่าเอาโคฮากุมาสวมเสื้อคลุมมั้ยเอ่ย?  พูดชี้นำอย่างนี้ก็จะบอกว่า “โคโรโมะ” ในภาษายุ่น  หมายถึงเสื้อคลุม  ถ้าใครเป็นแฟนละครยุ่นโดยเฉพาะละครแนวพีเรียด  จะคุ้นตากับเสื้อคลุมที่คนเมืองนี้นิยมใส่  เป็นคำๆ เดียวกับโกโรโมะนี่แหละครับจะว่าไปรูปแบบพื้นฐานของโกโรโมะมันก็โคฮากุดีๆ นี่เอง  มีชิโรจิเป็นพื้น  ยิ่งขาวยิ่งดี   ฮิแพทเทินส์เป็นลวดลาย  ยิ่งแดงยิ่งแจ๋ว  เหมือนกับโคฮากุด้วยประการทั้งปวง  มีเพียงแต่สีดำที่ขอบเกล็ดเพิ่มขึ้นมาเท่านั้นเองอ้อ..ลืมบอกไป  สังเกตดูให้ดีผมจะใช้คำว่า   สีดำที่ขอบเกล็ดนะครับ  ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะเน้นว่าโคโรโมะที่ดีนั้นควรจะสีดำควรมีที่ขอบเกล็ดไม่ใช่ดำทั้งเกล็ด  ดำเฉพาะที่ขอบเกล็ดสร้างความคมชัด ให้มุมมองที่โดดเด่นสะดุดตา   สวยในสไตล์ของโกโรโมะแท้ๆ  ยิ่งโค้งเป็นเสี้ยวพระจันทร์ตามรูปขอบเกล็ดได้ยิ่งแจ๋ว  เป็นที่ถูกอกถูกใจพระเดชพระคุณท่านจากที่กล่าวมาจึงเป็นที่รู้กันโดยถ้วนทั่วว่า  องค์ประกอบทุกสิ่งอย่างของโกโรโมะไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมใดก็ตาม  ทั้งในเรื่องกลเม็ดเคล็ดลับในการพิจารณาเลือกซื้อ   เราสามารถเอาโคฮากุเป็นบรรทัดฐานได้เลย  เพราะยังไงๆ เสีย   โกโรโมะมันก็มีพื้นฐานความเป็นมาในสายเลือดของมัน   ครึ่งหนึ่งคือโคฮากุอยู่แล้ว   ส่วนอีกครึ่งที่ทำให้มันมีสีดำที่เกล็ดนั้น  ได้มาจากสายเลือดของมากอยที่ถ่ายทอดผ่านอาซากิมาอีกทอดนึงรู้จักแต่เพียงเพียงคร่าวๆ ในเรื่องรูปแบบพื้นฐานของมันแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ   แล้วค่อยมาว่ากันแบบเจาะลึกอีกครั้งในเรื่องหัวข้อการเลือก  ถึงตอนนั้นมาดูกันว่า  โกโรโมะที่ดีมีคุณค่านั้นดูกันอย่างไร  ปลาที่มีสีดำขอเพียงสักแต่ว่ามี   อย่างนี้เรียกว่าโกโรโมะได้หรือไม่   แล้วที่ดีควรมีดำมากน้อยเท่าไหน  เอามาว่ากันอีกที
- ชนิดย่อย  ของโกโรโมะบอกกล่าวออกตัวตั้งแต่เมื่อกี้ว่า ทุกๆ อย่างของโคโรโมะอ้างอิงกับโคฮากุได้ไม่ขัดเขิน  ซึ่งรวมถึงชื่อเรียกชนิดย่อยของโคโรโมะด้วยเช่นกัน  โคฮากุมี นิดัง,ซันดัง,ยนดัง,โงดัง,อินาซึมะ ฯลฯ  โคโรโมะก็มี เพราะว่าทั้งสองเป็นปลาที่มีฮิแพทเทินส์เหมือนๆ กัน  ไม่ผิดกฏกติกามารยาทนะครับถ้าจะเรียก นิดังโกโรโมะ,ซันดังโกโรโมะ  ไม่มีใครว่า  ซึ่งเขาเรียกกันจริงๆ นั่นแหละ  แต่มันจะผิดกฏกติกามารยาทมั่กๆ กับจำนวนโควต้าหน้ากระดาษที่ผมได้รับมา   ดังนั้นผมคงไม่ดันทะลึ่งเอาเอาโกโรโมะดังกล่าวมาแนะนำอีก   ขืนนำมาแนะนำซ้ำซ้อนซ้ำซาก  คงไม่ต้องทำมาหากินอย่างอื่นกันพอดี  เอาแบบชนิดหลักๆ สำคัญๆ แบบหาดูได้ทั่วไปดีกว่า  มีอยู่ไม่มากแต่ละชนิดมีความโดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน  มองปุ๊บรู้ปั๊บว่าอย่างนี้มีชื่อเรียกอย่างนี้  อย่างนั้นมีชื่อว่าอย่างนั้น  ที่สำคัญๆ มีดังนี้ครับซูมิโกโรโมะ  (Sumi Koromo)  อันนี้ต้องเอ่ยถึงเค้าก่อนเลย   จากแรกที่กล่าวถึงที่มาของโกโรโมะยุคแรกเริ่ม  ว่ายุคน้องๆโคฮากุ พบเจอแถบนิกาตะ  ตามบันทึกว่าไว้ว่าในกาลครั้งนั้นมันเป็นแค่เพียงโคฮากุ  ที่มีสีดำเลอะเทอะ  กะจัดกะจายไร้รูปแบบ   เหมือนเอาเขม่าสีดำไปโรยไว้บนฮิแพทเทินส์   ไม่สะดุดตาสะดุดใจดังเช่นทุกวันนี้  มันคงดูขมุกขมัว มอมแมม เหมือนลูกหมาตกน้ำเสียมากกว่าที่จะดูสวย  นั่นแหละครับท่านผู้อ่านที่เคารพ  โกโรโมะเห่ยๆ ที่กล่าวนี้  มีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับซูมิโกโรโมะยุคปัจจุบันมากที่สุดอ่ะ..ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่าซูมิโคโรโมะ  เป็นปลาเห่ย! ห่วย! อย่างนั้นหรือ?  เปล่า..