สายพันธุ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยง
สายพันธุ์ปลาทองมีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็ได้หายสาบสูญไปตามกาลเวลาก็มี โดยสายพันธุ์แรกที่มีการเลี้ยงคือ ฮิฟุนะ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ แต่ว่ามีสีทอง ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง 3 แฉก เรียกว่า วากิ้น และจากวาคิ้นก็ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นปลาทองหาง 4 แฉก คือ จิกิ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นริวกิ้นในที่สุด
นอกจากนี้แล้วสายพันธุ์ที่เรียกว่า มารุโกะ ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ต่าง ๆ และสายพันธุ์เดเมกิ้น ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์ตาโปนต่าง ๆ
ปลาทองสามารถแบ่งออกตามลักษณะลำตัวได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มที่มีลำตัวแบนยาว
มีลำตัวแบนข้าง และมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นวากิ้นซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียว ทนทานต่อโรคต่าง ๆ และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โคเมท, ชูบุงกิ้น, วากิ้น เป็นต้น
2.กลุ่มที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่
ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำได้ไม่ดี อาจจะว่ายหัวตก มีลักษณะสำคัญที่ครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างหลากหลายกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่ ออรันดา, เกล็ดแก้ว, รักเล่, แพนด้า, โทะซะกิน เป็นต้น กับ กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์จีน, สิงห์ญี่ปุ่น, สิงห์ดำตามิด, รันชู, ลูกโป่ง, ตากลับ เป็นต้น
1. ฮอลันดาปักกิ่ง
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ พุงป่องอ้วน ตุ้ยนุ้ย
อุปนิสัย การฟักตัวของไข่ของปลาทองสามารถปรับอุณหภูมิได้อยู่ระหว่าง 0-35 องศาเซลเซียส ช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุด
คือ 20-25 องศาเซลเซียส ปลาทองเป็นปลาที่วางไข่ตลอดทั้งปีแต่จะชุกมากในเดือนเมษายน-ตุลาคม หรือช่วงที่อากาศไม่เย็นจนเกินไป ปลาทองที่วางไข่ครั้งแรกแล้วจะสามารถวางไข่ติดต่อกันไปอีกเป็นเวลาประมาณ 6-7 ปี
การเลี้ยงดู น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาทองหากเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลต้องมีการพักน้ำทิ้งไว้ ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้สารพิษต่างๆ ที่ปนอยู่ได้คลายตัวไปบ้าง เช่น คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ การย้ายแม่ปลาทองที่ออกไข่จะต้องย้ายทันทีเมื่อปลาทองวางไข่เพราะมันจะเริ่ม กินไข่ของตัวเองทันทีในวันต่อมา
เป็นปลาทองที่มีขนาดลำตัวเล็ก ตัวกลมสั้นป้อม หลังยกสูงเหมือนหลังอูฐ หัววุ้นที่ขึ้นจะเป็นวุ้นที่ละเอียดเม็ดเล็กๆ มีสัดส่วนวุ้นแบ่งเป็นวุ้นเคี้ยว ซึ่งจะอยู่บริเวณมุมปากของปลา ซึ่งจะมองแล้วคล้ายวงช้าง ทำให้มองดูปลาแล้ว เหมือนแก้มยุ้ย ช่วงลำตัวจะกลมเหมือนลูกกอล์ฟ ช่วงท้องจะใหญ่กลมมาก ใบหางของเจ้าปักกิ่งนั้น ใบหางบนยกสูง 40-60 องศา และใบหางล่างกดลง 50-70 องศา เนื่องจากปักกิ่ง มีสัดส่วนที่กลมเพราะฉะนั้นใบหางปลาจะมีการสมดุล กับ body สันหลังที่อยู่ส่วนบนของลำตัวจะยกสูงโค้งจรดโคนหางกระโดงหลังจะตั้งตรง เหมือนกระโดงเรือ ส่วนเกล็ดจะเป็นเกล็ดที่มีขนาดเล็กละเอียดแน่น และที่สำคัญจะต้องยืนน้ำตัวตั้งตรงกับพื้นน้ำ ครีบทวารเหยียดตรง
2. สิงห์ลูกผสม (สิงห์จีน)
ชื่ออังกฤษ Lion head gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carasius auratuss
ชื่อไทย ทองหัวสิงห์จีน
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ หัวใหญ่มีวุ้นหนา ลำตัวยาว
อุปนิสัย เลี้ยงง่ายกินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ
การเลี้ยงดู การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ
เป็นปลาที่มีความนิยมมากในหมู่เด็กๆ เนื่องจากมีวุ้นที่ฟูฟ่องออกมาจำนวนมากขนาดปิดตา เป็นวุ้นก้อนใหญ่แบบหยาบไม่ละเอียดมากนัก ความน่ารักจะอยู่ที่หน้าตากลมวุ้นเยอะมาก ลำตัวจะอ้วนมากสันหลังจะไม่โค้งเหมือนครึ่งวงกลม แต่มีช่วงตัวที่ยาวกว่าสิงห์ญี่ปุ่น เกล็ดจะเป็นลักษณะหยาบไม่แววใสมีเยื่อหุ้มเกล็ดบางๆ ปลาบางตัวจะมีหลังยาวเหมือนกระดานด้วยซ้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carasius auratuss
ชื่อไทย ทองหัวสิงห์จีน
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ หัวใหญ่มีวุ้นหนา ลำตัวยาว
อุปนิสัย เลี้ยงง่ายกินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ
การเลี้ยงดู การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ
เป็นปลาที่มีความนิยมมากในหมู่เด็กๆ เนื่องจากมีวุ้นที่ฟูฟ่องออกมาจำนวนมากขนาดปิดตา เป็นวุ้นก้อนใหญ่แบบหยาบไม่ละเอียดมากนัก ความน่ารักจะอยู่ที่หน้าตากลมวุ้นเยอะมาก ลำตัวจะอ้วนมากสันหลังจะไม่โค้งเหมือนครึ่งวงกลม แต่มีช่วงตัวที่ยาวกว่าสิงห์ญี่ปุ่น เกล็ดจะเป็นลักษณะหยาบไม่แววใสมีเยื่อหุ้มเกล็ดบางๆ ปลาบางตัวจะมีหลังยาวเหมือนกระดานด้วยซ้ำ
3. สิงห์ดำ (สิงห์สยาม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
ชื่อไทย ทองเล่ห์
ประวัติที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ ที่มีลำตัวสีดำสนิทแม้กระทั่งครีบ
อุปนิสัย ง่ายชอบอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล หนอนแดงและอาหารสำเร็จรูป
ไม่ดุร้ายสามารถเลี้ยงร่วมกับปลาตัวอื่นได้เป็นอย่างดี
การเลี้ยงดู เลี้ยงง่าย
จะมีลักษณะคล้ายสิงห์วุ้นลูกผสม แต่ลำตัวจะมีสีดำวุ้นก็จะดำด้วย ส่วนช่วงท้องของปลาสิงห์ดำจะมีสีทองออกเทาหรือดำสนิทก็ได้ ซึ่งปลาชนิดนี้จะต้องมีวุ้นขึ้นตกจนขนาดมิดตา ผิวหนังของสิงห์ดำจะมีเยื่อบางๆ ปกคลุมมีสีดำ เมื่อเกิดรอยแผลสักเล็กน้อยก็จะเห็นได้เด่นชัดขึ้นหลังมีความโค้งสวย ซึ่งมีความโค้งเทียบเท่ากับสิงห์ญี่ปุ่น แต่ความหนาลำตัวจะไม่ค่อยหนามากนักในตอนเล็ก แต่เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่ตามลำดับ ซึ่งสิงห์ดำนั้นจะมีส่วนที่ดำทั้งตัวตั้งแต่ครีบว่าย, ครีบอก, ครีบหาง, เหงือกปลา, วุ้นและผิวเมือกปลาจะมีสีดำทั้งหมด
4.ทองตาลูกโป่ง
ชื่ออังกฤษ Buble eye gold fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
ชื่อไทย ทองตาลูกโป่ง
ประวัติที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ มีตาใหญ่ คล้ายลูกโป่ง
การเลี้ยงดู ไม่ควรเลี้ยงกับปลาที่ดุร้ายอื่นๆ กินลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ เพราะมีจุดอ่อนอยู่ที่ตา
5.ปลาทองเกร็ดแก้ว
ชื่ออังกฤษ Peal Scale Gold Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius aruatus
ชื่อไทย ทองเกล็ดแก้ว
ประวัติที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ ที่ลำตัวป้อมสั้น ส่วนมากจะกลม เกล็ดจะหนานูนขึ้น
อุปนิสัย กินอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ด
การเลี้ยงดู เป็นปลาที่ค่อนข้างจะบอบบาง จึงต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ไม่ควรเลี้ยงปนกับปลาชนิดอื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius aruatus
ชื่อไทย ทองเกล็ดแก้ว
ประวัติที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ ที่ลำตัวป้อมสั้น ส่วนมากจะกลม เกล็ดจะหนานูนขึ้น
อุปนิสัย กินอาหารพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ด
การเลี้ยงดู เป็นปลาที่ค่อนข้างจะบอบบาง จึงต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ไม่ควรเลี้ยงปนกับปลาชนิดอื่น
6.ทองออเแรนด้า
ชื่ออังกฤษ Oranda
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
ชื่อไทย ทองออแรนดา
ประวัติที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ มีช่วงลำตัวยาว ครีบทุกครีบยาว
อุปนิสัย กินอาหารจำพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ดสลับกันไป
การเลี้ยงดู เลี้ยงรวมกับปลาทองชนิดอื่นได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carassius auratus
ชื่อไทย ทองออแรนดา
ประวัติที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ มีช่วงลำตัวยาว ครีบทุกครีบยาว
อุปนิสัย กินอาหารจำพวกลูกน้ำ ไรสีน้ำตาล อาหารเม็ดสลับกันไป
การเลี้ยงดู เลี้ยงรวมกับปลาทองชนิดอื่นได้
7.ปลาริ้วกิ้น
ชื่ออังกฤษ Veiltail
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carrasius auratus
ชื่อไทย ริวกิ้น
ประวัติที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ ลำตัวป้อมสั้น ท้องใหญ่ หางยาวเป็นพวง ส่วนหัวสูง ลำตัวเป็นสีส้ม หรือส้มแดงปนขาว เวลาว่ายน้ำจะเป็นท่วงท่าที่ดูสง่างาม
อุปนิสัย ปลาริ้วกิ้นชอบกินลูกน้ำไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ
การเลี้ยงดู ไม่ควรให้น้ำเย็นเกินไป
ชื่อวิทยาศาสตร์ Carrasius auratus
ชื่อไทย ริวกิ้น
ประวัติที่อยู่อาศัย ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ ลำตัวป้อมสั้น ท้องใหญ่ หางยาวเป็นพวง ส่วนหัวสูง ลำตัวเป็นสีส้ม หรือส้มแดงปนขาว เวลาว่ายน้ำจะเป็นท่วงท่าที่ดูสง่างาม
อุปนิสัย ปลาริ้วกิ้นชอบกินลูกน้ำไรสีน้ำตาล และอาหารสำเร็จ
การเลี้ยงดู ไม่ควรให้น้ำเย็นเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น