ใจเย็นโยม  ไม่ใช่อย่างนั้น   ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป  อะไรๆ มันก็เปลี่ยนแปลง  ซูมิโกโรโมะยุคใหม่ทันสมัยสไตล์เด็กแนว  ย่อมดูดีจ๊าบ  เท่ห์ กว่าก่อนเก่าแน่นอน  ของเก่ามันเป็นเหตุบังเอิญ  ที่โคฮากุไปจ๊ะเอ๋กับมากอยแบบไม่ตั้งใจ  ในเมื่อของมันเกิดจากความไม่ตั้งใจ  จะให้มันออกมาดูดี  สวยสะเด็ดสะเด่าทรวงคงเป็นไปได้ยากแต่โคโรโมะยุคพัฒนาแล้ว  มันเป็นปลาที่สายพันธุ์นิ่ง  พ่อแม่มันโกโรโมะทั้งคู่  ความเคลียของสีดำบนฮิแพทเทินส์นั้นดูเนียนตาน่ามอง  ดูแล้วสบายตากว่ากันเยอะเลย  ชื่อเรียก “ซูมิโกโรโมะ” แปลตามศัพท์ก็คือ  โกโรโมะที่มีลายเกล็ดสีดำ   เป็นชื่อเรียกที่เกิดขึ้นในภายหลัง   ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์เข้าสู่โคโรโมะยุคใหม่แล้วเขาคงตั้งชื่อเรียกมันเพื่อให้รู้ว่า   มันไม่ใช่โกโรโมะยุคเก่าอย่างนั้นละมั้ง   เพราะว่าแต่ก่อนนั้นจะเรียกแต่เพียงสั้นๆ ว่าโคโรโมะแต่ถึงแม้โกโรโมะยุคใหม่จะมีสีดำดูดีคมชัดขึ้น  มันก็ไม่คมชัดเท่ากับซันเก้   มันมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ  ส่วนใหญ่สีดำของซูมิโกโรโมะจะไม่เต็มทั้งเกล็ด   ถ้ามันขึ้นเต็มทั้งเกล็ดจะดูเป็นปื้นเป็นแถบ  อย่างนั้นมองลำบาก   ว่าเป็นซันเก้หรือโคโรโมะ  อ้อ..มีเรื่องสำคัญควรรู้อีกอย่าง  คืออาจจะมีนักเลี้ยงบางท่านเข้าใจผิดคิดว่า  รูปแบบของซูมิโกโรโมะคือโคโรโมะที่มีสีดำบริเวณหัว   ถ้ามีสีดำที่หัวนั่นคือซูมิโคโรโมะ  จากที่ได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาคาร์พชาวยุ่น   ที่สันทัดกรณีเรื่องโกโรโมะเป็นพิเศษ  ยุ่นกล่าวอย่างขึงขังจริงว่าไม่ใช่  ไม่จำเป็นเข้าใจผิด  ซูมิโกโรโมะเป็นปลาที่มีสีดำขมุกขมัว ( อันนี้ผมพูดเอง  ไม่รู้จะอธิบายว่ายังไง ) ไม่คมชัดเป็นเสี้ยวโค้งวงพระจันทร์  อย่างโกโรโมะทั่วไปเท่านั้นเอง  ไม่จำเป็นเลยทีเดียวว่าต้องมีสีดำที่หัวแต่ที่พบเห็นว่าซูมิโคโรโมะบางตัวมีสีดำที่บริเวณหัว  นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าอาจจะยังมีสายเลือดของโกโรโมะยุคเก่าปนเปอยู่   เพราะจากรูปแบบแล้วมันเป็นอะไรที่คล้ายกัน   อย่างที่บอกไว้แต่แรกว่าโกโรโมะยุคเก่าที่พบเห็นที่นิกาตะ  ส่วนใหญ่นั้นจะมีสีดำปรากฏที่ส่วนหัวด้วย  สรุปเลยแล้วกันว่ารูปแบบซูมิโกโระโมะ  เขาดูที่สีดำที่ฮิแพทเทินส์เป็นหลัก   ไม่ใช่ดูจากสีดำที่หัวครับ
ไอโคโรโมะ (Ai koromo) คำว่า”ไอ” ในความหมายของปลาคาร์พหมายถึงสีน้ำเงินคราม  คนละความหมายกับ  ไอค็อกๆ แค๊กๆ ระคายคอ   ไออย่างนั้นแนะนำให้ไปซื้อยาชวนป๋วยปี่แป่กอตราลูกกตัญญูมากินซะ  รู้แล้วว่า “ไอ”  หมายถึงอะไร   คงไม่ต้องบรรยายให้เยิ่นเย้อนะครับว่า ไอโกโรโมะเป็นปลาโคโรโมะที่มีสีน้ำเงินคราม  ไม่ใช่สีดำเหมือนกับซูมิโกโรโมะ  ทั้งสองอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของสี   แต่ในความแตกต่างทั้งสองกับมีความเหมือน   ต่างเป็นโกโรโมะที่ไม่มีความคมชัดของสีดำที่เกล็ด  นอกจากไม่คมชัดแล้วยังฟุ้งกะจายไร้ความคมกริบเหมือนกัน  จะว่าเป็นพี่น้องคลานตามกันมาก็ว่าได้  แต่ถามว่าสวยมั้ย..  สวยครับสวย  สวยตามแบบฉบับของมัน  ถ้าไม่สวยเขาจะเอามากล่าวถึงทำไมล่ะจุดต่างระหว่างซูมิกับไอ  พูดให้ง่าย  อธิบายให้ชัดในสไตล์ผม  ก็ต้องบอกว่า ซูมิโคโรโมะ สวยแบบดำๆขมุกขมัว  มอมแมม  เปรอะเปื้อนไม่มีรูปแบบ  ไอโคโรโมะสวยในสไตล์น้ำเงินครามเรื่อๆ ลางๆ บางเบา  เร้าอารมณ์แต่ก่อนที่จะสาธยายเกี่ยวกับไอโคโรโมะไปมากกว่านี้  มาคุยกันให้รู้เรื่องเกี่ยวกับสีที่แท้จริงของเจ้าไอโคโรโมะก่อนว่า   แท้ที่จริงมันเป็นสีดำหรือสีน้ำเงินครามกันแน่  ขอตอบอย่างนี้ครับ  จากประสบการณ์การเลี้ยงปลาคาร์พมายี่สิบกว่าปี   ผมเคยเห็นไอโคโรโมะที่มีสีน้ำเงินครามจริง   และในตำราปลาคาร์พเกือบทุกเล่มก็มีการยืนยันว่ามันเป็นสีนำเงินครามจริง   มีรูปถ่ายมายืนยันให้เห็นเป็นหลักฐาน   แต่คงเป็นส่วนน้อยเท่านั้นต้องถือว่ามันเป็นกรณีพิเศษ  ในปัจจุบันอาจจะไม่มีหลงเหลือให้เห็นแล้วก็ได้  ยอมรับกันมั้ยล่ะครับ.. ว่าร้อยทั้งร้อยที่เราเรียกไอโคโรโมะกันทุกวันนี้  เป็นปลาที่มีสีดำบางๆ บนฮิแพทเทินส์  ไม่ใช่สีน้ำเงินครามจริงๆ ตามนิยามไอ้สีดำบางๆ จางๆ นี่แหละถ้ามองเผินมันก็ดูหลอกตาคล้ายสีน้ำเงินครามได้เหมือนกัน  คงขึ้นอยู่กับสายตาของแต่ละบุคคลด้วย   แต่ละคนมองไม่เหมือนกัน  อย่างผมมองผมว่ามันเป็นสีดำเรื่อๆ บางๆ มากกว่า  แต่บางท่านมองเป็นสีน้ำเงินคราม  เหมือนกับสีอาซากิ  บางท่านว่าเป็นสีฟ้า  บางท่านก็ว่าสีเทาดำ  สรุปว่าอย่าไปซีเรียสกับมันดีกว่า  เรียกๆ ตามเขาไปก็สิ้นเรื่องง่ายดีจากอดีตจนถึงปัจจุบันเท่าที่มีการเพาะโคโรโมะออกมา  จะมีไอโคโรโมะอยู่หลักๆ สามสาย คือ หนึ่งสายที่เป็นไอโกโรโมะแท้ๆ สายนี้ตั้งแต่เล็กจนโต  เคยเป็นสีดำจางเบาบาง  ที่หลายๆ คนมองว่าเป็นสีครามอย่างที่บอก   เคยเป็นอย่างไรตั้งแต่เล็กจนกระทั่งโตก็ไม่เปลี่ยนแปลง   ยังคงดำเจือจางอยู่อย่างนั้น  แต่ที่ได้ฟังฟังยุ่นบอกมา เจ้าไอโคโรโมะสายนี้นับวันจะยิ่งน้อยลงๆ ทุกที  ที่ญี่ปุ่นเองมีเพียงไม่กี่ฟาร์มเท่านั้นที่ยังเพาะสายนี้อยู่คาดการณ์ว่าคงสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้    ด้วยว่าความนิยมต่อโคโรโมะที่มีขอบเกล็ดสีดำคมกริบดังเสี้ยวเสี้ยวพระจันทร์   มาแรงเหลือหลายแซงทิ้งห่างไอโคโรโมะกระจุยไม่เห็นฝุ่น  อย่าว่าแต่ที่แดนปลาดิบเลยกระกระเหรี่ยงไทยอย่างเราๆ ท่านๆ   เวลาเลือกซื้อโกโรโมะทีไร   เห็นร่ำร้องจะเอาแต่ชัดๆ คมๆ กันทั้งนั้น  จริงไหมมั้ยล่ะครับท่านผู้ชมอีกสายนึง สายนี้ต้องบอกว่าเป็นสายผีเข้าผีออก  คือมันจะคงลักษณะความเป็นไอไว้ที่ขณะยังเป็นปลาเล็กพอโตเป็นผู้ใหญ่เริ่มใจแตก  จากไอน้อยๆ เบาๆ ก็เริ่มไอแค๊กๆ ไอกะด๊อกกะแด๊ก  ไอโขลกๆ   แล้วก็เป็นวัณโรคตายชักไปเลย  แฮ่ะๆ ล้อเล่น  จากไอโคโรโมะในวัยเด็กก็จะกลายพันธุ์เป็นซูมิโกโรโมะไปในที่สุด   ส่วนใหญ่ที่พบเห็นมักจะเป็นอย่างนี้เสียด้วยสิ   อย่างรูปที่ผมสรรหานำมาประกอบ   มีบางตัวที่เล็กๆ เจ้าของยืนยัน  นอนยืน  ตะแคงยัน  ว่าเล็กๆ  มันเป็นไอโคโรโมะสีน้ำเงินครามตามนิยาม  ท้ายสุดไม่วายกลายเป็นโกโรโมะสีดำไปจนได้  ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่  แต่ลงท้ายเป็นบ้องกัญชา  ตาละลา..สายที่สาม  อันนี้เป็นพวกขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่   แต่ลงท้ายเป็นโกโรโมะธรรมดา เชิ๊บ..เชิ๊บ  โคโรโมะธรรมดาก็คือโกโรโมะที่มีขอบเกล็ดสีดำ  คมชัด  คมกริบเป็นเสี้ยวพระจันทร์  ส่วนจะข้างขึ้นข้างแรมก็ว่ากันไปตามสภาพ   โกโรโมะสายนี้เป็นสายยอดนิยมที่นักเพาะพันธ์ปลาชาวยุ่นผลิตออกมาป้อนตลาด   ด้วยเป็นที่ต้องการของนักเลี้ยงเหลือหลาย  ว่ากันว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของโกโรโมะแจ่มๆ จ๊าบๆ ขอบเกล็ดโค้งเสี้ยวพระจันทร์ถือกำเนิดมาจากไอโกโรโมะในตอนเล็กทั้งนั้น  โกโรโมะสายพันธุ์นิ่งสายนี้ถูกเพาะขึ้นในราวๆ ปี 1950
บูโดโคโรโมะ ( Budo Koromo )  อีกหนึ่งโกโรโมะที่บรรดานักเลี้ยงลงคะแนนเสียง  ว่ามีความงามต้องตาต้องใจในระดับหัวแถว   ถ้าเปรียบความนิยมเป็นกับการแข่งขันวิ่งร้อยเมตร  บูโดโกโรโมะอาจจะซอยเท้าแซงเข้าเส้นชัย  นำหน้าคู่แข่งอยู่ประมาณครึ่งขนหน้าแข้ง  ชั่วโมงนี้ต้องยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าแรงสปีดเขาแรงเหลือล้น  ใครๆ ล้วนอยากมีไว้เตะตาในบ่อสักตัว  สมมุติว่าถ้าในบ่อสามารถเลี้ยงโกโรโมะได้มากกว่าหนึ่งตัว  หนึ่งในนั้นต้องเป็นบูโดโคโรโมะชัวร์ป้าด  รับรองได้โทนสีความสวยงามของเจ้านี่แปลกแหวกแนว  มีสไตล์เฉพาะตัว  เอาไปหย่อนลงบ่ออีกตัวก็ไม่ไปซ้ำซากซ้ำซ้อนกับโคโรโมะอื่น  จ้าวแห่งบ่ออย่างโคฮากุ,โชว่า ,ซันเก้  ที่ว่าแน่  แบบว่าจะขาดเสียไม่ได้ในบ่อ   ถ้าเลี้ยงเยอะมีหมดทั้ง  นิดัง,ซันดัง,ยนดัง,โงดัง  อาจจะเกิดความซ้ำซากซ้ำซ้อนรำคาญลูกตา  กับโคโรโมะสักสองตัวตัวนึงบางเบาเร้าอารมณ์อย่างไอ   กับแดงเข้มอมม่วงกระชากใจอย่างบูโด  อยู่ในบ่อเดียวกันดูแล้วไม่น่าเกลียดแต่ประการใด  รับรอง..อ้าว..พระเดชพระคุณท่าน  โม้มาซะหนึ่งย่อหน้าเต็ม  ดันทะลึ่งลืมบอกลักษณะของบูโดไปเสียฉิบ   แล้วมันจะสื่อสารกันรู้เรื่องมั้ยเนี่ย.. ถ้าถามว่าอะไรคือบูโด  บูโดคืออะไร  ตอบไม่ยากไม่ลำบากเกินกำลังจินตนาการลองนึกถึงพวงองุ่นแดงที่ใช้ทำไวน์  เปรี้ยวปากหน้าตึงขึ้นมาทันทีเลยใช่มั้ยล่ะ  ฮ่ะๆ เปล่า..เปล่าชวนมากินไวน์จะให้นึกถึงสีผลองุ่น  สีแดงอมม่วงอย่างนี้แหละ  คือนิยามสีของบูโดโกโรโมะดั้งเดิมออริจินอล   ยุ่นเรียกโกโรโมะที่มีสีแดงอมม่วงว่า บูโดโคโรโมะ  เพราะว่า”บูโด” หมายถึงสีแดงองุ่น  เน้นย้ำว่าต้องเป็นองุ่นแดงแบบไม่มีเมล็ดกิโลละเป็นร้อยด้วยนะ  องุ่นเขียวกิโลละสิบอย่างนั้นไม่ใช่   และถ้าจะให้ออริจินอลแบบสุดๆ ไปเลย   ยุ่นบอกว่าบูโดโกโรโมะ  ถ้าจะให้เจ๋งให้แจ๋วจริง  ต้องมีลวดลายฮิแพทเทินส์คล้ายพวงองุ่น  เหมือนแค่เม็ดเดียวก็ไม่ได้  ต้องเป็นพวง  แบบว่าถ้าเข้ามาใกล้หยิบเข้าปากเคี้ยวได้เลยแต่ปัจจุบันนั้นไซร้  บูโดโกโรโมะแท้ๆ แดงอมม่วงเหมือนพวงองุ่นนั้นคงจะหาทำยายาก  ร้อยวันพันปีจะแพลมมาให้เห็นหน้าสักตัว  ที่เห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน  หาง่ายพอๆ  กับปลาช่อนในตลาดสด  จะออกมาในแนวสีแดงเข้มอมดำอมน้ำตาล   อะไรที่ออกในแนวแดงเข้มๆ รวมเรียกว่าบูโดโกโรโมะหมด   ผมสังเกตเอาจากในนิตยสาร   และปลาที่เหิรข้ามฟ้าข้ามทะเลไปนำเข้ามาจากแดนปลาดิบ  โดยเฉพาะปลาแถบๆ นิกาตะ  ปัจจุบันออกมาในโทนสีนี้หมดเลย  ไม่เห็นมีโทนแดงอมม่วงเหมือนพวงองุ่นให้เห็น  สอบถามยุ่นผู้สันทัดกรณีคนเดิมได้ความรู้เพิ่มเติมว่า   ปัจจุบันบูโดโคโรโมะที่มีสีโทนสีแดงอมดำ   เป็นปลาที่มีความนิ่งของสายพันธุ์มากกว่าโทนสีแดงออมม่วงแบบดั้งเดิมเสียอีก  ไอ้ที่แดงอมม่วงเหมือนพวงองุ่น  ถูกจับไปทำไวน์แดงหมดแล้วครับ
โคโรโมะซันโชกุ ( Koromo Sanshoku ) ภาษาอังกฤษสะกดว่าซันโชกุ  แต่ผมอนุญาตเรียกซันเก้นะครับ  ถนัดหูถนัดปากมากกว่า  ที่จริงว่าจะไม่เอ่ยถึงมัน  แต่ก็อดไม่ได้   ประมาณว่าถ้าไม่ได้โม้ไม่ได้ฝอยให้ฟังเก็บไว้คนเดียวมันรู้สึกอืดเฟ้อ  เรอเหม็นเปรี้ยวชอบกลโกโรโมะเป็นลูกผสมของอาซากิ   รูปแบบทั่วไปเป็นปลาที่มีขอบเกล็ดสีดำที่ฮิแพทเทินส์   แต่ถ้ามีซูมิเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่บนชิโรจิด้วย  อย่างนี้ก็ต้องเรียกว่าโกโรโมะซันเก้ตามระเบียบ  ไม่ต้องบรรยายให้มากกว่านี้นะครับ  เชื่อว่ามือใหม่หัดขับมองปุ๊บต้องรู้ปั๊บว่าเป็นโกโรโมะซันเก้  ถ้าบอกว่าไม่รู้จักเรียกชื่อไม่ถูกก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว  มองยังไงๆ มันก็เข้าตำราวัดครึ่งนึง  กรมการครึ่งนึง โกโรโมะครึ่งนึง  ซันเก้ครึ่งนึง ชัดๆ ชัวร์ๆ  ฝืนไปเรียกอย่างอื่นเดี๋ยวแม่ตบตายชัก!โกโรโมะซันเก้บางตัวอาจมีซูมิทั้งบนฮิแพทเทินส์ละบนชิโรจิ   ไม่ใช่เรื่องแปลก   เหมือนๆ กับฟุดซือซันซันเก้   อาจจะนึกสงสัยว่าทำไมไม่ค่อยมีใครพูดถึงโกโรโมะชนิดนี้เลย  ไม่รู้จะตอบยังไงเหมือนกัน   ลองถามตัวเองดูก็แล้วกัน  ว่าชอบซันเก้ที่เป็นซันเก้แท้ๆ ชอบโกโรโมะที่เป็นโกโรโมะจริงๆ หรือเปล่า  ถ้าชอบแบบจะๆแจ่มๆ ชัดๆไปเลย   ก้ำกึ่งคาบลูกคาบดอกอย่างนี้คงไม่สะใจโก๋นัก  แต่ถ้าเป็นสาวลูกครึ่งอันนี้ค่อยมาว่ากันอีกทีแฮ่ะๆ  โกโรโมะครึ่งลูก  เอ๊ย! ลูกครึ่งอย่างนี้  ผมว่ามันจะเหมาะเจาะมากกับท่านที่มีบ่อเล็กๆ  แต่อยากเลี้ยงให้ให้ครบทุกประเภท  เล่นแบบทูอินวันอย่างนี้  ทุ่นพื้นที่บ่อไปได้อักโขเชียวล่ะพ่อคุณ..
โคโรโมะโชว่า ( Koromo Showa ) ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว  พูดถึงโคโรโมะซันเก้แล้วจะไม่พูดถึงโคโรโมะโชว่าได้อย่างไร   เดี๋ยวก็จะหาว่าลำเอียงไม่มีความยุติธรรมในใจ   เอาสักนิดพอหอมปากหอมคอ  รูปแบบที่มาของมันไม่ต้องพูดถึง   มีสีดำแถบอูจึริชัวร์ป้าด..  เป็นลูกผสมของโชว่าชัวร์ป้าดอีกเหมือนกัน   ถ้าผสมกับปลาอื่นเค้าคงไม่เรียกโกโรโมะโชว่าหรอกจริงมั้ยประเด็นสำคัญที่อยากให้คำนึงถึงเกี่ยวกับเจ้าโกโรโมะชนิดนี้  ฟังจากชื่อนะครับ  เขาเน้นๆ ชัดๆ เน้นแบบทิ้งน้ำหนักเลยว่า “โคโรโมะโชว่า”  ฉะนั้นโกโรโมะโชว่าก็คือโคโรโมะโชว่า   ต้องไม่ใช่โชว่าที่ลายคล้ายโกโรโมะ  เราต้องให้ความสำคัญของโกโรโมะมากกว่าโชว่า  ชื่อมันฟ้องอยู่โทนโท่ชัดเจนอยู่แล้วว่าอะไรนำหน้าอะไรตามหลัง   ต้องรู้ว่าอะไรเป็นหลักอะไรเป็นรอง  เปรียบเสมือนขับรถต้องรู้ว่าถนนไหนสายเอกสายโท  ตะบึงบึงห้อฝ่าอย่างเดียว  ระวังจะเดี้ยงเอาง่ายๆ  แล้วจะหาว่าไม่เตือนอา..ขึ้นไตเติ้ลซะยาว  แทบหาทางกลับไม่เจอ  คืออย่างนี้ครับ  มันมีโชว่าบางตัวที่สีดำขึ้นไปเลอะเทอะอยู่บนฮิแพทเทินส์   ยิ่งถ้าเป็นดำลางๆ ไม่ชัดอย่างโบเก้โชว่าด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่   กลัวว่ามือใหม่หัดขับที่ยังไม่ชำนาญทาง  ผ่านสมรภูมิมาน้อยจะหลงทางผิดคิดว่าเป็นโคโรโมะโชว่า  โปรดใช้สะดือตรองด้วยความระมัดระวัง  นี่คือคำเตือน!  ท่องไว้ในใจโกโรโมะโชว่าคือ  โกโรโมะที่มีแถบดำอูจึริ  แต่กระนั้นมันต้องคงเอกลักษณ์ของโกโรโมะไว้อย่างเหนียวแน่น   ต้องมีขอบเกล็ดสีดำบนฮิแพทเทินส์เป็นประการสำคัญ   แถบดำอูจึริให้เป็นเรื่องรอง  มีแค่พอให้เรียกว่าโกโรโมะโชว่าเท่านั้นพอ 
 8. โงชิกิ (Goshiki)



     นักเลี้ยงปลามือใหม่บางคนอาจสับสนปลาโงชิกิกับปลาโกโรโมะได้ แต่จริงๆ ปลา 2 สายพันธุ์นี้มีความแตกต่างกันอยู่พอ
สมควร คือ ปลาโกโรโมะ จะมีสีดำปรากฏขึ้นซ้อนทับส่วนสีแดงบนตัวปลานี้ ในส่วนของพื้นขาวและส่วนหัวจะไม่มีการแซมของสีดำดังกล่าว แต่ปลาโงชิกิจะมีสีดำปรากฏขึ้นบนพื้นขาวและส่วนหัว ของปลาแต่การมีสีดำปรากฏขึ้นบนพื้นที่สีแดงหากมากเกินไปถือว่าเป็นการลดความเด่นของสีแดงบนตัวปลาลงไป

9. ฮิการิ มูจิโมโนะ (Hikari muji mono)

คำว่า Hikari แปลว่า "เกล็ดแวววาว" ส่วน mono แปลว่า "ชนิด" และคำว่า muji นั้นแปลว่า ล้วนๆ หรือสีเดียว ดังนั้น ความหมายของปลาฮิคาริมูจิโมโนะ ก็คือปลาที่มีเกล็ดสีแวววาวสีเดียวล้วนๆ ซึ่งความแวววาวของเกล็ดปลาในกลุ่ม Hikari นี้จะออกไปเป็นแบบความแวววาวคล้ายโลหะ (Metallic Shade)
ส่วนคำว่า Ogon นั้นแปลตรงตัวว่า สีทอง ถ้าใช้ในความหมายแคบๆ ก็จะหมายถึงปลาแฟนซีคาร์พสีทองซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม Hikari muji mono แต่ในความหมายเชิงกว้างแล้วคำว่า Ogon แทบจะเป็นความหมายเดียวกันกับคำว่า Hikari muji mono เช่น ปลาสีส้มชนิดเกล็ดแวววาว ก็สามารถเรียกได้ว่า "Orange Ogon" แทนที่จะเรียกกว่า "Orange Hikari muji mono" ก็ได้ ซึ่งก็ยังได้ความหมายเดียวกัน
ดังนั้น ถ้าเราจะเรียกปลาแฟนซีคาร์พสีเทาที่มีสีแวววาวทั้งตัว Nezu Ogon แทนที่จะ เรียกว่า "Nezu Hikari muji mono" (คำว่า Nezu แปลว่าสีเทา) หรือเรียกปลาแฟนซีคาร์พสีทองทั้งตัวว่า "Yamabuki Ogon" (yamabuki แปลว่ากุหลาบเหลือง) กระทั่งจะเรียกปลาสีทองดังกล่าวว่า "Ogon" เฉยๆ ก็ไม่ผิด และด้วยหลักการเรียกดังกล่าวเมื่อเราได้ยินชื่อปลา Platinum Ogon เราก็จะเข้าใจว่าเป็นปลาในกลุ่ม Hikari muji mono ที่มีสีทองคำขาวทั้งตัวนั่นเอง
Ogon แท้จริงแล้วมีสองชนิดคือ โอกอนและยามาบูกิโอกอน โอกอนนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1946 โดย Mr.Sawata Aoki โอกอนดังกล่าวเป็นโอกอนที่สีออกโทนทองเข้ม และไม่สามารถเลี้ยงในที่ๆ มีน้ำอุ่นได้ เนื่องจากจะมีสะเก็ดดำคล้ายขี้แมลงวันเกิดขึ้นที่ผิวปลาทำให้ปลาขาดความสวยงามไป พร้อมทั้งจะมีสีออกคล้ำขึ้นเมื่อน้ำอุ่นขึ้นด้วย ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยนำโอกอนไปผสมพันธุ์กับคิกอย (Kigoi) ออกมาได้เป็นยามาบูกิโอกอนเมื่อปี 1957 หรืออีก 11 ปีต่อมา ยามาบูกิโอกอนจะมีสีออกโทนเหลืองมากกว่า โอกอน และจะไม่มีปัญหาเรื่องเม็ดขี้แมลงวันและเรื่องสีคล้ำขึ้นเมื่อเลี้ยงในน้ำที่อุณหภูมิสูง ที่คนไทยส่วนใหญ่มีกันจะเป็น Yamabuki ogon เป็นโอกอนที่มีสีเหลืองเงาและ Platinum ogon ซึ่งมีสีขาวเป็นเงาวาว ส่วนในประเทศญี่ปุ่นเริ่มที่จะไม่ผลิต Ogon ที่เป็นแบบดั้งเดิมออกมา แต่จะผลิตแต่ Ogon ที่เป็นแบบเงาวาวและมีเกล็ดกินรินด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับในไทยนั้น เรายังคงสามารถเห็น Ogon แบบเก่าๆ ได้อยู่
โอกอนมักจะถูกกล่าวถึงว่าเป็นปลานำ คือ เป็นปลาที่มักจะเชื่องกว่าปลาคาร์พสายพันธุ์อื่นๆ มักจะว่ายขึ้นมากินอาหารก่อนตัวอื่นๆ ทำให้ปลาตัวอื่นกล้าและตามที่จะขึ้นมากินอาหารจากผู้เลี้ยง
นอกจากปลากลุ่ม Ogon ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Hikari mono แล้ว ยังมีปลาอีกกลุ่ม คือ กลุ่ม Matsuba คือ (ปลาจำพวกขอบเกล็ดที่มี ขอบเกล็ดแวววาวแต่ตรงกลางเกล็ดเป็นสีดำ ) จัดอยู่ในกลุ่ม Hikarimuji mono ด้วย ( Matsuba แปลว่า ลูกสน ) เช่น กินมัตจึบะ (Gin Matsuba) คินมัตจึบะ (Kin Matsuba)
      การพิจารณาความสวยงามของปลาทั้งสองสายพันธุ์นี้ อันดับแรกต้องพิจารณาที่ส่วนหัวจะต้องเกลี้ยงเนียนสะอาดปราศจากสีอื่น ปะปนเกล็ดที่ปกคลุมลำตัวจะต้องมีขอบเกล็ดที่แวววาวปกคลุมตลอดตัวปลา สำหรับปลากลุ่ม Ogon ไม่ควรมีสีอื่นขึ้นแซม ส่วนปลากลุ่ม Matsuba นั้น ส่วนกลางของเกล็ดจะต้องมีสีดำขึ้นทุกเกล็ดทั่วตัว ขอบเกล็ดจะต้องแวววาวสม่ำเสมอทั่วตัวเช่นเดียวกับปลาในกลุ่ม Ogon
ในการเลือกซื้อ Ogon นั้น ถ้าไม่กล่าวถึงเรื่องของรูปร่างแล้ว ส่วนที่สำคัญที่สุดของโอกอน คือ หัวปลา ซึ่งจะเน้นมากๆ ในเรื่องความเนียน,สะอาด หมายถึง จะต้องไม่มีจุดตะปุ่มตะป่ำที่หัวปลา ( เพราะปลาประเภท Hikarimono ทุกประเภท จะมีปัญหาที่หัวคล้ายกับสีปูดออกมา ) และจะต้องไม่มีสีอื่นแปลกปลอมเข้ามาด้วยเช่นสีแดง หรือจุดดำ ส่วนความมันวาวของเกล็ดทั่วทั้งตัว เมื่อเวลาเรามองดูปลานั้น จะเหมือนกับทั่วทั้งตัวของปลานั้นมีความเงาที่สม่ำเสมอเรียบทั้งตัว ต่อมาก็เรื่องของความเข้มของสีปลาจะต้องเหลืองเข้มข้นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และโอกอนที่ดีนั้น ครีบอกของปลานั้นจะต้องมีสีเหมือนกับตัวปลา คือต้องเหลืองเหมือนตัวปลาในความเข้มของสีที่เท่ากัน
เทคนิคในการเลือกนั้นวิธีที่ดีที่สุดของการเลือกปลาประเภทสีเดียวเช่นนี้คือ การช้อนปลาทุกตัวในฟาร์ม หรือร้านที่เราไปซื้อมารวมกันไว้ในภาชนะเดียวกันให้หมด แล้วคัดเอาตัวที่สมบูรณ์ที่สุดเอาไว้ หรืออาจจะเลือกซื้อปลาในขนาดที่ใหญ่ขึ้น เช่น 30 หรือ 40 เซนติเมตรขึ้นไป ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง เพราะได้ผ่านการพิสูจน์มาช่วงเวลาหนึ่งแล้ว
ลักษณะทั่วไปของปลาประเภทนี้ คือ เป็นปลาที่นิสัยเชื่อง และส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่กินเก่งและโตเร็วมาก ปัญหาก็คือเมื่อโตเร็วมากก็มีโอกาสที่สีอาจจะบางลงและแตกกระจายได้ โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากของปลามักแตกกระจายเป็นสีขาว แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของสายพันธุ์ประกอบกันด้วย และปัญหาที่มักจะพบได้บ่อยที่สุดในปลาประเภทนี้คือ การเกิดจุดสีแดงหรือสีส้มอันไม่พึงประสงค์ เนื่องจากกินอาหารเร่งสีที่เร่งมากเกินไป อาจเป็นที่มีเปอร์เซนต์สไปรูไลนา หรือสารเร่งสีตัวอื่นๆ สูงเกินไป หรืออาจเป็นเพราะสายเลือดที่ไม่ดีหรือนิ่งพอ และถ้าตัวไหนไม่มีจุดแดง ส้ม หรือขี้แมลงวันเกิดขึ้นเลย ก็เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะเร่งสีได้อย่างเต็มที่
ข้อพึงระวังในการเลี้ยงโอกอนนั้นก็คือ เมื่อปลาโตขึ้นสีสันที่เคยเรียบเนียนในอดีตอาจจะเปลี่ยนแปลงไป จุดที่เห็นได้ชัดเจนคือบริเวณหน้าผาก ที่จะปรากฎลักษณะความกระดำกระด่างของสีเข้มบ้างอ่อนบ้าง และทซ้ำร้ายอาจปรากฎจุดขี้แมลงวันที่เป็นสีแดง หรือสีส้มให้เห็น ซึ่งอาจจะจางลงหรือหายไปได้ หากมีการให้อาหารที่ไม่มีส่วนผสมของสารอาหารเร่งสี แต่โอกาสเช่นนี้หาไม่ได้ง่ายนัก เพราะเมื่อเกิดจุดสีขึ้นมาแล้ว การควบคุมอาหารมักจะช่วยได้เพียงแค่ทำให้จุดสีเหล่านี้จางลง ซึ่งสายพันธุ์ก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน บางครั้งพบว่า แม้จะมีการควบคุมเรื่องอาหารแล้ว จุดขี้แมลงวันก็ยังมีโอกาสขึ้นมาได้ ยามาบูกิโอกอนที่มีขนาดใหญ่มีโอกาสที่จะมีจุดขี้แมลงวันสีแดงหรือสีส้มขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะมีสายเลือดที่ไม่ดีนัก หรือได้รับอาหารเร่งสีในปริมาณที่มากเกินไป โอกาสที่จุดขี้แมลงวันจะหายไปค่อนข้างเป็นไปได้ยาก จึงควรเลือกปลาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และระวังในการให้อาหารเร่งสี

10. คินกินริน (Kinginri)
“คิน กิน ริน” สามคำจำง่ายๆ ฟังสบายหู ทั้งสามคำนี้ผมจำได้แม่นยำว่า “คิน” คำเดียวโดดๆ ถ้าในความหมายชองปลาคาร์พ หมายถึง สีเหลืองทอง คุ้นหูกันมาแล้วกับ คินคิอุทซึริ, คินโชว่า “กิน” หมายถึง สีขาวเงิน ความหมายเดียวกันคำว่ากิน ในปลา กินชิโร่ ส่วนคำว่า “ริน” คงรู้กันหมดแล้วว่าหมายถึง เกล็ด เคยอ่านนิตยสาร รินโกะ หรือ นิชิรินหรือเปล่า ถ้าเป็นคนช่างสังเกตแม้ไม่มีใครบอกก็จะรู้ได้เองว่า คำว่าริน ในนิตยสารทั้งสองหมายถึงเกล็ดปลา ถ้าไม่เช่นนั้นเขาคงไม่เอามาเป็นชื่อนิตยสารปลาคาร์พหรอกครับ
ฉะนั้นแล้วไซร้ ถ้านำเอาคำว่า คินกินริน มารวมกัน มันจะมีความหมายอื่นใดไปเสียมิได้ มันต้องหมายถึงปลาที่มีเกล็ดสีเงินสีทองนั่นเอง ว่ากันตามความหมายเป็น คำเปรียบเทียบให้นึกเห็นภาพ หวังว่าคงไม่มีใครคิดว่ามันมีเกล็ดเป็นเงินเป็นทองจริงๆ นะครับท่านผู้อ่านที่เคารพ
เรื่องที่ควรรู้ คินกินริน จัดเป็นสายพันธุ์หนึ่งของปลาคาร์พ จริงหรือ ผมเองอธิบายดังนี้ ถ้าแบ่งตามการประกวดหรือตามชื่อเรียก มันถูกจัดเป็นสายพันธุ์หนึ่งของปลาคาร์พ เพียงแต่ว่ามันไม่มีสายพันธุ์โดยตรงของมันเอง มันอาศัยเกาะอยู่กับปลาประเภทอื่นๆ เหมือนกับตันโจนั่นแหละครับ ไม่มีสายพันธุ์โดยตรง แต่มันมีลักษณะโดยเฉพาะของมันเอง คือปลาที่มีวงกลมสีแดงที่หัว มันเกิดขึ้นกับปลาคาร์พได้ทุกสายพันธุ์ คินกินรินก็เป็น เช่นนั่น ไม่มีสายพันธุ์โดยตรงแต่เป็นลักษณะเฉพาะของเกล็ดครับท่าน

ลักษณะของเกล็ด คินกินริน

พูดไปเหมือนหอบเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน ระดับเซียนเรียกพี่คงรู้กันหมด แล้วหละว่าเกล็ดคินกินรินมีลักษณะเด่น แตกต่างจากเกล็ดทั่วไปยังไง แต่จะทำยังไงได้ล่ะ ในเมื่อเจตนาของผมที่เขียนเรื่องสายพันธุ์ของปลาคาร์พ ก็เพื่อที่จะนำเสนอผู้เริ่มเลี้ยงมือใหม่หัดขับ ที่ยังเรียกชื่อปลาผิดๆ ถูกๆ ฉะนั้นสำหรับเซียนทั้งหลายเชิญนิมนต์ออกไปก่อน อย่ามัวเสียเวลามานั่งอ่านเลยครับ
สำหรับมือใหม่ถ้าบังเอิญไปพบประสบ เจอปลาที่มีเกล็ดส่องแสง ระยิบระยับ แวววาว ดุจดังประกายเพชร เกล็ดน้ำค้าง ยามเมื่อต้องแสงแดด นั่นแหละปลาที่มีชื่อ เรียกว่า คินกินริน ซึ่งถ้าแบ่งให้ละเอียดออกไปอีกนิด แยกออกเป็นสองคำจะได้ดังนี้ “กินริน” หมายถึงประกายแวววาวที่ขึ้นบนเกล็ดสีขาว และเช่นเดียวกัน “คินริน” หมายถึงประกายแวววาวที่ขึ้นบนเกล็ดสีแดง
ต้นกำเนิดของคินกินรินจาก บันทึกได้ความว่า พบเจอครั้งแรกในปี 1929 โน่นแน่ะ คนที่พบเจอไม่ใช่ใครอื่น นายเอซาบุโร่ โฮชิโน่ เจ้าเก่าขาประจำผู้มีบทบาทอย่างสูง ของวงการปลาคาร์พ จากการพบเจอในครั้งนั่นก็ได้มีการพัฒนาเกล็ดกินรินให้แจ่มแจ๋วยิ่งขึ้น สืบเนื่องมาจนทุกวันนี้ อ้อ..เกือบลืมบอก สมัยนั้นไม่ได้เรียก คินกินริน น่ะครับ เรียก ว่า กินโกเกะ หรือ คินโคเขะ

รูปแบบของเกล็ดคินกินริน

เมื่อนำเกล็ดกินรินมาดูในระยะใกล้จะทราบว่าประกายของแต่ละเกล็ดไม่เหมือน กัน จึงมีการแบ่งลักษณะเกล็ดประกายกินรินและตั้งชื่อตามนี้
เบตะกิน คือ ประกายที่ขึ้นเต็มทั้งเกล็ด จัดเป็นเกล็ดกินรินในอุดมคติ ถ้าคินกินรินตัวใดมีเกล็ดอย่างนี้ทั้งตัว ลองนึกภาพเอาเถอะครับว่ามันจะสวยขนาดไหน คงเหมือนกับเพชรส่องประกายระยับเคลื่อนไหวไปมาในวารี แต่จากที่เคยพบประสบเจอ มักจะไม่เป็นเช่นนั้น มันจะขึ้นเป็นบางที่ ตรงด้านบนใกล้ครีบหลัง ข้างลำตัวใกล้ใต้ท้องประมาณนี้ เป็นลักษณะของปลากินรินในยุคแรก ขึ้นกระจัดกระจายไม่สม่ำเสมอไร้ระเบียบ คือของมันเกิดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติแบบไม่ใต้ตั้งใจเกิดก็อย่างนี้แหละครับ
คาโดะกิน คือประกายที่ขึ้นเฉพาะบริเวณขอบปลายเกล็ด เลยดูโค้งๆ เหมือน โค้งเสี้ยวพระจันทร์ประมาณนั้น คาโดะหมายถึง ขอบเกล็ด คาโดะกินมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกคือ ชุดาเระกิน ไม่แน่ใจว่าเป็นซุดาเระที่หมายถึง ไม้ไผ่หรือเปล่า อีกชื่อนึงเรียก คาซุกิน คาซุ คำนี้น่าจะแปลว่าเหล้า แต่มันจะมาเกี่ยวอะไรกับปลาคาร์พล่ะเนี่ย หรือว่าผมเข้าใจผิด อย่าไปสนใจดีกว่า แบบว่าผมไม่ค่อยสันทัดเรื่องภาษาญี่ปุ่นน่ะ อยากรู้ลองไปค้นคว้าเอาเองแล้วกัน ครับ
ถ้าเอาสายตาผมเป็นเกณฑ์วัด คาโดะกินต้องสอบตก ผมว่ามันไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่นัก มันตูไม่ชัดเจน มันดูรำไร มองไกลๆ ไม่ค่อยเห็นความแวววาว ถ้าจับมาส่องดูในกาละมัง อย่างนี้โอเค
ฮิโรชิม่ากิน ประกายเกล็ดแบบนี้จะเป็นเส้นแฉก เริ่มต้นจากต้นเกล็ดจนถึงปลายเกล็ดหรือไม่ถึงปลายเกล็ดก็ได้ อาจมีสองเส้นหรือกี่เส้นก็แล้วแต่ไม่แน่นอน บางทีเส้นนี้จะแยกห่างกันตั้งแต่ต้นเกล็ดท บางทีก็มาแยกกันที่ปลายเกล็ด อธิบาย เป็นคำพูดยากต้องลองจับขึ้นมาดูเองจะร้องอ๋อ ฮิโรชิม่ากินเป็นเกล็ดกินรินที่พบเห็นได้มากในปัจจุบัน
เหตุที่ชื่อฮิ โรชิม่ากิน เพราะว่ามันถูกค้นพบครั้งแรกที่เมืองฮิโรชิม่า เกล็ดประกายแบบนี้เป็นที่แพร่หลาย ในบรรดานักเพาะพันธุ์ปลาแถบฮิโรชิม่า แม้แต่ฟาร์มยักษ์ใหญ่ที่ขึ้นชื่อว่าผลิตโกซันเก้ได้ดีที่สุด ก็ผลิตปลาคินกินรินของเขาก็มีรูปแบบเกล็ดอย่างนี้ครับ
ในเรื่องลักษณะ ของเกล็ดคินกินริน ผมคงขอนำมาพูดเพียงสามแบบเท่านี้ อย่างอื่นนอกจากนี้ผมไม่รู้จักไม่ค่อยได้เห็น บ่อยนัก อย่างเช่น ทามะกินหรือสึกิน ลักษณะประกายจะเป็น วงกลม แต่บางท่านได้บอกไว้ว่าเกล็ดทามะเป็นเกล็ดกินรินที่ นูนกว่าปรกติ ผมพยายามนึกภาพแต่นึกไม่ออกจริงๆ ว่าเกล็ดปลาที่นูนเป็นยังไง นูนอย่างเดียวกับปลาเกล็ดพองหรือเปล่า อาจจะใช่ก็ได้นะ ปลาเกล็ดพองใกล้ตายแหล่มิตายแหล่มองดูดีๆ ผมว่ามันก็สวยดีเหมือนกันนะ เออ..หรือว่าเกล็ดนูนที่ว่า เป็นแบบเดียวกับปลาทองเกล็ดแก้วอย่างนั้นก็ได้ ใครมีเลี้ยงอยู่บ้างผมอยากดูประดับความรู้ ครับว่าไอ้เกล็ดที่ว่านูนน่ะ รูปร่างหน้าตามันเป็นยังไง
แต่ที่แน่ๆ เอาอย่างที่ผมเห็นบ่อยสุด ผมว่าไม่ใช่คินกินรีนอะไรทั้งหลายแหล่ที่กล่าวมาทั้งหมด ออกไปทำนอง จับฉ่ายไร้รูปแบบ ไม่กลมไม่เป็นเสี้ยวไม่เป็นแฉกไม่เต็มเกล็ด อะไรทั้งนั้นแหละ จริงหรือไม่จริงท่านลองสังเกตดูเอาเองเถิด

ชนิดย่อยของคินกินริน

ลองไล่ดูสิว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปลาคินกินรินได้บ้าง โค ฮากุ,ซันเก้,โชว่า,อูจึริ,ฮิการิโมโนทั้ง 3 ชนิด,คาวาริโมโน,เบคโกะ,ตันโจ,โกโรโมะ,โงชิกิ,ซูซุย เอ.. ซูซุยคินกินรินมีหรือเปล่า หว่า ไม่แน่ใจ ถ้ามีคงสวยน่าดูนะครับเพราะซูซุยเกล็ดใหญ่ขนาดเหรียญบาท คงแวววาวสะท้อนแสบตาชอบกล อาซากิ ที่ไม่น่าเกี่ยวกับเกล็ดคินกินรินก็มีนะครับ แต่ดูแล้วไม่ค่อยเวิร์ก อาชากิเดิมๆ ดูดีกว่ากันเยอะเลย
การเรียกชื่อปลาคินกินรินประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะเอาชื่อปลาขึ้นก่อนแล้วตามด้วย คินกินริน แต่ส่วนใหญ่เราจะตามด้วยกินรินเฉยๆ ยกตัวอย่าง โคฮากุกินริน,อาชากิกินริน เป็นต้น




















1 ความคิดเห็น: